วิธีรับมือ ภัยแล้ง สำหรับเกษตรกร !

ภัยแล้ง

ภัยแล้ง คือการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความแห้งแล้งเป็นเวลานาน และส่งผลกระทบต่อชุมชนรวมทั้งภาคเกษตรกรที่เป็นอาชีพหลักของประชาชนในประเทศ

 

Credit Photo by : www.secondary11.go.th

 

ผลกระทบของภัยแล้งที่มีต่อภาคเกษตรกรรม

  1. ส่งผลให้พื้นดินขาดความชุ่มชื้น
  2. ส่งผลให้น้ำสำหรับใช้ในการเกษตรลดลง พืชผักที่ได้รับผลกระทบจากการขาดน้ำ หยุดชะงักการเจริญเติบโต คุณภาพและปริมาณของผลผลิตลดลง

สาเหตุที่ทำให้เกิดภัยแล้ง

สาเหตุจากธรรมชาติ

  1. การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก และสภาพภูมิอากาศ เช่น โลกร้อน ฝนทิ้งช่วง(ปัญหาหลัก) เป็นต้น
  2. การเกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว และลมพายุ เป็นต้น
  3. การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล

สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์

  1. การเพิ่มขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรม
  2. การตัดไม้ทำลายป่า
  3. การเพิ่มขึ้นของภาวะเรือนกระจก
  4. การเพิ่มขึ้นของภาวะโลกร้อนที่มีสาเหตุหลักจากการเผาไหม้ ควันรถบนท้องถนน และอื่นๆอีกมากมาย เป็นผลให้ชั้นโอโซนในบรรยากาศลดลง

แนวทางการรับมือแก้ไข

แนวทางปฏิบัติต่อส่วนรวม

  1. สนับสนุนการปลูกป่าไม้ใหญ่
  2. สนับสนุนโครงการแก้มลิง
  3. สนับสนุนการสร้าง ฝาย และเขื่อน

ปล.ข้อ 1. และ 2. ข้างต้นนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อีกด้วย

แนวทางปฏิบัติของเกษตรกร

  1. ขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อใช้ในการกักเก็บน้ำ
  2. เกาะติดข่าวสารเกี่ยวกับสภาพอากาศ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายช่องทาง เช่น แอปพลิเคชัน โทรทัศน์ วิทยุ เพื่อใช้วางแผนการเพาะปลูก
  3. งดการเผาตอซัง หรือขยะต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของโลกร้อน
  4. ลดการใช้น้ำสำหรับเพาะปลูกนาข้าว ซึ่งเกษตรกรหลายคนใช้น้ำสิ้นเปลืองในขั้นตอนการปล่อยน้ำเข้านาเพื่อป้องกันวัชพืชขึ้นภายในนา (แนะนำให้น้ำสูงจากพื้นประมาณ 3 ซม. ในระยะการเพาะปลูกนาข้าวช่วงแรก และ5 ซม. ในระยะข้าวแตกกอ)
  5. เลือกใช้ระบบน้ำที่ประหยัด เช่น ระบบสปริงเกอร์ และระบบน้ำหยด เป็นต้น
  6. จัดการดิน เพื่อรักษาความชื้นในดิน
  • ไถพรวนดินตัดขวางทางเดินของน้ำใต้ดิน ลดการคายน้ำ และไถพรวนดินทำแนวกันไฟ
  • คลุมหน้าดินด้วยพลาสติกคลุมดิน
  • ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมโคนต้นพืช หรือพื้นดินรอบแปลงปลูก
  1. พิจารณาปลูกพืชใช้น้ำน้อย (การเปลี่ยนพืชปลูกนอกจากแก้ปัญหาภัยแล้งแล้ว ยังเป็นการลดโรคและแมลงศัตรูพืชในแปลงปลูก)
  • พืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อยและปรับโครงสร้างดิน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น
  • พืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อยและตลาดต้องการ(ราคาดี) เช่น แตงกวาหรือแตงร้าน ฟักทอง ฟักเขียว พริก ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ แตงโม
  • พืชทนแล้ง ใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพด มะละกอ งาดำ มันสำปะหลัง อ้อย มะพร้าว เป็นต้น
  • พืชใบปลูกง่าย ระบบรากตื้น ใช้น้ำน้อย เช่น คะน้า ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว เป็นต้น

 

Credit Photo by : teespring.com/stores/united-farmers

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *