วิธีปลูก หัวไชเท้า ฉบับจับมือทำ
หัวไชเท้าเป็นพืชหัวหรือรากซึ่งมีอายุที่สั้น ส่วนมากมักจะปลูกในภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่ สถานที่ซื้อขายหัวไชเท้ามีกระจายอยู่ทั่วประเทศ เช่น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ตลาดศรีเมืองและตลาดผักที่อื่น ๆ โรงงาน ฯลฯ ส่วนการบริโภค ผู้บริโภคนิยมกินผลสุกเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งหัวไชเท้าเป็นที่นิยมในญี่ปุ่น และจีน ส่งผลให้หัวไชเท้าเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ให้กับประเทศมหาศาล สายพันธุ์หัวไชเท้าที่นิยมปลูกในไทยหลัก ๆ จะมาจากญี่ปุ่น เกาลี และจีน เช่น
แหล่งที่ปลูกหัวไชเท้า
- อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการปลูก คือ ช่วง 15-18 องศาเซลเซียส
- พื้นที่ราบมีความอุดมสมบูรณ์ ความชุ่มชื้นและมีแสงตลอดทั้งวัน
- ดินร่วนปนทราย ซึ่งเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี
- ค่า pH 7.0-7.2
- ค่า EC 2.0-5.0
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
ควรเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ บรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันความชื้นและอากาศ มีการระบุข้อมูลต่าง ๆชัดเจน จากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ
การเตรียมดิน
ไถดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร และตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์เพื่อกำจัดวัชพืชและแมลงในดินให้หมด จากนั้นยกแปลงปลูกให้สูง 10-20 เซนติเมตร และทำแปลงปลูกขนาดความกว้าง 2 เมตร หลังจากนั้น ทำหลุมปลูก ที่มีระยะห่างระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร ระยะห่างแถว 20 เซนติเมตร บนแปลงปลูก
การปลูกหัวไชเท้า
วิธีการปลูก
หยอดเมล็ดหลุม หลุมละ 2 เมล็ด ในหลุมปลูกที่เตรียมไว้
การดูแลรักษา
หลังจากการหยอดเมล็ดต้องรดน้ำเป็นประจำทุกวัน ช่วงแรกหมั่นพรวนดินเพื่อให้ต้นอ่อนเจริญเติบโต เมื่อหัวไชเท้ามีอายุประมาณ 15 วัน (3-4 ใบจริง) ทำการคัดเลือกต้นที่สมบูรณ์เพียงต้นเดียวและถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งเพื่อไม่ให้แย่งสารอาหารกัน
การใส่ปุ๋ย
จะแบ่งเป็น 2 ครั้ง
- ครั้งแรกจะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 พร้อมกับการปลูก หรือที่เรียกว่าปุ๋ยรองพื้น
- ครั้งที่สองจะใส่ตอนช่วงอายุ 20-25 วัน และใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือสูตรเสมอ 15-15-15 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัม ระหว่างหลุมในด้านยาว
วิธีการรดน้ำ
- ควรรดน้ำเฉพาะในช่วงเช้าแต่ควบคุมน้ำในช่วงเย็นเนื่องจากดินแฉะในเวลากลางคืนรากจะเน่าและเกิดเชื้อรา
การเก็บเกี่ยว
ขึ้นอยู่กับแต่สายพันธุ์ ยกตัวอย่าง เช่น
- ผักกาดหัว เอเวอเรส ตราเจียไต๋ จะมีการเก็บเกี่ยว ประมาณ 45-70 วัน
- ผักกาดหัว(หัวไชเท้า) โบนัส 2 ตราช้าง จะมีการเก็บเกี่ยว ประมาณ 43-50 วัน ซึ่งหากเก็บเกี่ยวช้ากว่านี้จะทำให้ผิวของหัวไชเท้าด้านในฟ่ามและขายได้ราคาต่ำ
ต้นทุนการผลิต หัวไชเท้า
- ค่าเมล็ดพันธ์ 1400
- ค่าเตรียมดิน 1200
- ค่าแรงงาน 2000
- ค่าปุ๋ย 2760
- ค่าสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 1500
โรคในหัวไชเท้า
โรคเน่า
สาเหตุ เชื้อรา Aphanomyces raphari
ลักษณะอาการ เกิดแผล สีน้ำตาล–แดง หรือ ดำ บนบริเวิณรากหรือหัวไชเท้า การป้องกันกำจัด
- เลือกพื้นที่ปลูกที่มีอากาศหนาว เย็น ซึ่งจะช่วยลดโรคได้
โรคใบจุด
สาเหตุ เชื้อรา Alternaria spp.
