ดินเปรี้ยว และดินเค็ม คืออะไร แก้ไขได้อย่างไร ?
ดินเปรี้ยว(กรดสูง) และดินเค็ม(ด่างสูง) คืออะไร ?
ดินเปรี้ยว และดินเค็ม คือ ดินที่เสียสมดุลทางเคมี ซึ่งดินดังกล่าวจะเกิดปัญหาการดูดซับ แร่ธาตุ และอาหารตามมา
ผลกระทบจากดิน ! ดินเปรี้ยว และดินเค็ม
พืชไม่กินปุ๋ย
พืชมีอาการเหมือนขาดธาตุ ใส่ปุ๋ยเข้าไปเท่าไหร่ พืชก็ไม่งามขึ้น ดินก็แข็งกระด้าง เนื่องจากดินเริ่มเป็นกรดจัด (มีค่าpHต่ำกว่า6) เพราะปุ๋ยส่วนใหญ่นั้นเป็นกรด โดยเฉพาะปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต (21-0-0) และปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) เมื่อใส่ในอัตราที่สูงเกินไป นานเข้า จึงทำให้ดินเป็นกรด ทำให้การละลายธาตุอาหารในดินไม่เต็มประสิทธิภาพ (โดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส) ธาตุอาหารเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้ นอกจากนั้นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินจะทำงานได้ช้าลงอีกด้วย แต่ก็อาจพบอาการดินด่างได้ ในดินที่มีหินปูนในดินอยู่มาก หรือใส่ปุ๋ยที่เป็นด่างมาก เช่น แคลเซียมไนเทรต (15-0-0) ซึ่งจะปรับปรุงดินได้ยากกว่าดินกรด ดินที่ดี ควรมีค่า pH ระหว่าง 6.0 – 7.0 ซึ่งมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ เป็นช่วงที่ธาตุอาหารทุกชนิดสามารถละลายในดินได้อย่างเต็มที่ ถ้าดินมี pH ต่ำหรือสูงไปจากช่วงนี้ พืชก็อาจแสดงอาการขาดธาตุได้
ค่า pH คืออะไร?
เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรด–ด่าง จะอยู่ในช่วง 1 – 14 ถ้าค่า pH น้อยกว่า 7 ถือว่าเป็นกรด และถ้ามีค่ามากกว่า 7 ถือว่าเป็นด่าง
pH ที่เหมาะสมกับพืชชนิดต่างๆ
กระเจี๊ยบเขียว | 6.0-6.8 |
กล้วย | 6.5-7.0 |
ข้าว | 4.5-5.4 |
ข้าวโพด | 5.5-7.0 |
แตงกวา | 5.5-7.0 |
ถั่วฝักยาว | 5.5-6.7 |
ทุเรียน | 5.5-6.5 |
พริก | 5.5-7.0 |
ฟักทอง | 5.5-7.5 |
มะเขือเทศ | 6.0-6.8 |
ยางพารา | 4.5-5.4 |
ส้ม | 4.5-5.4 |
สับปะรด | 4.5-5.5 |
อ้อย | 6.0-7.5 |
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าดินของเราเป็นดินแบบไหน
- ส่งดินวิเคราะห์ที่กรมพัฒนาที่ดิน หรือตามหน่วยงานท้องถิ่น
จะทำให้รู้ถึงค่า pH รวมถึงธาตุอาหาร และอินทรียวัตถุในดินโดยละเอียด
- ใช้เครื่องวัดค่า pH หรือชุด pH test Kit หรือกระดาษลิตมัส
เป็นวิธีการที่สามารถตรวจค่า pH ได้ด้วยตนเอง แต่ต้องมีอุปกรณ์สำหรับการวัดค่า pH – เครื่องวัดค่า pH มีหลายรูปแบบ หลายราคา สามารถเลือกซื้อได้ตามความเหมาะสม
เครื่องวัดค่า pH
– pH test kit เป็นชุดตรวจสอบค่า pH โดยใช้น้ำยาเปลี่ยนสีตรวจสอบ
ชุดตรวจสอบความเป็นกรด–ด่าง ของดิน
– กระดาษลิตมัส หาซื้อได้ง่ายตามร้านอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ หรืออินเตอร์เน็ต ใช้กระดาษจุ่มดินละลายน้ำ แล้วเทียบกับแถบค่า pH
กระดาษลิตมัสและแถบเทียบสี
- ใช้น้ำดอกอัญชัน เป็นวิธีตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตนเอง อุปกรณ์เป็นของที่หาได้จากของใกล้ตัว
โดยอาศัยคุณสมบัติของน้ำอัญชัน ที่เมื่อเจอกรดจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีม่วง
การเก็บตัวอย่างดิน
ไม่ควรเก็บตัวอย่างดินที่เคยเป็นบ้าน โรงเรือนเก่า หรือจอมปลวก เก็บให้ห่างจากที่อยู่อาศัย คอกสัตว์ และที่เตรียมปุ๋ย ควรเก็บหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว หรือก่อนเตรียมปลูกครั้งต่อไป เพื่อที่จะได้ปรับปรุงดินก่อนที่จะปลูกครั้งถัดไป ทำการเก็บตัวอย่างดินได้ดังนี้
- แบ่งแปลงคร่าวๆ ตามความแตกต่างของพื้นที่ (ที่ลุ่ม ที่ลาดชัน เนื้อดิน สีดิน) ชนิดพืชที่ปลูก การใช้ปุ๋ย การใช้ปูนที่ผ่านมา
- สุ่มเก็บตัวอย่างให้ทั่วแปลงที่แบ่งไว้ แปลงละ 10 -15 จุด (แต่ละแปลงย่อยไม่ควรเกิน 50 ไร่) โดยเก็บที่ความลึกประมาณ 15 เซนติเมตร สำหรับพืชทุกชนิด และ 30 เซนติเมตร สำหรับไม้ยืนต้น โดยการทำตามวิธีในรูปการเก็บตัวอย่างดิน แล้วนำดินในแต่ละจุดของแปลงๆนั้นๆรวมกันเป็นตัวอย่างดินรวม ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของดินแปลงนั้น
การเก็บตัวอย่างดิน
สำหรับไม้ยืนต้น ให้เก็บดินตามทรงพุ่ม ประมาณ 15 ต้น ในแต่ละแปลง ด้วยวิธีการเดียวกัน
- คลุกตัวอย่างดินรวม แล้วเทบนผ้าพลาสติก เก็บเศษหินและรากพืชออก ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ถ้าดินเป็นก้อนทุบให้ละเอียด และคลุกซ้ำอีกครั้งโดยยกมุมผ้าทีละ 2 มุม ที่อยู่ตรงข้ามกัน ทำสลับมุมกัน 3 – 4 ครั้ง
- ถ้าดินมีปริมาณมาก แบ่งดินออกเป็น 4 ส่วน เลือกมา 1 ส่วน ให้ได้ดินประมาณครึ่งกิโลกรัมเพื่อส่งวิเคราะห์ เขียนป้ายเบอร์แปลง พร้อมรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวอย่างดิน เช่น ลักษณะพื้นที่ พืชที่ปลูก การใช้ปุ๋ย ผูกติดไว้กับถุงตัวอย่างดิน และควรทำเก็บไว้กับตัวด้วยไว้กันลืม แต่หากทำการทดสอบด้วยวิธีการอื่นด้วยตนเอง อาจทำเพียงคร่าว ๆ และไม่จำเป็นต้องใช้ตัวอย่างดินปริมาณมาก
วิธีการปรับปรุงดิน
- แก้ไขดินกรดด้วยการใช้ปูน เช่น หินปูนบดละเอียด ปูนมาร์ล ปูนโดโลไมต์ เปลือกหอยเผา ปูนขาว
ค่าpHดิน |
ปริมาณปูนโดโลไมต์ (โดโลไมต์เนื้อดิน)(กิโลกรัม/ไร่) |
3.5 | 1800 |
4.0 | 1400 |
4.5 | 800 |
5.0 | 680 |
5.5 | 600 |
6.0-6.5 | 200 – 300 |
- การแก้ไขดินด่าง ในเบื้องต้น ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับไถพรวน ถ้าดินเป็นด่างมาก ต้องใช้ปุ๋ยมาก ถ้าดินเป็นด่างน้อย ก็ใช้ปุ๋ยน้อย
ดังนั้นการปรับ pH ดินนั้นถือว่า เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ควรทำเป็นอันดับแรก หาก pH ไม่เหมาะสม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปก็จะสูญเปล่า พืชนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ไม่ว่าจะปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีก็ตาม
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม เกี่ยวกับ ดินเปรี้ยว และดินเค็ม เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ
ID Line : @uox0813g
Facebook : www.facebook.com/kasetsomboonstore
Facebook : fb.me/kasetsomboonstore
Pingback: วิธีปลูก กะหล่ำปลี ฉบับจับมือทำ ! - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี
Pingback: วิธีปลูก กะหล่ำปลี ฉบับจับมือทำ ! - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี
Pingback: วิธีปลูก กะหล่ำปลี ฉบับจับมือทำ ! – ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี
Pingback: ฟางข้าว ของดีมีประโยชน์ใกล้ตัว!! - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี
Pingback: วิธีปลูก มะเขือยาว ฉบับจับมือทำ ! - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี
Pingback: วิธีปลูก ข้าวโพด ฉบับจับมือทำ ! - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี