ข้าวโพด
เป็นพืชตระกูลหญ้า มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว ซึ่งเป็นธัญพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่ใช้เป็นอาหารทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ซึ่งเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก ข้าวโพด แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก ข้าวโพด
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
- ควรปลูกในช่วงฤดูฝน
- ดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทราย
- ค่า pH ประมาณ 5.5-8.0 หรือดินด่างเล็กน้อย อ่านวิธีปรับค่า pH ดินได้ ที่ ดินเปรี้ยว และดินเค็ม คืออะไร แก้ไขได้อย่างไร ?
การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ
ในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ บรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันความชื้อและอากาศ มีการระบุข้อมูลต่างๆไว้อย่างชัดเจน เช่น ข้าวโพด แบล็คเบอร์รี่ ตราตะวันต้นกล้า, ข้าวโพดหวาน ซันสวีท05 ตราตะวันต้นกล้า, ข้าวโพดข้าวเหนียว ซุปเปอร์บิ๊ก ตราตะวันต้นกล้า, ข้าวโพด สวีทไวท์ ตราศรแดง, ข้าวโพด บิ๊กไวท์ ตราศรแดง, ข้าวโพดหวาน จัมโบ้ สวีท ตราศรแดง, ข้าวโพดหวาน ไฮ-บริกซ์ 33 ตราแปซิฟิค, ข้าวโพด ไฮบริกซ์ ตราแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์, ข้าวโพด สวีทไวโอเล็ท ตราศรแดง เป็นต้น
การเตรียมดิน
- ไถหน้าดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ตากหน้าดินไว้ประมาณ 7 วัน
- ไม่ควรเตรียมดินในขณะที่ดินเปียก เพราะจะทำให้ดินอัดตัว ส่งผลต่อการแผ่ของราก
- ทำร่องสำหรับการปลูกระยะห่างระหว่างแถว 35-100 เซนติเมตร
- ใส่ปุ๋ยรองพื้นที่ก้นกลุม สูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15
การเพาะกล้า
การปลูกข้าวโพดนั้นไม่นิยมเพาะกล้า โดยเกษตรกรจะใช้วิธีการหยอดเมล็ดในการปลูก
การปลูกข้าวโพด
การปลูกโดยคน
- ทำหลุมไว้สำหรับหยอดเมล็ดลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร
- รดน้ำให้ดินมีความชื้นก่อนการปลูก
- หยอดเมล็ดลงในหลุมที่เตรียมไว้ ประมาณ 1-3 เมล็ดต่อหลุม
- ใช้ดินกลบหลุมที่ทำการหยอดเมล็ดเรียบร้อยแล้ว
การปลูกโดยเครื่องมือ
- เลือกรูจานหยอดให้เหมาะกับขนาดของเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะระบุไว้ที่ถุง
- ระยะระหว่างหลุมประมาณ 20-25 ซม.
- ควรหยอดเมล็ดข้าวโพดให้ลึก 2.5-3 นิ้ว
การดูแลรักษา
การรดน้ำ
ข้าวโพดเป็นพืชที่ต้องการน้ำตลอดในการปลูก แต่ไม่ชอบให้น้ำท่วมขัง โดยควรรดน้ำ 11-12 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยการให้น้ำแต่ละครั้งไม่ควรให้ดินแฉะเป็นเวลานาน หรือไม่ควรให้เกิดน้ำท่วมขัง
การใส่ปุ๋ย
เมื่อต้นข้าวโพดมีอายุได้ประมาณ 25-30 วัน ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย โดยให้โรยที่ข้างต้นต้นในขณะทีดินมีความชื้น
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวโดยคน เก็บเกี่ยวโดยหักข้าวโพดทั้งเปลือกแล้วจึงมาแกะเปลือกภายหลัง หรือเก็บไว้ทั้งเปลือก ไม่ควรวางฝักข้าวโพดบนพื้นที่ชื้นแฉะ อย่าโยนฝักข้าวโพดเพราะทำให้เกิดบาดแผลบนผิวของเมล็ดหรือเมล็ดร้าว ทำให้เชื้อราเข้าทำลายเมล็ดได้ง่าย ขณะเก็บเกี่ยว ให้แยกฝักเน่าหรือมีเชื้อราเข้าทำลายออกจากฝักดี และเผาทำลายฝักเน่าและฝักที่มีเชื้อรา การเก็บเกี่ยวโดยเครื่องมือ การเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ เครื่องปลิดฝักข้าวโพด (corn snapper) เครื่องปลิดและรูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพด (corn picker-husker) และเครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพด (corn picker-Sheller หรือ corn combine harvester) เครื่องชนิดนี้จะปลิดฝักข้าวโพดจากต้นแล้วสีออกเป็นเมล็ด แต่มีข้อจำกัดในการใช้งานคือ เหมาะสำหรับพื้นที่ราบและสม่ำเสมอ
โรคในข้าวโพด
