วิธีปลูก มะละกอ ฉบับจับมือทำ !
มะละกอเป็นพืชที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอีกชนิดหนึ่ง เพราะสามารถนำไปแปรรูปได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน และผลสุกสามารถนำไปบริโภคได้ด้วย นอกจากนี้มะละกอยังเป็นพืชที่นิยมปลูก ตามบ้าน เนื่องจากปลูกไม่ยาก ดูแลไม่มาก และสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล ซึ่งทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก มะละกอ แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
- ดินมีความอุดมสมบูรณ์
- มะละกอสามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ดินเหนียวจนถึงดินทราย แต่จะดีที่สุดคือ ดินร่วน
- มีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ท่วมขัง
- หน้าดินมีความลึก
- มีความเป็นกรดด่างประมาณ 6 ถึง 7 ศึกษาการปรับค่า pH ได้ที่นี่
- เป็นพื้นที่ ที่แสงแดดจัด
- ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เคยเกิดโรคระบาดรุนแรงมาก่อน โดยเฉพาะโรคใบจุดวงแหวน
การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ
ในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ บรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันความชื้อและอากาศ มีการระบุข้อมูลต่างๆไว้อย่างชัดเจนเช่น มะละกอ แขกนวล ตราโอเคซีส, มะละกอ ฮอลแลนด์ ตราโอเคซีส, มะละกอ ส้มตำ 90 ตราศรแดง หรือ มะละกอ ฮอลแลนด์ ตราหยดน้ำ เป็นต้น
การเตรียมดิน
สำหรับเพาะกล้า
นำดินร่วนมาตากประมาณ 3-5 แดด จากนั้นนำมาผสมกับแกลบเผา อัตรส่วน 1:1 เมื่อเข้ากันแล้วให้ใส่ปูนขาวและปุ๋ยสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กิโลกรัม ผสมให้เข้ากัน แล้วกรอกใส่ถุงขนาด 4×6 นิ้ว เจาะรู 4-6 รู
สำหรับปลูก
ไถพรวนดินให้เรียบ จากนั้นขุมหลุมขนาด 50x50x50 ระยะห่างระหว่างหลุม 2×2 เมตร จากนั้นเตรียมดินกลบ โดยน้ำดินปากหลุมผสมกับปุ๋ยคอกอัตรา 150-250 กรัม
การเพาะกล้า
หยอดเมล็ดลงในถุงเพาะกล้าที่เตรียมไว้ ประมาณ 3-5 เมล็ด ลึก 1 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน เมื่อกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนแยก เลือกต้นแข็งแรงไว้ถุงละ 3 ต้น
การปลูก
เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 45 – 60 วัน ให้ทำการย้ายลงแปลงปลูก โดยควรปลูกตอนที่แดดไม่จัดหรือในช่วงเวลาบ่าย และคัดเลือกเฉพาะต้นที่ดอกกระเทย (ดอกสมบูรณ์เพศ ) นำดินที่เตรียมไว้มากลบ ดินให้แน่นตรงโคนต้น จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
การแยกเพศ
มะละกอมีดอกอยู่ 3 เพศ คือ เพศผู้ เพศเมีย และกระเทย (ดอกสมบูรณ์เพศ )
เพศผู้ ให้ผลกลม เนื้อบางไม่ค่อยพบนัก เพศเมีย ขนาดของดอกค่อนข้างใหญ่ มีลักษณะคล้ายดอกมะลิ ผลของเพศเมียจะป้อม ใหญ่ เนื้อไม่หนา ดอกกระเทย (ดอกสมบูรณ์เพศ ) มีลักษณะคล้ายดอกจำปี ผลที่ได้จะกลม ยาว เนื้อหนา
การดูแลรักษา
การรดน้ำ
ระยะแรกของการปลูกควรให้น้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น หลังจากเดือนที่ 2 เปลี่ยนมาให้น้ำวันละครั้ง ก่อนออกดอกจนถึงผลติด ให้น้ำให้มากขึ้น อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
