วิธีปลูก กวางตุ้ง ฉบับจับมือทำ !
ผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดกวางตุ้ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน และญี่ปุ่น โดยสาเหตุที่คนไทยนิยมเรียกว่า ผักกวางตุ้ง ในช่วงที่มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกจะเป็นพันธุ์ที่นำมาจากมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั้งครัวเรือนและในร้านอาหารหรือจนถึงระดับภัตราคาร เพราะรับประทานง่าย ใช้ทำอาหารได้หลากหลาย นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมปลูกกันทั้งในครัวเรือนและเพื่อจำหน่าย ซึ่งทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก กวางตุ้ง แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
- ปลูกได้ตลอดทั้งปี
- ปลูกได้ดีในดินทุกชนิดที่มีความชื้นสูงหรือเติบโตได้ดีหากให้น้ำที่เพียงพอ
- ควรได้รับแสงเต็มที่
การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ
ในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ อยู่ในภาชนะที่มิดชิด สายพันธุ์มีความต้านทานต่อโรค เช่น กวางตุ้งไต้หวัน(ฮ่องเต้) ตราช้าง กวางตุ้ง(ดอก) นพมาศ ตราศรแดง กวางตุ้ง(ดอก) บิ๊กเอ 68 ตราปลาวาฬ กวางตุ้งปักกิ่ง 12 ตราหยดฝน กวางตุ้ง ปทุมรัตน์ ตราเจียไต๋ กวางตุ้ง ทศกัณฐ์ 37 ตราศรแดง กวางตุ้ง เขียวสดใส ตรารถถัง หรือ กวางตุ้ง เขียวใบหยก ตราปลาวาฬ เป็นต้น เมื่อได้เมล็ดพันธุ์แล้ว ให้นำมาผสมทรายละเอียด ในอัตราเมล็ดพันธุ์ 1 ส่วนผสมกับทรายสะอาด 3 ส่วน เนื่องจากเมล็ดของกวางตุ้งมีขนาดเล็กมาก
การเตรียมดิน
- สำหรับแปลงปลูกแบบหว่าน ให้ไถพรวนดินจำนวน 2 รอบ ทำการตากดิน และกำจัดวัชพืช แต่ก่อนการไถพรวนรอบที่ 2 ให้หว่านรองพื้นด้วยปุ๋ยคอกก่อน
- สำหรับแปลงปลูกแบบโรยเมล็ด ให้เตรียมดินคล้ายกับแปลงปลูกแบบหว่านคือ ไถพรวนดินจำนวน 2 รอบ ทำการตากดิน และกำจัดวัชพืช แต่ก่อนการไถพรวนรอบที่ 2 ให้หว่านรองพื้นด้วยปุ๋ยคอกก่อน จากนั้น ทำร่องลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ให้เป็นแถวโดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 20-25 เซนติเมตร เพื่อเตรียมการปลูก
การเพาะกล้า
กวางตุ้งไม่นิยมเพาะกล้ามากนัก โดยส่วนมากจะใช้วิธีการปลูกแบบหว่านหรือโรยเมล็ดป็นแถว
การปลูกกวางตุ้ง
- สำหรับการปลูกแบบหว่าน ให้นำเมล็ดที่เตรียมไว้หว่านให้กระจายทั่วแปลง แล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหนา ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร หลังจากนั้นคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดิน เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มหลังจากงอกได้ประมาณ 20 วัน ทำการถอนและจัดให้มีระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร
- สำหรับการปลูกแบบโรยเมล็ด ให้นำเมล็ดที่เตรียมไว้โรยหรือหยอดเมล็ดเป็นแถวตามร่อง จากนั้นกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบางๆ คลุมด้วยฟางข้าวบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยสม่ำเสมอ ประมาณ 20 วัน หรือต้นกล้ามีใบ 4-5 ใบ จึง่ทำการถอนแยกในแถว โดยจัดระยะระหว่างต้นให้ห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
กวางตุ้งเป็นผักที่ต้องการน้ำเป็นอย่างมาก ควรให้นิอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการราดน้ำตามทันที อย่าให้ปุ๋ยตกค้าง
การเก็บเกี่ยวกวางตุ้ง
ผักกวางตุ้ง จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 35-45 วัน หลังการหว่านเมล็ด ด้วยการใช้มีดตัดโคนต้น
โรคในกวางตุ้ง
โรคใบจุด
สาเหตุ เชื้อรา Alternaria brasaiciala
ลักษณะอาการ เป็นจุดสีเหลืองซีดขนาดเล็ก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ขึ้น และแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนของใบล่าง
การป้องกันกำจัด
- เก็บใบล่างที่แสดงอาการไปทำลาย
- คลุกเมล็ดด้วย ไทแรม (thiram) ก่อนน้ำไปปลูก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis(dithiocarbamate) (กลุ่ม M3) เช่น แมนโคเซป (โปรมาเซบ 80) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile (กลุ่ม M5) เช่น คลอโรทาโลนิล(ไทสกาย) ชนิดน้ำ หรือ คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) ชนิดผง เป็นต้น
โรคราน้ำค้าง
สาเหตุ เชื้อรา Peronospora parasitica
ลักษณะอาการ ปรากฏเป็นจัดสีขาวซีดบนใบ ต่อมาแผลขนาดใหญ่ขึ้นแผลซีดสีฟางข้าว ยุบตัวลง
การป้องกันกำจัด
- คลุกเมล็ดด้วย คลอโรทาโลนิล (chlorothalonil) ก่อนน้ำไปปลูก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis (Dithiocarbamate) (กลุ่ม M03) เช่น โพรพิเนบ(แอนทาโคล) หรือ แมนโคเซป(ฮัมบรูก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile (กลุ่ม M5) เช่น คลอโรทาโลนิล(ไทสกาย) ชนิดน้ำ หรือ คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) ชนิดผง เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Strobilurin (กลุ่ม 11) เช่น อะซอกซีสโตรบิน(สโตบิน) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม cinnamic acid เช่น ไดเมโทมอร์ฟ(ฟอรัม) เป็นต้น
- เก็บใบล่างที่แสดงอาการไปทำลาย
วัชรพืชของกวางตุ้ง
หนอนกระทู้ผัก
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินทั้งลำต้น ไม่ว่า ใบ ดอก ก้าน หรือผล
แนวทางการป้องกันกำจัด
- ลดแหล่งขยายพันธุ์โดยการไถตากดินหรือกำจัดเศษซากพืช
- เก็บไข่และตัวหนอนไปทำลาย
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน (ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน (เดซิส) เป็นต้น
- ใช้ (ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ)
- ใช้สารเคมีประเภท คลอร์ฟีนาเพอร์ หรือ คลอฟีนาเพอร์(แรมเพจ) , อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) , อินด๊อกซาคาร์บ(แอมเมท), สปินโนแซด(เอ็กซอล) หรือลูเฟนนูรอน
หนอนใยผัก
ลักษณะการทำลาย หนอนชนิดนี้มีขนาดเล็กทำให้พบเห็นได้ยาก และมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว โดยตัวหนอนจะกัดกินผิวด้านล่างและเข้าไปกัดกินยอดใบผักจนได้รับความเสียหาย
การป้องกันกำจัด
- หมั่นตรวจดูที่บริเวณกะหล่ำดอก คอยกำจัดหนอนใยผัก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน (ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน (เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrazole เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) เป็นต้น
- ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทรูรินเจนซิส(ฟลอร์แบค) ทำลาย
- ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ (ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ)
ด้วงหมัดผัก
ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนกัดกินหรือชอนไชเข้าไปกินอยู่บริเวณโคนต้นหรือราก ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน และอาจกัดกินผิวลำต้น และกลีบดอกด้วย
การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Nereistoxin analogue เช่น คาร์แทป ไฮโดรคลอร์ไรด์(พาแดน 50) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน (ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ (ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ)
ต้นทุนการผลิต กวางตุ้งต่อพื้นที่ 1 ไร่
กวางตุ้งธรรมดา | กวางตุ้งพันธุ์พิเศษ | |
ค่าเมล็ดพันธุ์ |
210 |
1100 |
ค่าเตรียมดิน |
1,000 |
|
ค่าแรงงานการคลุมดอก/เก็บเกี่ยวผลผลิต |
1,500 |
|
ค่าปุ๋ย |
1,000 |
|
ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช |
1,500 |
|
รวม |
4,210 |
5100 |
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก กวางตุ้ง เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