ธาตุอาหารพืช สำคัญอย่างไร ?

หลายท่านเวลาใส่ปุ๋ยให้กับพืช จะสนใจอยู่แต่ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญของพืช แต่จริง ๆ แล้วพืชยังต้องการธาตุอาหารอื่น ๆ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตอีกด้วย หากขาดไป ก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่ ก็เหมือนกับคนเรา ที่ต้องรับประทานอาหารให้ครบ ทั้ง 5 หมู่ ธาตุอาหารที่จำเป็นกับพืช สามารถแบ่ง ได้ 3 ดังนี้

  1. ธาตุอาหารหลัก คือ ธาตุอาหารพืชที่ต้องการในปริมาณมาก ได้แก่ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), และ โพแทสเซียม (K)
  2. ธาตุอาหารรองคือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยกว่ากว่ากลุ่มแรก ได้แก่ แคลเซียม (Ca),แมกนีเซียม (Mg), และ ซัลเฟอร์(กำมะถัน) (S)
  3. ธาตุรอาหารเสริม คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย ได้แก่ เฟอรัส (เหล็ก) (Fe), แมงกานีส (Mn), ซิงค์ (สังกะสี) (Zn), คอปเปอร์ (ทองแดง) (Cu),คลอรีน (Cl), โบรอน (B), โมลิบดินัม (Mo)

นอกจากนี้ยังมีอีก 3 ธาตุ ที่จำเป็นต่อการเจริญของพืช แต่พืชสามารถรับได้จากอากาศและน้ำ   คาร์บอน (C), ออกซิเจน(O), ไฮโดรเจน (H)   ความสำคัญของธาตุอาหาร ธาตุอาหารแต่ละธาตุ มีความสำคัญและประโยชน์ต่อพืชแตกต่างกันไป ดังนี้

ธาตุอาหาร ประโยชน์ อาการขาดธาตุ
ธาตุอาหารหลัก
ไนโตรเจน (N) – กระตุ้นให้พืชเจริญเติบโต และตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะช่วงแรกของการเจริญ – ใบเป็นสีเหลือง ขนาดเล็ก(ที่ใบแก่ก่อน)
– ส่งเสริมการสร้างโปรตีนในพืช – ลําต้นผอมสูง กิ่งก้านมีน้อยและลีบ
– ช่วยเร่งการเจริญของพืชในส่วนที่เป็นสีเขียว เช่น ใบและลำต้น – แคระแกร็น ชะงักการเจริญ
ฟอสฟอรัส (P) – ส่งเสริมการเจริญและแตกตัวของราก โดยเฉพาะช่วงแรกของการเจริญ – พืชจะแคระแกร็น ดอกและผลไม่สมบูรณ์ ระบบรากไม่เจริญ
– ช่วยเร่งการออกดอก การติดผล และการสร้างเมล็ด – ใบเป็นสีเขียวเข้ม (ที่ใบแก่ก่อน) บางพืชใบจะมีสีม่วง เช่น ข้าวโพด กะหล่ำปลี
โพแทสเซียม (K) – ช่วยสังเคราะห์และเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลในพืช – พืชใบเลี้ยงเดี่ยว; ขอบใบเหลือง แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจากปลายใบเข้ากลางใบ
– ช่วยให้ผลและหัวโตเร็ว มีคุณภาพและรสชาติที่ดี – พืชใบเลี้ยงคู่; ใบจะซีด มีจุดกระจายบริเวณปลายใบ
ธาตุอาหารรอง
แคลเซียม (Ca) – มีความจําเป็นในการแบ่งเซลล์ของพืช – ยอด ดอก ใบอ่อน ลีบเล็ก บิดงอ (เกิดที่ส่วนยอด ส่วนปลาย)
– เสริมการดูดธาตุไนโตรเจนจากดิน – ตายอดชะงักการเจริญ ปลายรากตาย
แมกนีเซียม (Mg) – เป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ (สีเขียว) – ส่วนเนื้อใบซีด เส้นใบยังเขียว (เกิดที่ใบแก่ก่อน)
กำมะถัน (S) – เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนและกรดอะมิโน – คล้ายอาการขาดธาตุไนโตรเจน แต่เกิดที่ส่วนยอด ส่วนปลาย ใบอ่อน
– ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์  
ธาตุอาหารเสริม
เหล็ก (Fe) – เป็นองค์ประกอบและช่วยสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ (ส่วนสีเขียว) และหายใจ – ใบอ่อนมีสีขาวซีด ใบแก่มีสีเขียวสด
แมงกานีส (Mn) – ช่วยในการสังเคราะห์แสงและกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme) ในต้นพืช – ส่วนเนื้อใบซีด เส้นใบยังเขียว (เกิดที่ใบอ่อนก่อน) ต่อมาจะเหี่ยวแล้วร่วงหล่น
สังกะสี (Zn) – ช่วยสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และแป้ง – ใบมีจุดหรือแถบ สีขาวหรือเหลืองขึ้นประปราย อาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง
– ช่วยทำให้ข้อปล้องของพืชมีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ – รากสั้น ไม่เจริญตามปกติ
ทองแดง (Cu), – เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนและเอนไซม์บางชนิด – ใบจะมีสีเขียวจัด แล้วค่อย ๆ เหลืองลง (เกิดที่ใบอ่อนก่อน)
– ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ – ตายอด เป็นสีดำ ชะงักการเจริญ
คลอลีน (Cl) – เกี่ยวกับการสร้าง hormone บางชนิด – ใบซีด
– เร่งการสร้างแป้ง-การสุกแก่ – พืชเหี่ยวง่าย บางส่วนแห้งตาย
โบรอน (B) – ส่งเสริมการออกดอกในพืช – ส่วยยอดและตายอด บิดงอ ใบบาง
– ช่วยในการผสมเกสรและการติดผล – ผลเล็ก แข็ง เปลือกหนา
– ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารอื่น ๆ – เห็ดอาการชัดเจนถ้ามีภาวะร่วมกับการขาดน้ำ
โมลิบดินัม (Mo) – ช่วยในการตรึงไนโตรเจนในดิน – คล้ายอาการขาดธาตุไนโตรเจน
– ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และเอนไซม์บางชนิด – ใบโค้ง และมีจุดเหลือง