โรคราน้ำค้าง
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronosclerospora sorghi
ลักษณะอาการ โรคนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่ต้นอ่อนจนถึงข้าวโพดเริ่มออกดอก โดยเริ่มแรกนั้นจะเกิดจุดสีขาวหรือเหลืองอ่อนตามใบเลี้ยง แล้วลามไปยังฐาน ต่อมาใบที่เกิดขึ้นใหม่จะมีทางสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน โดยต้นที่เป็นโรคอาจะจะแห้งตายก่อนที่จะมีฝักก็ได้
การป้องกันกำจัด
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
- ปลูกพืชหมุนเวียน
- คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย เมทาแลกซิล(ลอนซาน)
- กำจัดทำลายพืชที่ติดโรคทิ้ง
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม cinnamic acid เช่น ไดเมโทมอร์ฟ(ฟอรัม) เป็นต้น
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile (กลุ่ม M5) เช่น คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) เป็นต้น
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก), โพรพิเนบ(แอนทาโคล) เป็นต้น
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม Cyanoacetamide oxime + Alkylenebis (dithiocarbamate) เช่น ไซมอกซานิล +แมนโคเซบ(เคอร์เซท) เป็นต้น
โรคราสนิม
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Puccinia polysora Underw
ลักษณะอาการ อาการเป็นจุดนูนสีน้ำตาลเล็กๆ จะเกิดด้านบนใบมากกว่าด้านล่างใบ เมื่อเป็นโรคในระยะแรก ๆ จะพบเป็นจุดนูนเล็ก ต่อมาแผลจะแตกออกเห็นเป็นผงสีสนิมเหล็ก ในกรณีที่เป็นโรครุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย โดยเกิดโรคได้แทบทุกส่วนของต้นข้าวโพด
การป้องกันกำจัด
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
- กำจัดทำลายพืชที่ติดโรค และวัชพืชทิ้ง
- หลีกเลี่ยงการปลูกในฤดูหนาว
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก), โพรพิเนบ(แอนทาโคล) เป็นต้น
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile (กลุ่ม M5) เช่น คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) เป็นต้น
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม Triazole (กลุ่ม 3) เช่น ไดฟีโนโคนาโซล(สกอร์) เป็นต้น
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม Strobilurin (กลุ่ม 11) เช่น อะซอกซีสโตรบิน(อมิสตา) เป็นต้น
โรคใบไหม้แผลเล็ก
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Bipolaris maydis (Nisik) Shoemaker
ลักษณะอาการ ระยะแรกเกิดจุดเล็ก ๆ เขียวอ่อนฉ่ำน้ำ ต่อมาขยายออกตามความยาวของใบโดยจำกัดด้านกว้างของแผลขนานไปตามเส้นใบ ตรงกลางแผลมีสีเทา ขอบแผลมีสีน้ำตาล ทำให้ใบแห้งตาย ถ้าเกิดกับต้นกล้าจะเกิดขึ้นพร้อมกันทุกใบ และจะแห้งตายภายใน 3-4 สัปดาห์หลังปลูก แต่ถ้าเกิดกับต้นแก่จะเกิดกับใบล่างก่อน
การป้องกันกำจัด
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
- กำจัดทำลายพืชที่ติดโรค และวัชพืชทิ้ง
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Piperazine เช่น ไตรโฟรีน เป็นต้น
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก), โพรพิเนบ(แอนทาโคล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Benzimidazole เช่น คาร์เบนดาซิม(อาเค่น) เป็นต้น
โรคใบไหม้แผลใหญ่
เชื้อสาเหตุ Helminthosporium turcicum Pass.( Bipolaris turcica (Pass.) Shoemaker. )
ลักษณะอาการ มีแผลมีขนาดใหญ่สีเทาหรือสีน้ำตาล ยาวตามใบ หัวท้ายเรียวคล้ายรูปกระสวยจะเกิดกับใบล่างก่อน ใบที่มีอาการรุนแรงแผลจะขยายรวมกันเป็นแผลใหญ่ทำให้ใบแห้งและตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
- กำจัดทำลายพืชที่ติดโรค และวัชพืชทิ้ง
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Piperazine เช่น ไตรโฟรีน เป็นต้น
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก), โพรพิเนบ(แอนทาโคล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Benzimidazole เช่น คาร์เบนดาซิม(อาเค่น) เป็นต้น
โรคใบจุด
เชื้อสาเหตุ Curvularia lunara (Wakker) Bord. Var. aeria
ลักษณะอาการ ระยะแรกเกิดจุดเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดสีเขียวอ่อน ต่อมาตรงกลางจุดจะแห้งมีสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลแดง ในที่สุดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไหม้ และมีวงแหวนสีเหลืองล้อมอีกชั้นหนึ่ง
การป้องกันกำจัด
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ
- กำจัดทำลายพืชที่ติดโรค และวัชพืชทิ้ง
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Piperazine เช่น ไตรโฟรีน เป็นต้น
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก), โพรพิเนบ(แอนทาโคล) เป็นต้น
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile (กลุ่ม M5) เช่น คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) เป็นต้น
แมลงและศัตรูอื่น ๆของข้าวโพด
หนอนเจาะลำต้น
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินภายในลำต้น ทำให้ลำต้นล้มง่ายเมื่อเจอลม นอกจากนี้ยังกินฝักด้วย
การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Organophosphate [กลุ่ม 1B] เช่น เฟนโทเอต (โกลแรง) ,คลอร์ไพริฟอส (อูดิ) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม carbamate (กลุ่ม 1A) เช่น คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) ป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Pyrethroid (กลุ่ม 3A) เช่น ไซเพอร์เมทริน (ฮุค), เดลทาเมทริน (เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Spinosyn (กลุ่ม 5) เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Pyrazole (acaricide) เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อีมาเม็กตินเบนโซเอท (เดอะฮัก) เป็นต้น
หนอนกระทู้ข้าวโพด

ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินใบ จนเหลือแต่ก้านใบ
การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Spinosyn (กลุ่ม 5) เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Pyrazole (acaricide) เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อีมาเม็กตินเบนโซเอท (เดอะฮัก) เป็นต้น
หนอนเจาะฝักข้าวโพด
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินบริเวณช่อดอกตัวผู้และเส้นไหมที่ออกใหม่ จากนั้นหนอนจะเข้าไปกัดกินปลายฝักต่อไป
การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Pyrethroid (กลุ่ม 3A) เช่น ไซเพอร์เมทริน (ฮุค), เดลทาเมทริน (เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Spinosyn (กลุ่ม 5) เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Pyrazole (acaricide) เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อีมาเม็กตินเบนโซเอท (เดอะฮัก) เป็นต้น
มอดดิน
ลักษณะการทำลาย กัดกินใบและยอดอ่อนที่เพิ่งงอกจากเมล็ด ชะงักการเจริญเติบโต ฝักลีบเล็กหรือไม่ติดเมล็ด
การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Neonicotinoid เช่น อิมิดาโคลพริด (ฟาเดีย) นำมาคลุกเมล็ดก่อนปลูก
- ใช้สารเคมีกลุ่ม carbamate (กลุ่ม 1A) เช่น คาร์โบซัลแฟน (ไฟซ์ไนซ์) นำมาคลุกเมล็ดก่อนปลูก
ต้นทุนการผลิต ข้าวโพดต่อพื้นที่ 1 ไร่
ใช้เครื่องจักร (ไม่รวมค่าเครื่องจักร) | ใช้แรงงานคน | |
ค่าเมล็ดพันธุ์ | 1,400 | 1,400 |
ค่าเตรียมดิน | 1,000 | 1,000 |
ค่าแรงงานการปลูก | 500 | 600 |
ค่าแรงงานการเก็บเกี่ยวผลผลิต | 500 | 1,000 |
ค่าปุ๋ย | 1,000 | 1,000 |
ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช | 1,000 | 1,000 |
รวม | 5,400 | 6,000 |
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก ข้าวโพด เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