ลักษณะอาการ เกิดแผลกลมเทา–น้ำตาลเล็กๆ บนใบหัวไชเท้า มีวงเหลืองล้อมรอบ ซึ่งหากเป็นหนัก วงกลมเล็กๆจะรวมเป็นวงใหญ่ และขยายไปที่ก้านใบ และลำต้น การป้องกันกำจัด
- เก็บใบล่างที่แสดงอาการไปทำลาย
- คลุกเมล็ดด้วย ไทแรม (thiram) ก่อนน้ำไปปลูก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis(dithiocarbamate) (กลุ่ม M3) เช่น แมนโคเซป (โปรมาเซบ 80) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile (กลุ่ม M5) เช่น คลอโรทาโลนิล(ไทสกาย) ชนิดน้ำ หรือ คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) ชนิดผง เป็นต้น
โรคราน้ำค้าง
สาเหตุ เชื้อรา Peronospora parasitica
ลักษณะอาการ เกิดแผลเป็นผืนสีเหลือง ใต้ใบจะพบเส้นใยสีขาว–เทาเจริญอยู่ใต้แผล การป้องกันกำจัด
- แช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำอุ่น 45 – 50 องศาเซลเซียส นาน 25 นาที
- ปลูกพืชหมุนเวียน
- เว้นระยะห่างในการปลูกพืช อย่าให้แน่นจนเกินไป
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ (ฟังกูราน) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Cyanoacetamide oxime + Alkylenebis (dithiocarbamate) เช่น ไซม็อกซานิล+แมนโคเซบ (เคอร์เซท) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม cinnamic acid เช่น ไดเมโทมอร์ฟ (ฟอรัม) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป (ฮัมบรูก) (โปรมาเซบ 80) หรือ โพรพิเนบ (แอนทาโคล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Dimethyldithiocarbamate เช่น ไทแรม (ไธอะโนซาน) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Thiazolecarboxamide เช่น อีทาบอกแซม (โบคุ่ม) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile เช่น คลอโรทาโลนิล (ไทสกาย) คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Phenylamide เช่น เมทาแลกซิล (เมทาแลกซิล) เมทาแลกซิล (ลอนซาน 35) เป็นต้น
โรคไวรัส
สาเหตุ การนำพาของโรค จาก เพลี้ยอ่อน
ลักษณะอาการ พบอาการด่างเหลือง เนื้อเยื่อบนใบถูกทำลายเป็นสีน้ำตาล อาการจะแสดงที่ใบแก่ก่อน จากนั้นขยายไปที่ก้านใบ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลำต้น และผลผลิตของหัวไชเท้า การป้องกันกำจัด
- กำจัดแมลงพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยไฟ เป็นต้น
แมลงและศัตรูอื่นๆของหัวไชเท้า
เพลี้ยอ่อน
ลักษณะการทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ยอด และ ลำต้น ทำให้ต้นเหี่ยวเฉา เป็นถ้าหนักอาจทำให้ต้นถึงตายได้ การป้องกันกำจัด
- กำจัดวัชพืชหรือทำสะอาดแปลงเพื่อไม่เป็นที่อยู่อาศัยของเพลี้ยอ่อน
- ถ้ามีอาการยอดใบหงิกให้ตัดทิ้งและเผาทำลาย
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน (ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน (เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล (แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
หนอนใยผัก
ลักษณะการทำลาย เจาะกินใบจนเป็นรูทำให้เสียหาย การป้องกันกำจัด
- ใช้วิธีธรรมชาติ เช่น ใช้ แตนเบียน เป็นแมลงกำจัด
- ใช้ชีววิธี เช่น ฉีดพ่น เชื้อรา เชื้อบิวเวอร์เรีย พาซิโลมัยซิล เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน (ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน (เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrazole เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) เป็นต้น
- ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทรูรินเจนซิส(ฟลอร์แบค) ทำลาย
- ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ (ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ)
หนอนชอนใบ
ลักษณะการทำลาย เกิดคาบขาวๆบนใบซึ่งเป็นช่องทางเดินของหนอน ทำให้ใบของหัวไชเท้าร่วงและเป็น การป้องกันกำจัด
- เผากำจัดใบที่ถูกหนอนเข้าทำลาย เพื่อไม่ให้หนอนชอนใบระบาดไปต้นอื่น
- ใช้ชีววิธี เช่น ฉีดพ่น เชื้อรา เมธาไรเซียม ราพาซิโลมัยซิส เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน (ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน (เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) , อะเซทามิพริด(โปรวิลเลอร์) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) อิมิดาโคลพริด(เก-เพค 70) อิมิดาโคลพริด(ฟาเดีย) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน (ต็อดติ) หรือ อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Nereistoxin analogue เช่น คาร์แทป ไฮโดรคลอร์ไรด์ (พาแดน 50) เป็นต้น
- ช้สารสกัดจากธรรมชาติ คือ น้ำสารสะกัดจากสะเดา
เพลี้ยไฟ
ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้น โดยจะทำให้ใบหรือยอดหงิก ม้วน ดอกพริกร่วงไม่ติด หรือรูปทรงผลบิดงอ
การป้องกันกำจัด
- อย่าให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส), เพอร์เมธริน, เรสเมธริน, หรือ ไบโอเรสเมธริน เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเม็กติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี) , ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ฟาเดีย) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีประเภทสารจับใบ
- ศึกษาเพิ่มเติมได้ 3 วิธีกำจัดเพลี้ยไฟ
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก บวบ เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