  จากตารางด้านบนจะเห็นได้ว่าธาตุอาหารต่าง ๆ มีหน้าที่ที่แตกต่างกัน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุที่พืชขาดธาตุอาหารใดธาตุอาหารหนึ่งไม่ได้ จะทำให้พืชเจริญได้ไม่เต็มที่ ผลผลิตไม่ดี หากเกิดการขาดธาตุอาหารมาก อาจก่อให้เกิดผิดปกติจนส่งผลต่อการเจริญของพืชได้ 

ลักษณะอาการขาดธาตุต่าง ๆ ของพืช
ลักษณะอาการขาดธาตุต่าง ๆ ของพืช

ลักษณะการขาดธาตุอาหารของพืช

ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะไม่ค่อยมีการปล่อยให้เกิดการขาดธาตุอาหารหลัก ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญของพืชอย่างมาก แต่มักจะมีเกิดการขาดธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมซึ่งเป็นตัวส่งเสริมให้แก่ธาตุอาหารหลัก และมีหน้าที่สำคัญในกระบวนการระดับเซลล์ ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูง จึงไม่ควรปล่อยให้พืชเกิดการขาดธาตุ โดยอาการขาดธาตุนั้นมีลักษณะที่คล้าย ๆ กัน ทางเกษตรสมบูรณ์จึงได้ทำ Checklist อาการขาดธาตุมาให้ด้วย เพื่อให้พี่น้องเกษตรกร สามารถเอาไปตรวจสอบอาการขาดธาตุคร่าว ๆ ในแปลงปลูกได้  

 

Checklist อาการขาดธาตุ  
Checklist อาการขาดธาตุ

การแยกระหว่างพืชเป็นโรค กับพืชขาดธาตุ

อาการชาดธาตุอาหารและโรคพืชบางชนิด มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ทำให้อาจเมีการแก้อาการผิดไปได้ แต่จุดหลักในการสังเกตุอาการขาดธาตุง่ายคือ “พืชจะมีลักษณะอาการผิดปกติที่คล้ายคลึงกันในหมู่มาก แต่ไม่แพร่กระจาย และอาการจะไม่รุนแรงขึ้น แต่ถ้าเป็นโรคพืช เริ่มแรกต้นที่มีอาการจะมีน้อย อาการของโรคจะลุกลามและมีการแพร่ระบาดไปที่ต้นที่อยู่ใกล้   แต่ในบางพื้นก็ที่ไม่ได้เกิดการขาดธาตุ แต่อาจมีปัญหาที่โครงสร้างของดินหรือดินเป็นดินเปรี้ยวหรือดินเค็ม ทำให้การไม่สามารถปลดปล่อยแร่ธาตุออกมาในรูปที่เป็นประโยชน์กับพืชได้ พืชจึงแสดงอาการขาดธาตุอาหาร ในกรณีนี้อาจแก้ปัญหาในระยะแรก โดยการให้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากพืชสามารถใช้ธาตุอาหารทางใบได้มากกว่า และธาตุอาหารอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า เช่น ปุ๋ยธาตุอาหารหลัก คือ วีว่า-ฟิช และ 3 เอ็กซ์ เป็นต้น , ปุ๋ยธาตุอาหารรอง คือ นูริช และ วีฟอสซ์ เป็นต้น , ปุ๋ยธาตุอาหารเสริม โอมาซ่า พลัส และ โอมาซ่าเอสเอ็ม ซึ่งส่วนใหญ่ มักจะมีการใส่ธาตุอาหารหลายชนิดรวมกัน เพื่อเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ในการใส่ปุ๋ยให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดนั้นก็ควรมีการใส่อย่างพอดี ไม่ให้เกิดการใส่ปุ๋ยมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติกับพืชแล้วส่งผลต่อการเจริญ และผลผลิตได้

 

แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ ธาตุอาหารพืช มีประโยชน์อย่างไร และอาการขาดธาตุอาหารของพืชแสดงในรูปแบบใดบ้าง  เพิ่มเติม

เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ 

ID Line : @uox0813g

Facebook : www.facebook.com/kasetsomboonstore

Facebook : fb.me/kasetsomboonstore

 

Facebook Comments

3 thoughts on “ธาตุอาหารพืช มีประโยชน์อย่างไร และอาการขาดธาตุอาหารของพืชแสดงในรูปแบบใดบ้าง

  1. Pingback: ปลูกถั่วฝักยาวถูกวิธี สร้างรายได้ยั่งยืน - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี

  2. Pingback: ปลูกถั่วฝักยาว สร้างรายได้ยั่งยืน - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี ปลูกถั่วฝักยาว ปี2564

  3. Pingback: ปลูกถั่วฝักยาว สร้างรายได้ยั่งยืน - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี ปลูกถั่วฝักยาว ปี2564

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *