วิธีปลูก แตงโม ฉบับจับมือทำ

แตงโมเป็นพืชเถาที่มีอายุสั้น ส่วนมากมักปลูกในภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ ตลาดแตงโมในประเทศไทยก็มีอยู่ด้วยกันหลายตลาด เช่น ตลาดไท ตลาดศรีเมือง เป็นต้น ส่วนการบริโภคแตงโมนิยมทานเป็นผลสุก และแปรรูป เช่น น้ำแตงโม เจลลี่แตงโม และอื่น ๆอีกมากมาย ซึ่งส่งผลให้แตงโมเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนมาก สายพันธุ์แตงโมแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ

แหล่งที่ปลูก

  • อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการปลูก คือ ช่วง 20 – 35 องเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการผสมเกสร คือ ช่วง 18 – 25 องศาเซลเซียส
  • ดินร่วนปนทราย ซึ่งเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี
  • ค่า PH 5.5 – 6.8
  • ควรได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน

การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ

  • ควรเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ บรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันความชื้นป้อนกันแสงและอากาศ มีการระบุข้อมูลต่าง ๆชัดเจน จากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ

การเตรียมดิน

ไถพรวนดินให้หน้าลึก ประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร หลังจากนั้นตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ เพื่อกำจัดวัชพืชในดิน และใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก 2 – 3 ต้น/ไร่ เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์

การปลูกแตงโม

วิธีการปลูก

  • วิธีการปลูกแบบเพาะกล้า

นำดินมาใส่ในถาดเพาะ และหยอดเมล็ดลงในถาดเพาะที่เตรียมไว้  หลุมละ 1 เมล็ด จากนั้นรดน้ำ เช้า-เย็น เมื่อต้นกล้าอายุประมาณ 10 วัน และย้ายต้นกล้าลงหลุมปลูกไว้ในการทำหลุมปลูก ทำหลุมลึกประมาน 30 เซนติเมตร ความกว้างหลุมละ 20 เซนติเมตร  ระยะหลุมห่างกัน 80 เซนติเมตร เว้นระยะห่างระหว่างแถว 2 – 3 เมตร หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักรองพื้น

  • วิธีการปลูกแบบหยอดเมล็ดโดยตรง

การเตรียมหลุมปลูก ทำหลุมลึกประมาน 30 เซนติเมตร ความกว้างหลุมละ 20 เซนติเมตร  ระยะหลุมห่างกัน 80 เซนติเมตร เว้นระยะห่างระหว่างแถว 2 – 3 เมตร หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักรองพื้นและนำเมล็ดพันธุ์หยอดใส่หลุมละ 2 – 3 เมล็ด

การดูแลแลรักษา

การให้น้ำ

หลังจากการหยอดเมล็ดพันธุ์ ช่วง 3 วัน แรกต้องมีการรดน้ำ เช้า – เย็น เป็นประจำทุกวัน

การใสปุ๋ย

แบ่งได้ทั้งหมด 5 ช่วงอายุ

  1. อายุ 7-10 วัน (มีใบจริง 2-3 ใบ) ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 จำนวน 5 กรัม/ไร่
  2. อายุ 13-15 วัน
    • ดินร่วน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสม 15-0-0 หรือ 21-0-0 ในอัตรา 5:1 โดยใส่หลุมละ 1 ถ้วย และ ห่างจากต้นประมาณ 3 เซนติเมตร
    • ดินทราย ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ผสม 15-0-0 หรือ 21-0-0 อัตรา 5:1 โดยใส่หลุมละ 1 ถ้วย และห่างจากต้นประมาณ 3 เซนติเมตร
  3. อายุ 22-25 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 2 ถ้วย ห่างจากต้นประมาณ 3 เซนติเมตร
  4. อายุ 40-42 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ผสม 15-0-0 อัตรา 4:1 โดยใส่หลุมละ 2 ถ้วย ห่างจากต้นประมาณ 3 เซนติเมตร
  5. อายุ 50-52 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 0-0-60 ผสม 15-0-0 อัตรา 1:1 โดยใช้หลุมละ 1 ถ้วย

วิธีการเก็บเกี่ยว

แตงโมทรงกลม(กินรี) และ แตงโมทรงกระบอก(ตอปิโด) จะมีระยะการเก็บเกี่ยวที่เหมือนกัน ประมาณ 60 – 65 วัน จากนั้นค่อย ๆ ควบคุมปริมาณน้ำก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 1 อาทิตย์ ถ้าอยากให้แตงโม หวาน กรอบ เนื้อสีแดงเข้ม ควรลดปริมาณน้ำ 2-3 วัน

ต้นทุนการผลิต แตงโมต่อพื้นที่ 1 ไร่

  • ค่าเมล็ดพันธุ์ 500
  • ค่าเตรียมดิน 800
  • ค่าปุ๋ย 1800
  • พลาสติกคลุมแปลงและท่อน้ำ 6000
  • ค่าสารป้องกันและกำจัดวัคศัตรูพืช 1200

โรคในแตงโม

โรคเถาเหี่ยว ที่เกิดจากแบคทีเรีย

    สาเหตุ   เชื้อแบคทีเรีย Erwinia tracheiphila ลักษณะอาการ  ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ และจะเหี่ยวจากปลายเถาจนถึงโคนเถา วิธีป้องกันกำจัด 

หมั่นกำจัดแมลงที่มากินดอก ระวังอย่าให้เกิดแผล หรือถ้าพบอาการดังกล่าวให้นำไปเผาทิ้ง

โรคเถาเหี่ยว ที่เกิดจากเชื้อรา

สาเหตุ Fusarium oxysporum ลักษณะอาการ จะมีสีใบแตงโมที่ซีดใบและเถาจะเหี่ยวตรงโคนเถาที่ใกล้กับพื้นดิน และจะมีน้ำเมือกๆซึมออกมา วิธีป้องกันกำจัด  

โรคราน้ำค้าง

สาเหตุ  เชื้อไวรัส Pseudoperonospora cubensis (ราน้ำค้าง) ลักษณะอาการ  เกิดจุดวงกลมสีเหลืองบนหลังใบ และมีเส้นใยของเชื้อรา สีม่วงอมเทาเกาะอยู่ วิธีการป้องกัน 

โรคไวรัสโรคใบด่าง

ลักษณะอาการ  ใบหงิก สีใบเริ่มเหลือง และทำให้ต้นแตงโมหยุดการเจริญเติบโตทันที ซึ่งมีผลต่อการให้ผลผลิตของแตงโมโดยตรง วิธีป้องกัน  

  • หลีกเลี่ยงพื้นที่ปลูกแตงซ้ำ
  • ทำความสะอาดแปลงอย่างสม่ำเสมอ
  • กำจัดแมลงพาหะ เช่น แมลงหวี่ขาว และเพลี้ยไฟ เป็นต้น
  • ใช้เมล็ดที่สะอาด ปราศจากโรค
  • ใช้แตงโมพันธุ์ต้านโรค
  • ควรถอนต้นที่มีอาการทิ้งและเผาทำลาย
  • ใช้วิธี ชีวภาพ เช่น ฉีดพ่น บิวเวอร์เรีย เป็นต้น

แมลงศัตรูพืช

แมลงวันทอง

ลักษณะการทำลาย  การเจาะรูทำให้เนื้อในแตงมาเน่าเสีย วิธีป้องกันกำจัด

ด้วงเต่าแตงแดง

ลักษณะการทำลาย  กัดกินรากพืชและกัดกินใบยอด ทำให้ใบจะเหี่ยวเฉา การป้องกันกำจัด

  1. ใช้น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำฉีดพ่น
  2. สารเคมีป้องกันกำจัด
  3. ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว
  4. ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล)คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น

เพลี้ยไฟ

ลักษณะการทำลาย   ดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ทำให้ปลายใบเหี่ยวขอบใบม้วนหงิก โดยจะเริ่มเป็นจากยอดอ่อนของแตงโม วิธีการป้องกัน    

  1. อย่าให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ
  2. ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
  3. ใช้สารเคมีในกลุ่ม spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
  4. ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส), เพอร์เมธริน,  เรสเมธริน,  หรือ ไบโอเรสเมธริน เป็นต้น
  5. ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
  6. ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น
  7. ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเม็กติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
  8. ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid  เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี) , ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ฟาเดีย) เป็นต้น
  9. ใช้สารเคมีประเภทสารจับใบ

หนอนชอนใบ

   ลักษณะการทำลาย หนอนกัดกินใต้ผิวใบของแตงโม จะสังเกตเห็นคาบสีขาวบนใบ หากอาการหนัก จะทำให้ใบแตงโมร่วงได้ วิธีการป้องกัน

  1. เผากำจัดใบที่ถูกหนอนเข้าทำลาย เพื่อไม่ให้หนอนชอนใบระบาดไปต้นอื่น
  2. ใช้ชีววิธี เช่น ฉีดพ่น เชื้อรา เมธาไรเซียม ราพาซิโลมัยซิส เป็นต้น
  3. ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน (ฮุค)  หรือ เดลทาเมทริน (เดซิส) เป็นต้น
  4. ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า)  , อะเซทามิพริด(โปรวิลเลอร์) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า)  อิมิดาโคลพริด(เก-เพค 70) อิมิดาโคลพริด(ฟาเดีย) เป็นต้น
  5. ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
  6. ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน (ต็อดติ) หรือ อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น เป็นต้น
  7. ใช้สารเคมีในกลุ่ม Nereistoxin analogue เช่น คาร์แทป ไฮโดรคลอร์ไรด์ (พาแดน 50) เป็นต้น
  8. ช้สารสกัดจากธรรมชาติ คือ น้ำสารสะกัดจากสะเดา
  9.  

แมลงหวี่ขาว

ลักษณะการทำลาย ดูดน้ำเลี้ยยงที่ยอดอ่อน ทำให้ใบของแตงโมหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์ และเป็นพาหะนำพาไวรัส วิธีการป้องกัน

  1. นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ
  2. ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์)เป็นต้น
  3. ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
  4. ใช้ สารจับใบ (เอส 995) ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ

แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก บวบ เพิ่มเติม

เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ 

ID Line : @uox0813g

Facebook : www.facebook.com/kasetsomboonstore

Facebook : fb.me/kasetsomboonstore

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *