กุ้งแห้งแท้(แอนแทรคโนส) และ กุ้งแห้งเทียมต่างกันอย่างไร? ที่นี่มีคำตอบ!
โรคพืชที่เราจะพูดถึงในหัวข้อนี้เป็นโรคที่เกษตรกรผู้ปลูกพริกหลายๆคนกำลังสับสน คือ โรคกุ้งแห้ง(แอนแทรคโนส) และ โรคกุ้งแห้งเทียม
โรคกุ้งแห้งแท้(แอนแทรคโนส)
ลักษณะอาการ
เกิดแผลฉ่ำน้ำบริเวณผลพริกในเวลาต่อมาแผลจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ จากนั้นจะค่อยๆขยายออกเป็นวงกว้าง เน่า และยุบตัว ทำให้ผลพริกเกิดอาการโค้งงอ เป็นที่มาของชื่อโรคกุ้งแห้งนั่นเอง ซึ่งโรคจะระบาดได้ดีในฤดูฝน หรือในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน
หลักการป้องกัน
- ใช้เมล็ดพันธุ์ทนทานโรค เช่น เพชรมงคล ตราศรแดง เป็นต้น
- ให้แคลเซียมแก่พืชทั้งทางใบ(ปุ๋ยเกร็ด) และดิน(ปุ๋ย) เพิ่มความแข็งแรงของผนังเซลล์ และความต้านทานโรค
- ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช
โรคกุ้งแห้งเทียม
ลักษณะอาการ
เกิดแผลสีขาวอมเทาคล้ายน้ำร้อนลวกบริเวณผิวพริก ซึ่งเกิดจากการขาดธาตุอาหารแคลเซียม และอาจส่งผลให้โรคพืชอื่น ๆ เข้าร่วมทำลายแทรกซ้อนได้ ทำให้เกษตรกรหลาย ๆคนเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกุ้งแห้งแท้
หลักการป้องกันกำจัด
- ใส่ปูนขาวเพื่อปรับกรดด่างของดิน และเพิ่มแคลเซี่ยมในดิน
- ให้แคลเซียมแก่พืชทั้งทางใบ(ปุ๋ยเกร็ด) และดิน(ปุ๋ย) เพิ่มความแข็งแรงของผนังเซลล์ และความต้านทานโรค
Pingback: - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี