แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน ไลก้า ยาฆ่าแมลง สารป้องกันกำจัดแมลง ตรากังหัน
แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน ไลก้า ยาฆ่าแมลง สารป้องกันกำจัดแมลง ตรากังหัน เป็นสารที่มีคุณภาพดี
บรรจุ 500 มล.
บริษัท กังหันลม
รายละเอียด
เป็นสารป้องกันกำจัดหนอน ประเภทสัมผัส ออกฤทธิ์สัมผัสและกินตาย ถูกตัวตาย สามารถกำจัดหนอนได้ดี กลุ่มแมลงที่สามารถกำจัดได้ เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน แมลงหร่า หนอนแดง เพลี้ยจักจั่น หนอนกอสีครีม หนอนห่อใบข้าว หนอนกัดใบข้าว หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนประกบใบ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนชอนใบ หนอนร่าน หนอนหน้าแมว แมลงสิง ไอ้ฮวบ ด้วงงวง
ชื่อสามัญ :แลมด์ดา ไซฮาโลทริน (cyhalothrin)
กลุ่มสารเคมี : Pyrethroid
สารสำคัญ : lambda-cyhalothrin………………………………..2.5% W/V ZC
แลมบ์ดา ไซฮาโลทริน ใช้ป้องกันกำจัดแมลง เช่น
- เพลี้ยไฟ
- เพลี้ยอ่อน
- แมลงหร่า
- หนอนแดง
- เพลี้ยจักจั่น
- หนอนกอสีครีม
- หนอนห่อใบข้าว
- หนอนกัดใบข้าว
- หนอนใยผัก
- หนอนกระทู้หอม
- หนอนประกบใบ
- หนอนเจาะสมอฝ้าย
- หนอนชอนใบ
- หนอนร่าน
- หนอนหน้าแมว
- แมลงสิง
- ไอ้ฮวบ
- ด้วงงวง
วิธีใช้
- 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง บริการจัดส่งถึงบ้าน ทั่วประเทศไทย
ข้อปฏิบัติที่แนะนำในการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชและศัตรูพืช
การเลือกใช้และการเลือกซื้อสาร
1. เลือกใช้สารชนิดที่ถูกต้องกับชนิดของศัตรูพืช เฉพาะกรณีที่จำเป็นในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้ในแต่ละครั้ง
2. ภาชนะที่บรรจุไม่แตกหรือรั่ว มีฝาปิดมิดชิด มีฉลากถูกต้องชัดเจน ประกอบด้วยชื่อเคมี ชื่อสามัญของสารออกฤทธิ์และชื่อการค้า ระบุปริมาณของสารออกฤทธิ์และสารอื่นๆ ที่ผสม ชื่อผู้ผลิตและแหล่งผลิต วันหมดอายุ (ถ้ามี) หรือวันผลิต คำอธิบาย ประโยชน์ วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน คำอธิบายอาการเกิดพิษ การแก้พิษเบื้องต้นและคำแนะนำสำหรับแพทย์
ข้อปฏิบัติในการใช้สาร
1. ก่อนใช้อ่านฉลากโดยตลอดให้เข้าใจอย่างละเอียดถูกต้องและปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด ไม่ใช้เกินอัตราที่กำหนด และห้ามผสมสารตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไปในการพ่นครั้งเดียว ยกเว้นกรณีที่แนะนำให้ใช้
2. ตรวจสอบชิ้นส่วนสำคัญของเครื่องพ่นสาร ดูการรั่วซึมของเครื่อง สายยาง รอยต่อ และประเก็นต่างๆ หากพบให้ทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนส่วนที่ชำรุดทันที
3. สวมใส่ชุดป้องกันสาร ได้แก่ เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รองเท้าบู๊ทยาง ถุงมือยาง แว่นตา หน้ากากให้มิดชิด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สารถูกผิวหนัง เข้าตาหรือหายใจเข้าไป
4. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น ตวงสารตามอัตราส่วนที่ฉลากแนะนำโดยใช้ถ้วยตวงหรือช้อน การผสมควรทำอย่างระมัดระวังอย่าใช้มือผสมให้ใช้ไม้กวนหรือคลุกให้เข้ากัน
5. ขณะที่ฉีดพ่นควรอยู่เหนือลดเสมอ หยุดพักเมื่อลมแรงหรือมีลมหวน และควรพ่นสารในตอนเช้าหรือตอนเย็น
6. อย่าสูบบุหรี่หรือดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารขณะใช้สาร
7. อย่าใช้ปากเปิดขวดหรือเป่าดูดสิ่งอุดตันที่หัวฉีด ควรทำความสะอาดด้วยแปรงอ่อนๆ หรือต้นหญ้า
