โรคและแมลงของพริก
โรคและแมลงของพริก พริกเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Solanacious สกุล Capsicum ในประเทศไทยนิยมปลูกกันหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า เป็นต้น พริกนั้นเป็นพืชที่ใช้ประกอบอาหารในทุกๆบ้าน นอกจากนี้พริกก็ยังจัดเป็นพืชเศรษฐกิจอีกหนึ่งตัว เนื่องจากมีมูลค่าการส่งออกสูงในแต่ละปี แต่ยังพบว่า โรคและแมลงของพริก ต่างๆที่ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณเป็นจำนวนมากเช่นกัน ในขั้นตอนแรกของการป้องกันโรคนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากการเลืกเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน น่าเชื่อถือ เนื่องจากสามารถส่งผลให้มีผลผลิตมีความแข็งแรง สมบูรณ์ และยังทนทานต่อโรค เช่น พริกขี้หนู ทองระย้า ตราแวนด้า ซีดส์ , พริกหนุ่ม หยกสวรรค์ ตราเจียไต๋, พริกหนุ่ม ไกรทอง 715 ตราแวนด้า ซีดส์, พริกขี้หนู เพชรมงคล ตราศรแดง, พริกขี้หนู อัมพวา อัมพวา ตราตะวันต้นกล้า, พริกหยวก มณีกาญจน์ ตราศรแดง, พริกขี้หนู อัมพวาโกลด์ ตราตะวันต้นกล้า, พริกขี้หนู หอมทิพย์ ตราแม่น้ำ, พริกขี้หนู เพชรยอดสน ตราไก่, พริกขี้หนู เพชรมงกุฎ ตราศรแดง, พริกกระเหรี่ยง เพชรปทุม ตราแม่น้ำ และพริกขี้หนู ซุปเปอร์ฮอท 2 ตราศรแดง เป็นต้น เป็นต้น นอกจากนี้ในวิธีการปลูกหรือการเตรียมดินต่างๆก็ยังมีส่วนช่วยในด้านการป้องกัน โรคและแมลงของพริก ได้ ศึกษาวิธีการปลูกพริก ได้ที่นี่
โรคในพริก
โรคเหี่ยวเขียว(Bacterial wilt)
สาเหตุ แบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ลักษณะอาการ โดยเริ่มแรกนั้นใบจะเหี่ยวและห้อยลงมา แต่ยังมีใบสีเขียว โดยจะยืนต้นตาย ถ้านำมาตัดดูบริเวณโคนต้น จะพบว่าท่อน้ำและท่ออาหารจะกลายเป็นสีน้ำตาล และถ้าตัดตามขวางจะมีน้ำสีขาวไหลออกมา การรแพร่ะบาด เชื้อแบคทีเรียนั้นสามารถอยู่ในดินได้นานหลายปี และ มีการระบาดมากในช่วงหน้าร้อนความชื้นในดินสูง สภาพดินไม่สมบูรณ์ ขาดไนโตรเจร หรือดินที่เป็นด่าง ต่างเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้ง่ายและมีผลรุนแรง โดยโรคสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะกับอุปกรณ์ทางการเกษตร ลม น้ำ และคน การป้องกันกำจัด
- ถ้าพบการแพร่ระบาดควรเปลี่ยนไปปลูกพืชหมุนเวียบ
- ไถดินตากแดกประมาณ 2-3 ครั้งเพื่อลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในดิน
- ในแปลงที่พบว่าเคยเกิดการระบาด เตรียมดินก่อนปลูกด้วย ยูเรียผสมปูนขาว อัตราส่วน 80+800 กิโลกรัมต่อไร่
- หลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบไหลตามร่อง เพราะสามารถแพร่ระบาดไปทางน้ำได้
- ใช้กลุ่มสารเคมีประเภท Inorganic เช่น คอปเปอร์ ไฮดอรกไซด์(ฟังกูราน) ฉีดลงบนดินทุกๆ 7 วัน
โรคเหี่ยวเหลือง
สาเหตุ เชื้อรา Fusarium oxysporum ลักษณะอาการ เชื้อราจะเข้าทำลายส่วนที่อยู่ใต้ดินก่อน เช่น ส่วนราก ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน หลังจากนั้น ใบจะเริ่มเหลือง เหี่ยวและร่วงหล่นเริ่มจากใบล่างสู่ยอดอ่อน มักเกิดในระยะออกดอกและติดผล การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดจากการอาศัยอยู่ในดิน การป้องกันกำจัด
- ปลูกพืชหมุนเวียน
- ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
- กำจัดต้นที่เป็นโรคออก หลังจากนั้นนำ สาร เมทาแลกซิล หรือ สาร อีทริไดอะโซล หรือ สารพีซีเอ็นบีผสมอีทริไดอะโซล ราดบนดินจากต้นบริเวณที่ถอน
- ใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มาทุกๆ 10 วัน โดยฉีดพ่นทั้งต้นและเน้นที่บริเวณดินรอบๆโคนต้น
โรคแอนแทรกโนส หรือโรคกุ้งแห้ง
สาเหตุ เชื้อรา Colletotrichum dematium (Syd.) Bulter & Bisby และ Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc. ลักษณะอาการ เริ่มแรกจะพบแผลเป็นจุดสีน้ำตาล จากนั้นจะขยายวงกว้าเป็นรูปวงรี และแผลจะขยายได้กว้างอย่างไม่มีขอบเขต ส่งผลให้พริกเน่า การแพร่ระบาด โรคนี้แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วในอุณหภูมิ 27 – 30 องศาเซลเซียส โดยเชื้อสามารถติดไปตามเมล็ดพันธุ์ ปลิวไปตามลม และตกค้างในดิน การป้องกันกำจัด
- คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี แมนโคเซป หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อก่อนปลูก
- ใช้สารกลุ่มเคมีในกลุ่ม Strobilurin เช่น อะซอกซี่สโตบิน(อมิสตา)
กลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป, โพรพิเนบ(แอนทาโคล) กลุ่ม อื่นๆ เช่น โพรคลอราช เป็นต้น ฉีดทุกๆ 7-10 วัน
- เว่นระยะห่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท โดนแดดอย่างทั่วถึง
- ตัดกิ่งที่ติดเชื้อไปทำลายหรือเผา เพื่อลดปริมาณการแพร่ระบาด
ศึกษาวิธีการอื่นๆได้ที่ กุ้งแห้งแท้(แอนแทรคโนส) และ กุ้งแห้งเทียมต่างกันอย่างไร?
โรคกุ้งแห้งเทียม
สาเหตุ ขาดสารอาหารประเภทแคลเซียม ลักษณะอาการ มีแผลคล้ายโรคกุ้งแห้ง โดยมักเกิดที่ผลมากกว่าที่ใบ ตามรอยเจาะของแมลงวันผลไม้หรือเนื้อเยื่อบาง การป้องกันกำจัด
- ใส่ธาตุอาหารประเภท แคลเซียมโบรอน(ไวกิ้ง) เป็นประจำ
- ใส่ปูนขาวและไถพรวนดินก่อนลงกล้า
ศึกษาวิธีการอื่นๆได้ที่ กุ้งแห้งแท้(แอนแทรคโนส) และ กุ้งแห้งเทียมต่างกันอย่างไร?
โรคเน่าเปียก
สาเหตุ เชื้อรา Choanephora cucurbitarum ลักษณะอาการ โดยยอดอ่อน ใบอ่อน ตาดอก และดอก จะเน่าเละ เป็นสีน้ำตาลดำ โดยเริ่มจากกยอดลงมา ใบจะมีลักษณะไหม้ สีน้ำตาลดำอย่างรวดเร็ว การแพร่ระบาด ความชื้นในแปลงที่สูง ส่งผลต่อการระบาดอย่างรุนแรงได้ การป้องกันกำจัด
- เว้นระยะปลูกให้มีอากาศถ่ายเท ไม่ใช้ดินชื้นเกินไป
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Dicarboximide เช่น ไอโพรไดโอน โพรไซไดโอน ฉีดพ่นตามฉลากบนบรรณจุภัณฑ์
- หลีกเลี่ยงการพ่นน้ำแบบฝอย เพราะเชื้อราสามารถกระเด็นไปกับละอองน้ำได้
โรครากเน่าและโคนเน่า
สาเหตุ เชื้อรา Phytophthora ลักษณะอาการ ทำให้ต้นกล้าเน่า หรือถ้าเกิดในพืชที่เจริญเติบโตแล้วจะทำให้เกิดอาการใบเหลือง ร่วง เหี่ยว การแพร่ระบาด แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดไปกับน้ำที่ใช้ในการรด การป้องกันกำจัด
- ปลูกต้นพริกให้มีระยะห่างที่เหมาะสม ให้มีอาหาศถ่ายเท และไม่มีน้ำขัง
- แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นานประมาณ 30 นาที
- เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ เมล็ดพันธุ์พริก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Phenylamide เช่น เมทาแลกซิล
โรคใบจุดตากบ
สาเหตุ เชื้อรา Cercospora capsici ลักษณะอาการ ในส่วนของลำต้น ใบ ผล จะเกิดแผลทางยาว ที่ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม เนื้อแผลสีน้ำตาลอ่อนและกลางแผลสีเทา การแพร่ระบาด สามารถแพร่ระบาดได้ทางลม น้ำ หรือติดไปกับขาของแมลงต่างๆ โดยเชื้อราสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานในดินและซากพืช นอกจากนี้ยังมีเชื้อราในเมล็ดพันธุ์ได้ด้วย การป้องกันกำจัด
- เว้นระยะห่างระหว่างต้นให้พอดี มีกากาศถ่ายเทได้สะดวก
- กำจัดพืชที่ติดโรคทันที
- ลดการรดน้ำ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis(dithiocarbamate) เช่น แมนโคเซป เป็นต้น
โรคราแป้ง
สาเหตุ เชื่อรา Oidium mangiferae Berth ลักษณะอาการ มีลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวตามใบ ยอดอ่อน หรือผลอ่อน หลังจากนั้นต้นจะเหลืองและตาย การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อราจะแพร่ระบาดตามลม การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม triazole เช่น เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Benzimidazole เช่น คาร์เบนดาซิม(อาเค่น) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น ซัลเฟอร์หรือกำมะถัน(ไมโครไธออล) เป็นต้น
โรครากปม
สาเหตุ ไส้เดือนฝอยชนิด Meloidegyne sp. ลักษณะอาการ ต้นพริกหยุดการเจริญเติบโต แคระ ใบจะเหี่ยว เหลือง รากจะเป็นปม และตายในที่สุด การแพร่ระบาด สามารถแพร่ระบาดได้ทั้งทางดิน น้ำ ต้นกล้า แล้วเครื่องมือเกษตรกรรม การป้องกันกำจัด
- ไถหน้าดินตากแดดก่อนปลูกประมาณ 7 วัน
- ผสมปุ๋ยกับดินในขั้นตอนการเตรียมดิน จะช่วยลดปริมาณไส้เดือน
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล) เป็นต้น
โรคใบด่างในพริก(ไวรัส)
โรคใบด่างประพริก (Chilli veinal mottle virus)
สาเหตุ เชื้อไวรัส CVMV ลักษณะอาการ จะมีอาการในช่วงปลายใบ โดยจะมีใบด่างเขียวซีด ในขั้นรุนแรงใบจะเริ่มเปลี่ยนรูปร่าง ใบยอดหด จ้นไม่โต ขนาดพริดจะเล็ก รูปร่างผิดปรกติ การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนป็นแมลงพาหะ แพร่โดยการสัมผัส การป้องกันกำจัด
- กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส(อูดิ) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(เดอะ เดครัส)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง โรคใบด่างไวรัสวายมันฝรั่ง(สามารถ แพร่ในพริกได้) สาเหตุ เชื้อไวรัสPVY ลักษณะอาการ เส้นใบจะบวมใส ใบจะด่าง หดและย่น ในส่วนของผลผลิตจะลดลง และมีรูปร่างผิดปกติ การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนป็นแมลงพาหะ แพร่โดยการสัมผัส การป้องกันกำจัด
- กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(เดอะ เดครัส)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
- ไม่ปลูกร่วมกับพืชสาเหตุของโรค เช่น มันฝรั่ง ยาสูบ และมะเขือเทศ
โรคใบด่างพริก
สาเหตุ เชื้อไวรัสCMV ลักษณะอาการ ใบมีสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวเข้มหรือสีเหลือง ไม่ออกตอก ผลมีจุดสีเหลือง รูปร่างผิดปกติ การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรค การป้องกันกำจัด
- กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส(อูดิ) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(เดอะ เดครัส)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
- ไม่ปลูกร่วมกับพืชสาเหตุของโรคคือพืชตระกูลแตง
โรคใบด่างยาสูบ (สามารถ แพร่ในพริกได้)
สาเหตุ เชื้อไวรัส TEV ลักษณะอาการ เส้นใบมีลักษณะใส ใบและผลด่าง ใบด่างดห จ้นเหี่ยว ใบร่วง ผลมีลักษณะเล็กและรูปร่างผิดปกติ การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรค และสามารถแพร่โดยการสัมผัสหรือติดไปกับเครื่องมือ เชื้อสามารถอาศัยอยู่ในดินได้นานหลายปี การป้องกันกำจัด
- กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(คลอร์ไซริน)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
- ไม่ปลูกร่วมกับพืชสาเหตุของโรคคือพืชตระกูลแตง
โรคใบหงิกเหลือง
สาเหตุ ไวรัส PeYLCV ลักษณะอาการ ใบพริกจะด่างเหลือง โปรงแสง ขอบใบจะโค้งมากขึ้น ต้นหยุดการเจริญเติมโต ได้ผลผลิตน้อยลง การแพร่ระบาด แมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ การป้องกันกำจัด
- กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
- นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ใช้ ยาจับใบ ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ(ยาจับใบบางตัวสามารถคุมไข่ได้)
ศัตรูพืชของพริก
เพลี้ยไฟ
ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้น โดยจะทำให้ใบหรือยอดหงิก ม้วน ดอกพริกร่วงไม่ติด หรือรูปทรงผลบิดงอ แนวทางการป้องกันกำจัด
- อย่าให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(ไฟซ์ไนซ์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(คลอร์ไซริน)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเม็กติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น โดยทั้งหมดสามารถใส่ร่วมกับ สารจับใบ ได้
หนอนกระทู้ผัก
ชื่อสามัญอื่น : หนอนกระทู้ยาสูบ หนอนกระทู้ฝ้าย หนอนเผือก ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินทั้งลำต้น ไม่ว่า ใบ ดอก ก้าน หรือผล แนวทางการป้องกันกำจัด
