วิธีปลูกถั่วฝักยาว เพื่อสร้างรายได้ยั่งยืน

ปลูกถั่วฝักยาวอย่างถูกวิธี สามารถ สร้างรายได้ยั่งยืน เนื่องจาก สามารถลดต้นทุนการผลิตในการปลูก และเพิ่มปริมาณการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ยาที่ถูกต้อง รักษาถั่วฝักยาวอย่างถูกโรค แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดนั้น สามารถลดความเสียหาย และต้นทุน ค่ายา ที่จะใช้แก้ปัญหาต่างๆได้

เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาว

เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวที่ดี สามารถลดปัญหา และเพิ่มผลผลิตในแปลงปลูก ได้ เช่น ต้านทานโรคได้ดีขึ้น ให้ผลผลิตมากขึ้น เป็นต้น

ถั่วฝักยาว ในตลาดประเทศไทยมี 2 ประเภท 

ถั่วเนื้อ 

ฝักมีลักษณะอวบ เนื้อแน่น ความยาวประมาณ 55 – 60 ซม. เป็นที่นิยมในตลาดภาคกลาง และภาคใต้

ถั่วฝักยาว สุดสาคร,ถั่วฝักยาว ดกพิจิตร,ถั่วฝักยาว มันนี่กรีน

ถั่วเส้น

ฝักมียาวกว่าถั่วเนื้อ เนื้อน้อย มีแต้มสีที่ปลายฝัก ความยาวประมาณ 60 – 65 ซม. เป็นที่นิยมในตลาดภาคอีสาน

ถั่วฝักยาว เขียวดกโกลด์,ถั่วฝักยาว มังกรหยก เบอร์ 9

วิธีปลูกถั่วฝักยาว

การเตรียมดินสำหรับปลูกถั่วฝักยาว

 

  • การเตรียมหน้าดิน ไถหน้าดินให้ลึกลงไปด้านล่าง ประมาณ 22 เซนติเมตร หลังจากนั้นปล่อยหน้าดินทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ เพื่อให้แสงแดด กำจัด วัชพืช หรือ แมลงที่เป็นอันตรายต่อการปลูกถั่วฝักยาว ต่อมา ปรับโครงสร้างในดินให้ดีด้วยการใช้ ปุ๋ยคอกหรืออาจจะเป็นปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ และความร่วนซุยในดิน
ไถหน้าดิน
รูปภาพ : ความลึกไถหน้าดิน
  • การ ยกร่อง และ เตรียมหลุมปลูก ในการยกร่อง เพื่อเตรียมปลูกถั่วฝักยาว ควรกำหนดความกว้าง ประมาณ 1 เมตร หรือ ให้พอดีกับพื้นที่ปลูก และสร้างร่องระหว่างพื้นที่ปลูกถั่วฝักยาว 70 เซนติเมตร หรือ ตามความเหมาะสมกับรูปร่างผู้ปลูก เพื่อที่จะใช้เป็นทางเดินใช้ส่อยให้สดวกสบาย
  • เตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมจากหน้าดินลึกลงไปประมาณ 10-15 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถวที่ 1 ไปถึงแถวที่ 2 และแถวต่อไป ควรมีระยะห่าง ประมาณ 80 เซนติเมตร ส่วนระยะห่างระหว่างหลุมแรกจนไปถึงหลุมต่อไปประมาณ 50 เซนติเมตร จากนั้นใส่ปุ๋ยสำหรับรองก้นหลุม ซึ่งจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยสูตรที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีในช่วงระยะกล้า เสริมสร้างราก และใบ ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือมี ตัวหน้าสูง(ยกเว้น 46-0-0) เช่น ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 เป็นต้น หลุมละครึ่งช้อนแกง คลุกให้เข้ากันกับดินก้นหลุม
    สามารถศึกษาเรื่อง ธาตุอาหารพืช มีประโยชน์อย่างไร และอาการขาดธาตุอาหารของพืชแสดงในรูปแบบใดบ้าง
ระยะห่างหลุมปลูกถั่วฝักยาว
รูปภาพ : ระยะห่างหลุมปลูกถั่วฝักยาว

การหยอดเมล็ดถั่วฝักยาว

หยอดเมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด จะเป็นจำนวนที่พอเหมาะ สำหรับป้องกันเมล็ดไม่งอก หลังจากนั้น กลบด้วยปุ๋ยคอก หรือ แกลบ ความหนาประมาณ 4-6 เซนติเมตร เพื่อควบคุมความชื้น คลุมด้วยฟางข้าวแห้งบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มพอเหมาะ และดูแลรักษา รดน้ำ เช้า – เย็น ทุกวันจนถั่วฝักยาวเจริญเติบโต
ดูวิธีเลือกใช้ ประโยชน์ของฟางข้าว ของดีมีประโยชน์ใกล้ตัว!!