8. ระวังไม่ให้ละอองสารปลิวเข้าหาตัวและถูกคน สัตว์เลี้ยง บ้านเรือน อาหารและเครื่องดื่มของผู้ที่อยู่ข้างเคียง
9. ในขณะทำงานหากร่างกายเปื้อนสารต้องรีบล้างน้ำและฟอกสบู่ให้สะอาดทันที ก่อนที่สารจะซึมเข้าสู่ร่างกาย
10. สารที่ผสมเป็นสารละลายแล้วไม่ได้ใช้ ไม่ควรเก็บไว้ใช้อีก ควรฉีดพ่นให้หมดทุกครั้งที่ผสมใช้
11. ติดป้ายห้ามเข้าบริเวณที่พ่นสารและหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวตามที่ฉลากระบุเพื่อความปลอดภัยในการบริโภค
12. ทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรืออุปกรณ์เครื่องพ่นลงไปในพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้ห่างจากแหล่งน้ำ
13. ซักเสื้อผ้าที่สวมใส่ขณะพ่นสารแยกต่างหากจากเสื้อผ้าอื่น แล้วอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที
14. ถ้ารู้สึกไม่สบายให้หยุดใช้สารแล้วรีบไปพบแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุสารที่มีฉลากปิดอยู่ครบถ้วน หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามคำแนะนำในฉลากก่อนส่งสถานีอนามัยและโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
การขนส่งและการเก็บรักษา
1. แยกการขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชจากสิ่งของอย่างอื่น โดยเฉพาะคน สัตว์ และอาหาร
2. เก็บสารกำจัดศัตรูพืชไว้ในภาชนะเดิมเท่านั้น อย่าถ่ายภาชนะโดยเด็ดขาด
3. ควรเก็บสารไว้ในโรงเก็บที่แยกจากที่พักโดยไม่ปะปนกับสิ่งของอื่นๆ หรืออาหาร ปลอดภัยห่างไกลจากเด็ก สัตว์เลี้ยง แหล่งกำเนิดไฟและไม่ชื้นแฉะ ควรติดป้ายเตือนและใส่กุญแจ
การทำลายวัตถุมีพิษและภาชนะบรรจุสาร
1. เลือกสถานที่จะขุดหลุมฝังภาชนะบรรจุสารที่ใช้หมดแล้วให้ห่างจากแหล่งน้ำและที่พักอย่างน้อย 50 เมตร เป็นพื้นที่ไม่ใช้ประโยชน์ และขุดหลุมลึกอย่างน้อย 1 เมตร ใช้ปูนขาวรองก้นหลุม
2. ทำลายภาชนะบรรจุโดยการตัดหรือทุบทำลายให้อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก แล้วฝังในหลุมที่เตรียมไว้และกลบดินให้มิดชิด
3. ห้ามนำภาชนะที่ใช้แล้วมาล้าง และนำไปบรรจุสิ่งของอย่างอื่นโดยเด็ดขาด
4. ห้ามเผาพลาสติกหรือภาชนะบรรจุสารชนิดที่มีความด้นภายใน เพราะจะทำให้เกิดการระเบิดได้
5. เมื่อมีสารเปรอะเปื้อนพื้นให้ใช้ดินหรือขี้เลื้อยหรือปูนขาวดูดซับและนำไปฝังดินที่ห่างไกลแหล่งน้ำ
6. ติดป้ายที่ฝังภาชนะบรรจุสารแล้วล้อมรั้วเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่เก็ดและสัตว์เลี้ยง
สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร
- สารออกฤทธิ์ (active ingredient หรือ a.i.) หมายถึง เนื้อสารจริงๆ ที่จะแสดงผลต่อพืช ได้ตามคุณสมบัติที่สารนั้นมีอยู่ มักจะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์ในสารผสมทั้งหมด หรือแสดงหน่วยนํ้าหนักต่อปริมาตร (เช่นกรัมต่อลิตร) เช่น Planofix® ระบุว่ามี NAA 4.5% (เปอร์เซ็นต์) เป็นสารออกฤทธิ์ หมายความว่าสาร Planofix® 1 ขวด ปริมาตร 100 มิลลิลิตร มีเนื้อสาร NAA ผสมอยู่ 4.5 กรัม อย่างไรก็ตามมี PGRC หลายชนิดที่จำหน่ายในประเทศไทยขณะนี้โดยได้ระบุชนิดและปริมาณของสารออกฤทธิ์ที่ผสมอยู่
- สารทำให้เจือจาง (diluent) หมายถึง สารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ที่ใช้ผสมกับสารออกฤทธิ์ เพื่อให้ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ลดลงมาอยู่ในระดับเหมาะสม เพื่อสะดวกในการใช้ สารทำให้เจือจางที่ผสมอยู่ในส่วนผสมจะต้องไม่ทำปฏิกริยาเคมีกับสารออกฤทธิ์และต้องไม่เกิดผลเสียต่อพืช สารทำให้เจือจางอาจเป็นอะไรก็ได้ เช่น นํ้า แอลกอฮอล์ ดิน แป้ง หรืออากาศ ยกตัวอย่างสาร Planofix® 1 ขวด ปริมาณ 100 มิลลิลิตร ซึ่งมีเนื้อสาร NAA ผสมอยู่ 4.5 กรัม แสดงว่าส่วนที่เหลือเกือบทั้งหมด (ประมาณ 95เปอร์เซ็นต์) เป็นสารทำให้เจือจาง
- สารเพิ่มประสิทธิภาพ (adjuvants) หมายถึง สารใดก็ตามที่ผสมอยู่ในส่วนผสมแล้ว มีผลทำให้ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์สูงขึ้น หรือให้อยู่ในรูปที่มีประสิทธิภาพสูงสุด อาจเป็นยาจับใบ ยาเปียกใบ หรืออื่นๆ ก็ตาม ผู้ผลิตสารเคมีการเกษตรส่วนใหญ่มักจะผสมสารเพิ่มประสิทธิภาพลงไปในผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว ก่อนบรรจุภาชนะออกจำหน่าย สารเพิ่มประสิทธิภาพมีอยู่หลายร้อยชนิดซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อบริษัทผู้ผลิตพบว่าสารเพิ่มประสิทธิภาพชนิดใดเหมาะสมต่อผลิตภัณฑ์ของตน ก็จะมีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ หรือปกปิดเป็นความลับของบริษัท สารเพิ่มประสิทธิภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งอาจมีประสิทธิสูงกว่าอีกชนิดหนึ่งได้ทั้งๆ ที่มีสารออกฤทธิ์ชนิดเดียวกัน อย่างไรก็ตามถึงแม้จะไม่มีการผสมสารเพิ่มประสิทธิภาพลงไปในผลิตภัณฑ์ แต่สารออกฤทธิ์ก็ยังคงแสดงคุณสมบัติที่มีอยู่ต่อพืชได้เช่นกัน
รูปแบบผลิตภัณฑ์เคมีเกษตร
- สารผงละลายน้ำ (water soluble powder หรือ w.s.p.) เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปผง เมื่อจะใช้จึงนำมาผสมนํ้า ซึ่งจะได้เป็นสารละลายใสไม่ตกตะกอน และให้กับพืชโดยวิธีจุ่ม แช่ พ่นทางใบ หรือรดลงดิน เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมในรูปผงละลายนํ้าได้แก่ Alar® 85, Gibberellin Kyowa
- สารละลายเข้มข้น (water soluble concentrate หรือ w.s.c.) เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปสารละลายใส เมื่อจะใช้จึงนำมาผสมนํ้าซึ่งจะได้สารละลายใสเช่นกัน PGRC ส่วนใหญ่มักเตรียมในรูปนี้ เช่น Pro-Gibb® Planofix® Ethrel®
- สารละลายน้ำมัน (emulsifiable concentrate หรือ e.c.) สารบางชนิดละลายได้ดีในน้ำมัน จึงต้องเตรียมอยู่ในรูปนี้และผสมสารที่จับตัวกับนํ้าและนํ้ามันได้ดี (emulsifier) ลงไปด้วยเมื่อจะใช้จึงนำมาผสมนํ้าจะได้สารผสมซึ่งมีลักษณะขุ่นเหมือนนํ้านม แต่ไม่ตกตะกอนหรือแยกชั้น ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมในรูปนี้ได้แก่ Maintain® CF 125
- สารในรูปครีม (paste) เป็นผลิตภัณฑ์ที่เตรียมขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ได้โดยตรง โดยการทาหรือป้ายสารในบริเวณที่ต้องการ สารทำให้เจือจางที่ใช้อาจเป็นลาโนลิน ขึ้ผึ้ง หรือสารกึ่งแข็งกึ่งเหลวอื่นๆ ที่ผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษ ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมในรูปนี้ได้แก่ Cepha®
- สารผง (dust) เป็นผลิตภัณฑ์ที่เตรียมขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์โดยตรงเช่นกัน และไม่ต้องผสมนํ้าหรือสารใดๆ เพิ่มเติมอีก การให้สารในรูปนี้แก่พืชทำได้โดยจุ่มส่วนของพืชลงในผงของสารโดยตรง ส่วนใหญ่ใช้ในการเร่งรากกิ่งปักชำของพืช สารที่เตรียมในรูปนี้ได้แก่ Seradix® , Trihormone
- สารแขวนลอยเข้มข้น (suspension concentrate หรือ s.c.) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายแป้งผสมนํ้า เมื่อจะใช้จึงนำมาผสมนํ้า ซึ่งจะได้สารผสมซึ่งขุ่นคล้ายแป้งผสมนํ้ำ
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์