- ลดแหล่งขยายพันธุ์โดยการไถตากดินหรือกำจัดเศษซากพืช
- เก็บไข่และตัวหนอนไปทำลาย
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่นไซเพอร์เมทริน(ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีประเภท คลอร์ฟีนาเพอร์, อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก), อินด๊อกซาคาร์บ(แอมเมท), สปินโนแซด หรือลูเฟนนูรอน
หนอนกระทู้หอม
ชื่อสามัญอื่น : หนอนหลอด หนอนหอม หนอนหนังเหนียว ลักษณะการทำลาย ในระยะหนอนวัย 3 จะกิดกินทุกส่วนของพืช ใบ ดอก ต้น และผลพริก แนวทางการป้องกันกำจัด
- ลดแหล่งขยายพันธุ์โดยการไถตากดินหรือกำจัดเศษซากพืช
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่นไซเพอร์เมทริน(ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีประเภท คลอร์ฟีนาเพอร์, อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก), อินด๊อกซาคาร์บ(แอมเมท), สปินโนแซด หรือลูเฟนนูรอน
- ใช้สารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ
หนอนเจาะสมอฝ้าย
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินทั้งลำต้น ไม่ว่า ใบ ดอก ก้าน และผล หนอน วัย 4-5 มีความต้านทาน ต่อสารฆ่าแมลงสูง แนวทางการป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(คลอร์ไซริน)
- ใชเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis subsp. aizawai หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน ในช่วงเวลาเย็น
แมลงวันผลไม้
ชื่อสามัญอื่น: หนอนดีด หนอนน้ำปลา ลักษณะการทำลาย แมลงวันจะไปวางไข่ในระยะพริกใกล้เปลี่ยนสี หลังจากนั้นหนอนจะกัดกินจากข้างในพริกออกมา และเมื่อโตเต็มวัยจะมาเข้าดักแด้ในดิน แนวทางการป้องกันกำจัด
- หมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกผักเป็นประจำ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(ไฟซ์ไนซ์) เป็นต้น
- ใช้สารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ
แมลงหวี่ขาวยาสูบ
ลักษณะการทำลาย เป็นพาหะนำโรคไวรัส ทำให้ใบพริกหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์ แนวทางการป้องกันกำจัด
- นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า)หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้ ยาจับใบ ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ
แมลงหวี่ขาวใยเกลียว
ลักษณะการทำลาย เป็นพาหะนำโรคไวรัส ทำให้ใบพริกหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์ แนวทางการป้องกันกำจัด
- นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ใช้ ยาจับใบ ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ
เพลี้ยอ่อน
ลักษณะการทำลาย ตัวเพลี้ยจะไปดูดน้ำเลี้ยงของต้น ทำให้ต้นพืชะงักการเจริญเติบโต และนอกจากนี้ยังเป็นพาหะของโรคใบด่างในพริก แนวทางการป้องกันกำจัด
- กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่นไซเพอร์เมทริน(ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
ไรขาวพริก
ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวโตเต็มวัยจะเข้าไปดูดน้ำเลี้ยงของต้น ทำให้ใบเรียวแหลมแหลม ก้านใบยาว ในขั้นรุนแรงคือส่วนยอดจะแตกเป็นฝอย ดอกจะแคระเกร็น แนวทางการป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีประเภทสารจับใบในการฉีดพ่น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น ซัลเฟอร์(ไมโครไธออล กำมะถันเนื้อทอง)
- ใช้สารเคมีประเภท อะมีทราซ(อะไมทิช), ไพริดาเบน, อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก, อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก หรือ สไปโรมีซิเฟน เป็นต้น
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ โรคและแมลงของ พริก เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ
Pingback: วิธีปลูกพริก ฉบับจับมือทำ ! - FarmerSpace