ฟางข้าว
รูปภาพ : ฟางข้าว

วิธีดูแลถั่วฝักยาว และการจัดการหลังการปลูก

กำจัดต้นถั่วฝักยาวที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง

หลังจากต้นถั่วฝักยาว เติบโต ได้ใน อายุ ประมาณ 15 วัน ใน 1 หลุมควรมีต้นถั่วฝักยาว เพียง 2 ต้น ต่อ 1 หลุม วิธีจัดการควรเลือกต้นที่แข็งแรงไว้ แล้ว กำจัดต้นที่อ่อนแอที่สุดออก

ต้นอ่อนถั่วฝักยาว
รูปภาพ : หลุมที่เหลือแค่ต้นที่แข็งแรง

 

วิธีป้องกันวัชพืชเบื้องต้น

เมื่อปลูกถั่วฝักยาว จนมีอายุประมาณ 8 วัน ควรสำรวจดูวัชพืชหรือหญ้ารอบๆแปลงถั่วฝักยาว หากพบเจอควรกำจัดออก เพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชไปแย่งอาหารจากต้นถั่วฝักยาว

วิธีทำค้างถั่วฝักยาว

เมื่อปลูกถั่วฝักยาว จนมีอายุประมาณ 15–20 วัน และมีใบจริง 4–5 ใบ ซึ่งกำลังเลื้อยหาที่เกาะอยู่… ควรหาไม้ไผ่ ยาว 2 – 2.5 เมตร เพื่อให้ถั่วฝักยาวพันหรือเลื้อยขึ้นไปตามไม้ไผ่ แต่ในระยะแรกต้องช่วยจับยอดให้พันไม้ค้าง โดยพันทวนเข็มนาฬิกา วิธีทำค้างผัก ฉบับจับมือทำ ! มีหลากหลายแบบ ส่วนแบบที่เกษตรกรนิยมทำเมื่อปลูกถั่วฝักยาว คือค้างแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

ค้างแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
รูปภาพ : ค้างแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

ระยะทำต้น (ถั่วฝักยาว อายุประมาณ 15-20วัน)
ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตรเสมอ เช่น 15-16-16 หรือ 15-15-15 เป็นต้น ในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อหลุม ซึ่งใน การใส่ปุ๋ยสูตรเสมอจะช่วยให้ถั่วฝักยาวในช่วงนี้ จะช่วยสร้างเสริมสร้างต้นและใบ
ปุ๋ยทางใบ ใช้อาหารเสริมจำพวกสาหร่าย เช่น สาหร่าย อะมิโน เลโอ จะช่วยเสริมสร้างแขนงสำหรับให้ผลผลิต(แขนงยิ่งเยอะ ยิ่งดก)

ระยะทำดอก (ถั่วฝักยาว อายุประมาณ 30-40 วัน)

ปุ๋ยทางดิน ใช้สูตร 13-13-21 ในอัตราเท่าไร ซึ่งเป็นสูตรปุ๋ย ที่ช่วยเสริมสร้างดอกและแป้งรอสร้างดอก และผล ต่อไป
ปุ๋ยทางใบ ใช้ เอ็ม-100 พลัสวัน สาร ไบโอ “สติมมูลแลนซ์ ที่มีคุณสมบัติ สร้างแขนง เพิ่มความดก แตกตาดอก เหมาะกับถั่วฝักยาวในช่วงนี้ และผสมด้วยผสมเทียมสูตรพิเศษ ผสมเทียมเกสร โลตัส สุพรีม ที่จะช่วยบำรุงรังไข่ของดอกถั่วฝักยาว ส่งผลให้ผลผลิต มีน้ำหนัก เนื้อแน่น ไม่ร่วงง่ายๆ

ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต ( 50 วันขึ้นไป )

ปุ๋ยทางดิน ยังใช้ 13-13-21 เหมือนเดิมแต่จะใช้ในอัตรา 1.5 ช้อนโต๊ะ ต่อ 1 หลุม ถั่วฝักยาวช่วงนี้ จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยมากหน่อยเนื่องจากปุ๋ยที่ให้ไปถูกนำไปสร้างเป็นผลผลิตให้ผู้ปลูกเก็บเกี่ยว
ปุ๋ยทางใบ ใช้ผสมเทียมสูตรพิเศษ ผสมเทียมเกสร โลตัส สุพรีม และ พรีมิกซ์-คร๊อพ 121221 ซึ่งพรีมิกซ์-คร๊อฟ เป็นอาหารเสริมสูตรพิเศษ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดก และ มีน้ำหนักผลผลิตมากขึ้น อีก หลายเท่าและเพิ่มน้ำหนักด้วยธาตุรองเสริมที่มีแคลเซียมโบรอนสูงเช่น นูริช เจียไต๋

จะเก็บเกี่ยวผลผลิต ถั่วฝักยาว ต้องทำยังไงไม่ให้ดอกใหม่หลุด

วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วฝักยาว ให้ปลิดที่ขั้ว ควรระวัง ไม่ให้ดอกใหม่หลุด ไม่อย่างนั้นจะมีผลต่อการเกิดฝักใหม่ ควรเริ่มเก็บจากผลฝักแก่ก่อน การดูแลผลผลิตที่เก็บเกี่ยวไม่ควร ตากแดด และ วางไว้กับพื้นดิน โดย ไม่มีสิ่งของรองพื้นไว้ ควรล้างหรือแช่น้ำสะอาดเพื่อชำระล้าง สิ่งปนเปื้อน เพื่อให้ถั่วฝักยาวสดใหม่ สะอาด เพิ่มความน่าซื้อและเพิ่มราคาให้สูงขึ้น

ยอดอ่อนถั่วฝักยาว
รูปภาพ : แสดงขั้วและยอดของถั่วฝักยาว

ปัญหาการปลูกถั่วฝักยาวในแต่ละฤดู

การปลูกถั่วฝักยาวหน้าร้อน

  • ปลูกถั่วฝักยาวในหน้าร้อนจะพบกับปัญหาการระบาดของแมลง เช่น เพลี้ยไฟ และ แมลงหวี่ขาว ซึ่งเป็นสาเหตุของใบด่างเหลืองในถั่วฝักยาว

อ่านก่อน ท่านที่กำลังอ่าน สามารถกดที่ข้อความเพื่ออ่านวิธี กำจัดเพลี้ยไฟ และ แมลงหวี่ขาว ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด !

ถั่วฝักยาวใบด่างเหลือง
รูปภาพ : ถั่วฝักยาวใบด่างเหลือง
ถั่วฝักยาวใบด่างเหลือง
รูปภาพ : ถั่วฝักยาวใบด่างเหลือง
ถั่วฝักยาวใบด่างเหลือง
รูปภาพ : ถั่วฝักยาวใบด่างเหลือง

การปลูกถั่วฝักยาวหน้าฝน

  • พบปัญหาเฝือใบ จะทำให้มีผลผลิตน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ต้นถั่วฝักยาวจะสร้างแต่ใบ ควบคุมการให้น้ำ เช่น ให้น้ำน้อยลง เป็นต้น จัดการแปลงปลูก ไม่ให้น้ำฝนท่วมขัง และไหลซึมออกจากแปลงได้อย่างรวดเร็ว ควบคุมปุ๋ย โดยการควบคุมเฉพาะ ปุ๋ย ตัวหน้าสูง หรือไนโตรเจนสูง เช่น  46-0-0 , 25-7-7 และ21-0-0 เป็นต้น ไม่ให้เยอะจนเกินไป แต่เน้นไปใส่ ปุ๋ยอื่นๆ ที่มีหน้าที่สร้าง แป้ง น้ำตาล แทน เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และโบรอน เป็นต้น
  • ข้อควรระวัง การใช้ จิบเบอเรลลิน จิ๊บโต้-2 เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่ทำให้ถั่วฝักยาวเกิดอาการบ้าใบ และยั้บยั้งการออกดอก ใช้สารชะลอการเจริญเติบโต ซึ่งมีผลยั้บยั้ง จิบเบอเรลลิน อีกที เช่น คลอมีควอท แดมิโนไซด์ เมพิควอทคลอไรด์ และแพคโคบิวทาโซล เป็นต้น เมื่อพบปัญหาแล้วให้ใช้วิธี แก้บ้าใบ ด้วย เมมเบอร์ หรือ ฮอร์โมนเปลี่ยนเพศดอก ซิป ฉีดเมื่อพบปัญหาต้นเฝือใบ (วิธีนี้จะขอแนะนำเป็นวิธีสุดท้าย เนื่องจากสารดังกล่าวจะสะสมในดิน และก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว)
ถั่วฝักยาวบ้าใบ
รูปภาพ : ถั่วฝักยาวเฝือใบ

การปลูกถั่วฝักยาวหน้าหนาว

  • จะพบปัญหายอดไม่เดิน หาก ถั่วฝักยาวเจออากาศหนาวเกินไปจะทำให้การเจริญเติบโตของถั่วฝักยาวช้าลง เนื่องจากระบบรากไม่ทำงาน
  • ควรใช้ ชุดคลายเครียด ใน1ชุดจะมี ธาตุสังกะสีในพืช ซิงค์ เบอร์ดี้ ที่มีส่วนผสมของสังกะสี และ อะมิโนพืช เอ็นเนอร์จี น้ำตาลทางด่วนช่วยลดความเครียด

 

ถั่วฝักยาวโตช้า
รูปภาพ : ถั่วฝักยาวโตช้า

สามารถศึกษา ปัญหาเพิ่มเติมที่ โรคถั่วฝักยาวในฤดูฝน

ไม่อยากพลาดข่าวสารสำคัญ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูกถั่วฝักยาว เพิ่มเติม

เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ 

ไอดีไลน์:  @ uox0813g

เฟสบุ๊ค:  www.facebook.com/kasetsomboonstore

เฟสบุ๊ค:  fb.me/kasetsomboonstore

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *