วิธีรับมือ ภัยแล้ง สำหรับเกษตรกร !
ภัยแล้ง
ภัยแล้ง คือการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความแห้งแล้งเป็นเวลานาน และส่งผลกระทบต่อชุมชนรวมทั้งภาคเกษตรกรที่เป็นอาชีพหลักของประชาชนในประเทศ
Credit Photo by : www.secondary11.go.th
ผลกระทบของภัยแล้งที่มีต่อภาคเกษตรกรรม
- ส่งผลให้พื้นดินขาดความชุ่มชื้น
- ส่งผลให้น้ำสำหรับใช้ในการเกษตรลดลง พืชผักที่ได้รับผลกระทบจากการขาดน้ำ หยุดชะงักการเจริญเติบโต คุณภาพและปริมาณของผลผลิตลดลง
สาเหตุที่ทำให้เกิดภัยแล้ง
สาเหตุจากธรรมชาติ
- การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก และสภาพภูมิอากาศ เช่น โลกร้อน ฝนทิ้งช่วง(ปัญหาหลัก) เป็นต้น
- การเกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว และลมพายุ เป็นต้น
- การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์
- การเพิ่มขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรม
- การตัดไม้ทำลายป่า
- การเพิ่มขึ้นของภาวะเรือนกระจก
- การเพิ่มขึ้นของภาวะโลกร้อนที่มีสาเหตุหลักจากการเผาไหม้ ควันรถบนท้องถนน และอื่นๆอีกมากมาย เป็นผลให้ชั้นโอโซนในบรรยากาศลดลง
แนวทางการรับมือแก้ไข
แนวทางปฏิบัติต่อส่วนรวม
- สนับสนุนการปลูกป่าไม้ใหญ่
- สนับสนุนโครงการแก้มลิง
- สนับสนุนการสร้าง ฝาย และเขื่อน
ปล.ข้อ 1. และ 2. ข้างต้นนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อีกด้วย
แนวทางปฏิบัติของเกษตรกร
- ขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อใช้ในการกักเก็บน้ำ
- เกาะติดข่าวสารเกี่ยวกับสภาพอากาศ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายช่องทาง เช่น แอปพลิเคชัน โทรทัศน์ วิทยุ เพื่อใช้วางแผนการเพาะปลูก
- งดการเผาตอซัง หรือขยะต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของโลกร้อน
- ลดการใช้น้ำสำหรับเพาะปลูกนาข้าว ซึ่งเกษตรกรหลายคนใช้น้ำสิ้นเปลืองในขั้นตอนการปล่อยน้ำเข้านาเพื่อป้องกันวัชพืชขึ้นภายในนา (แนะนำให้น้ำสูงจากพื้นประมาณ 3 ซม. ในระยะการเพาะปลูกนาข้าวช่วงแรก และ5 ซม. ในระยะข้าวแตกกอ)
- เลือกใช้ระบบน้ำที่ประหยัด เช่น ระบบสปริงเกอร์ และระบบน้ำหยด เป็นต้น
- จัดการดิน เพื่อรักษาความชื้นในดิน
- ไถพรวนดินตัดขวางทางเดินของน้ำใต้ดิน ลดการคายน้ำ และไถพรวนดินทำแนวกันไฟ
- คลุมหน้าดินด้วยพลาสติกคลุมดิน
- ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมโคนต้นพืช หรือพื้นดินรอบแปลงปลูก
- พิจารณาปลูกพืชใช้น้ำน้อย (การเปลี่ยนพืชปลูกนอกจากแก้ปัญหาภัยแล้งแล้ว ยังเป็นการลดโรคและแมลงศัตรูพืชในแปลงปลูก)
- พืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อยและปรับโครงสร้างดิน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น
- พืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อยและตลาดต้องการ(ราคาดี) เช่น แตงกวาหรือแตงร้าน ฟักทอง ฟักเขียว พริก ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ แตงโม
- พืชทนแล้ง ใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพด มะละกอ งาดำ มันสำปะหลัง อ้อย มะพร้าว เป็นต้น
- พืชใบปลูกง่าย ระบบรากตื้น ใช้น้ำน้อย เช่น คะน้า ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว เป็นต้น
Credit Photo by : teespring.com/stores/united-farmers
Facebook Comments