วิธีปลูก กระเจี๊ยบ ฉบับจับมือทำ !
กระเจี๊ยบเป็นพืชที่มีประโยชน์เยอะ ทั้งกระเจี๊ยบแดงและกระเจี๊ยบเขียว โดยกระเจี๊ยบเขียวนั้นมีคุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางสมุนไพรสูง สามารถนำมาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย และสามารถนำมาตากแห้งเพื่อทำเป็นชาได้อีกด้วย ส่วนกระเจี๊ยบแดงนั้น นิยมนำดอกมาต้มเพื่อเป็นน้ำกระเจี๊ยบ นอกจากนี้ยังสามารถนำใบและยอดอ่อนมาปรุงอาหารได้อีกด้วย ซึ่งทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก กระเจี๊ยบ แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
- กระเจี๊ยบเป็นพืชที่ชอบอากาษร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 18-35 องศาเซลเซียส
- ดินที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดด่าง ระหว่าง 6-6.8 (การปรับค่า pH ของดิน)
- เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด
- ไม่ควรปลูกในดินที่มีน้ำขังแฉะหรือระบายน้ำยาก
- นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
- เจริญได้ดีในที่โล่งแจ้ง สภาพแสงแดดจัดเต็มวัน
การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ
ในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ โดยในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยนั้นจะแนะนำให้เลือกพันธุ์เบา เนื่องจากให้ผลผลิตดี อายุการเก็เกี่ยวสั้น สามารถทนอากาศร้อนได้ ยกตัวอย่าง เมล็ดพันธุ์ เช่น กระเจี๊ยบเขียว คิงส์สตราร์ ตราศรแดง, กระเจี๊ยบเขียว ชาล ตราพัลซาร์, กระเจี๊ยบแดง ตราต้นไผ่ หรือ กระเจี๊ยบเขียวลูกผสม 9702 ตราใบไม้ เป็นต้น (การเลือกเมล็ดพันธุ์ผัก)
การเตรียมดิน
- ไถหน้าดินมาตากไว้ ประมาณ 15-20 วัน จากนั้นผสมปุ๋ยคอกลงในดินประมาณ 0.5-1ตันต่อไร่
- จัดทำแนวร่องเพื่อปลูก โดยให้มีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร
การเพาะกล้า
กระเจี๊ยบไม่นิยมเพาะกล้า นิยมใช้วิธีหว่านหรือหยอดเมล็ดเป็นส่วนมาก
การปลูกกระเจี๊ยบ
ปลูกโดยการหยอดเมล็ดในหลุมบนร่องที่เตรียมไว้ ระยะระหว่างต้น 50-100 เซนติเมตร หลุมละ 3-5 เมล็ด สำหรับกระเจี๊ยบแดง และ 1-2 เม็ดสำหรับกระเจี๊ยบเขียว
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ในระยะแรกควรให้น้ำสม่ำเสมอ ไม่ให้ขาดน้ำ เพื่อให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
การใส่ปุ๋ย
กระเจี๊ยบเขียว – ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 โดยอัตราใส่ปุ๋ยโดยปกติ 20 วันต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ย 10-25 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง กระเจี๊ยบแดง – ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ในช่วงที่เริ่มเจริญเติบโต อายุ 10-15วันและ 40-50 วัน
การเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบ
- กระเจี๊ยบเขียว การเก็บควรใช้มีดคมตัดให้ขาดครั้งเดียว และไม่ควรเก็บใส่รวมกันครั้งละมากๆเพื่อป้องกันฝักช้า
- กระเจี๊ยบแดง สามารถเก็บได้ทั้งดอกตูมและดอกบาน โดนปกติดอกตูมจะให้รสเปรี้ยวน้อยกว่าดอกบาน
โรคกระเจี๊ยบ
โรคใบจุด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora abelmoschi (Ell’ & Ev.) Deighton
ลักษณะอาการ ในระยะแรกจะมีเชื้อราคล้ายผงแป้งเกาะอยู่ด้านล่างของใบ โดยเริ่มจากใบล่างลามสู่ยอด เมื่อรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีเทาปนดำ ต้นทรุดโทรมเร็ว ใบร่วงและแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
- เมื่อตรวจพบให้ทำลายต้นนั้นทิ้ง
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis (Dithiocarbamate) (กลุ่ม M03) เช่น โพรพิเนบ(แอนทาโคล) หรือ แมนโคเซป(ฮัมบรูก) เป็นต้น
โรคฝักจุดหรือฝักลาย (Pod spot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp.
ลักษณะอาการ เกิดเป็นจุดสีดำหรือสีน้ำตาลเล็ก ๆ เท่าปลายเข็มหมุดที่ผิวของฝัก เมื่อรุนแรงแผลบนฝักจะขยายมองเป็นจุดใหญ่หรือแผลติดต่อเป็นทางยาวสีน้ำตาลเข้ม
การป้องกันกำจัด
- ทำการฆ่าเชื้อที่เมล็ดก่อนนำมาปลูก โดยนำไปแช่แช่ในนํ้าอุ่น 49 – 50° ซ. นาน 20 – 25 นาที
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis (Dithiocarbamate) (กลุ่ม M03) เช่น โพรพิเนบ(แอนทาโคล) หรือ แมนโคเซป(ฮัมบรูก) เป็นต้น
โรคฝักจุดหรือโรคแอนแทรคโนส (Antracnose)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp.
ลักษณะอาการ ทำให้เกิดแผลสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เป็นขีด ๆ สั้น ขอบแผลจะมีรอยช้ำคล้ายน้ำร้อนลวก แผลจะบุ๋มหรือยุบตัวลงไปจากเนื้อเยื่อของฝัก
การป้องกันกำจัด
- คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี แมนโคเซป หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อก่อนปลูก
- ใช้สารกลุ่มเคมีในกลุ่ม Strobilurin เช่น อะซอกซี่สโตบิน(อมิสตา) เป็นต้น
- ใช้สารกลุ่มเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น โพรพิเนบ(แอนทาโคล) หรือ แมนโคเซป(ฮัมบรูก) เป็นต้น
- ใช้สารกลุ่มเคมีในกลุ่มอื่นๆ เช่น โพรคลอราช เป็นต้น ฉีดทุกๆ 7-10 วัน
- เว่นระยะห่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท โดนแดดอย่างทั่วถึง
- ตัดกิ่งที่ติดเชื้อไปทำลายหรือเผา เพื่อลดปริมาณการแพร่ระบาด
ศัตรูพืช
หนอนกระทู้ผัก
ชื่อสามัญอื่น : หนอนกระทู้ยาสูบ หนอนกระทู้ฝ้าย หนอนเผือก
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินทั้งลำต้น ไม่ว่า ใบ ดอก ก้าน หรือผล
แนวทางการป้องกันกำจัด
- ลดแหล่งขยายพันธุ์โดยการไถตากดินหรือกำจัดเศษซากพืช
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ
- สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrazole เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) เป็นต้น
หนอนกระทู้หอม
ชื่อสามัญอื่น : หนอนหลอด หนอนหอม หนอนหนังเหนียว
ลักษณะการทำลาย ในระยะหนอนวัย 3 จะกิดกินทุกส่วนของพืช ใบ ดอก ต้น และผลพริก
แนวทางการป้องกันกำจัด
- ลดแหล่งขยายพันธุ์โดยการไถตากดินหรือกำจัดเศษซากพืช
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- เป็นต้น
- ใช้สารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ
- สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrazole เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) หรือลูเฟนนูรอน เป็นต้น
หนอนเจาะสมอฝ้าย
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะเจาะเข้าไปกินในส่วนของยอด ทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและใบการครั้งก็เข้าไปทำลายข้างในกะหล่ำดอกจนถึงตาผัก
การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส(อูดิ) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(คลอร์ไซริน)
- ใชเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis(ฟลอร์แบคเอฟซี) อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน ในช่วงเวลาเย็น
เพลี้ยไฟ
ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้น โดยจะทำให้ใบหรือยอดหงิก ม้วน ดอกพริกร่วงไม่ติด หรือรูปทรงผลบิดงอ
แนวทางการป้องกันกำจัด
- อย่าให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส(อูดิ) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(คลอร์ไซริน)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเม็กติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น โดยทั้งหมดสามารถใส่ร่วมกับ สารจับใบ ได้
- ศึกษาเพิ่มเติมได้ 3 วิธีกำจัดเพลี้ยไฟ
ต้นทุนการผลิต กะหล่ำดอกต่อพื้นที่ 1 ไร่
กระเจี๊ยบเขียว | กระเจี๊ยบแดง | |
ค่าเมล็ดพันธุ์ | 1,000 | 300 |
ค่าเตรียมดิน | 500 | |
ค่าแรงงานการเก็บเกี่ยวผลผลิต | 1,500 | |
ค่าปุ๋ย | 1,300 | |
ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช | 1,000 | |
รวม | 4,800 | 4,100 |
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก กระเจี๊ยบ เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