การใส่ปุ๋ย
- ใส่ปุ๋ยหมัก 5 กิโลกรัม ต่อต้น โดยใส่เป็น 3 ระยะ คือ หลังจากปลูกประมาณ 1 เดือน ออกดอกรุ่นแรก และระยะติดลูก หลังจากเก็บเกี่ยวครั้งแรก
ให้ใส่เพิ่ม 2 เดือนต่อครั้ง ในปริมาณเท่าเดิม โดยใส่ไว้รอบโคนต้น ไม่ให้ชิดลำต้น แล้วรดน้ำตาม
- ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เดือนละ 1 ครั้ง ปริมาณ 10-12 กรัมต่อต้น
การเก็บเกี่ยว
- ผลดิบ นิยมเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 6-7 เดือนหลังย้ายปลูก อายุผลประมาณ 1-2 เดือน หลังจากดอกบาน
- ผลสุก ควรเก็บเมื่อมะละกอเริ่มเปลี่ยนสีผล
ในการเก็บเกี่ยวให้ใช้มีดหรือกรรไกรตัดขั้วผลมะละกอให้ติดต้น
โรคในมะละกอ
โรคใบด่างของมะละกอ(โรคใบจุดวงแหวน)
สาเหตุ เชื้อไวรัส Papaya ringspot virus (PRSV)
ลักษณะอาการ ใบด่างเหลือง หรือเขียวเข้มสลับอ่อน ใบมีขนาดเล็ก เนื้อใบหดหาย ลำต้นมีจุดฉ่ำน้ำ หรือเป็นทางยาวสีเข้ม ผิวของผลเกิดอผลจุดกลมเป็นวงซ้อนๆ
การป้องกันกำจัด
- กำจัดเพี้ยอ่อนที่เป็นพาหะนำโรค โดยใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น อะซีทามิพริด(โปรวิลเลอร์)
โรคราแป้ง
สาเหตุ เชื้อรา Oidium sp.
ลักษณะอาการ จะมีลักษณะคล้ายผงแป้งเกาะอยู่บนก้าน ผล ใบ ทำให้ใบเหลืองและร่วง สุดท้ายทำให้ต้นเหี่ยวตาย
การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม triazole เช่น เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) หรือ ไดฟีโนโคนาโซล(สกอร์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Benzimidazole เช่น คาร์เบนดาซิม(อาเค่น) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น ซัลเฟอร์(ไมโครไธออล กำมะถันเนื้อทอง) เป็นต้น
โรคโคนเน่า
สาเหตุ เชื้อรา Phytophthora sp. และ Pythium sp.
ลักษณะอาการ มีอาการเน่าที่โคนต้นระดับดิน แผลจะลุกลาม และใบจะเหี่ยว เหลือง และตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
- ปลูกต้นมะละกอให้มีระยะห่างที่เหมาะสม ให้มีอาหาศถ่ายเท และไม่มีน้ำขัง
- แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นานประมาณ 30 นาที
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Phenylamide เช่น เมทาแลกซิล เป็นต้น
โรคแอนแทรคโนส
สาเหตุ เชื้อรา Colletotrichum lindemuthianum
ลักษณะอาการ ผลแก่จะเกิดแผลสีน้ำตาลเป็นวงกลม เมื่อเนื้อเริ่มนิ่ม จะยิ่งลุมลามได้ง่าย เห็นได้ชัดเจนคือ แผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อนๆกัน
การป้องกันกำจัด
- คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี แมนโคเซป หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อก่อนปลูก
- ใช้สารกลุ่มเคมีในกลุ่ม Strobilurin เช่น อะซอกซี่สโตบิน(อมิสตา) เป็นต้น
- ใช้สารกลุ่มเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก), โพรพิเนบ(แอนทาโคล) เป็นต้น
- ใช้สารกลุ่มเคมีในกลุ่ม อื่นๆ เช่น โพรคลอราช(เจอราจ) เป็นต้น ฉีดทุกๆ 7-10 วัน
- เว่นระยะห่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท โดนแดดอย่างทั่วถึง
- ตัดกิ่งที่ติดเชื้อไปทำลายหรือเผา เพื่อลดปริมาณการแพร่ระบาด
แมลงศัตรูพืช
เพลี้ยอ่อน
ลักษณะการทำลาย ตัวเพลี้ยจะไปดูดน้ำเลี้ยงของต้น ทำให้ต้นพืชะงักการเจริญเติบโต
แนวทางการป้องกันกำจัด
- กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล) , ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ฟาเดีย) เป็นต้น
- ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
- ใช้น้ำต้มผักที่มีรสขมเช่น สะเดา บอระเพ็ด หรือฟ้าทะลายโจรมาฉีดเป็นประจำ
ไรแดง
ลักษณะการทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้น ส่งผลให้ใบเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล และสีเงิน ตามลำดับ
แนวทางการป้องกันกำจัด
- หากพบการระบาด ให้ฉีดน้ำไปที่ใบเป็นประจำ
- ให้ทำลายต้นหรือก่งที่พบว่ามีไรแดงอยู่
- นำยาสูบ (ยาฉุน) จำนวน 2 ขีด ต้มในน้ำ 1 ลิตร ให้มันเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำยาสูบ เสร็จแล้วเทกาแฟดำ จำนวน 500 กรัม ลงไป แล้วคนให้เข้ากัน แล้วนำกะทิ จำนวน 1 กล่อง (250 ซีซี ผสมลงไป แล้วคนให้เข้ากัน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปฉีด ในอัตรา 1 กระป๋องกาแฟ ผสมน้ำ 20 ลิตร
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Amidine เช่น อะมิทราซ(อะไมทิช) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น ซัลเฟอร์(ไมโครไธออล กำมะถันเนื้อทอง) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyridazinone เช่น ไพริดาเบน(ฮาฟท์ไมท์) เป็นต้น
- ใช้ยาจับใบฉีดพ่นเพื่อไล่
แมลงวันทอง
ลักษณะการทำลาย เจาะและวางไข่ในผลทำให้มีหนอนไชผล ผลจะเล็ก แกรนและเน่าเสีย
แนวทางการป้องกันกำจัด
- ห่อผลมะละกอ
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Pyrethroid (กลุ่ม 3A) เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole (กลุ่ม 2B) เช่น ฟิโพรนิล(ไฟซ์ไนซ์) เป็นต้น
- หรือใช้กลิ่นไล่ โดยใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น เฟนโทเอต(โกลแรง) เป็นต้น
- ศึกษาเพิ่มเติมวิธีการทองธรรมชาติได้ ที่นี่
เพลี้ยหอย
ลักษณะการทำลาย เพลี้ยหอยจะดูดน้ำเลี้ยงที่ลำต้น ผล ก้านใบ และใบ จากนั้นขับถ่ายของเสียออกมาทำให้เชื้อราดำเจริญเติบโต จนใบและผลมีสีดำทำให้ต้นโทรม
แนวทางการป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า), อะเซทามิพริด(โปรวิลเลอร์) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Pyrethroid (กลุ่ม 3A) เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) หรือ ฟีโนบูคาร์บ(ช้างนา) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Organophosphate (กลุ่ม 1B) + Pyrethroid (กลุ่ม 3A) เช่น คลอร์ไพริฟอสหรือคลอไพริฟอส + ไซเพอร์เมทริน (คลอร์ไซริน) เป็นต้น
- ใช้สารจับใบ
ต้นทุนการผลิต มะละกอต่อพื้นที่ 1 ไร่
ค่าเมล็ดพันธุ์ | 600 |
ค่าเตรียมดิน | 500 |
ค่าแรงงานการเก็บเกี่ยวผลผลิต | 1,000 |
ค่าปุ๋ย | 5,000 |
ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช | 1,000 |
รวม | 8,100 |
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก มะละกอ เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