อโทนิค ยาเร่งราก ตราเจียไต๋
อโทนิค ยาเร่งราก ตราเจียไต๋ เป็นสารที่มีคุณภาพดี
ชื่อสามัญ : โซเดียม ออร์โธ-ไนโตรฟีโนเลต(sodium ortho-nitrophenolate) + โซเดียม พารา-ไนโตรฟีโนเลต(sodium para-nitrophenolate) + โซเดียม ไฟว์-ไนโตรไกลเอโคเลต(sodium 5-nitroguaiacolate)
สารสำคัญ : 2-nitrophenolate + sodium 4-nitrophenolate + sodium 2-meyhoxy-5-nitrophenolate…………0.6% + 0.9% + 0.3% W/V SL
กลุ่มสารเคมี : ไนโตรฟีโนเลต (Nitrophenolate mixture)
รายละเอียด
เป็นสารที่ช่วยให้ของเหลวภายในไซโตพลาสซึม(cytoplasm) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์พืช “หมุนเวียนและเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว” หน้าที่สำคัญของ อโทนิค คือกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากพืชและการเติบโตของระบบสืบพันธุ์ มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชเร่งดอกถอนตัวการพักตัวและการงอก
- ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และรากพืช
- ส่งเสริมการดูดซับธาตุอาหารได้มากขึ้นในราก และเพิ่มปริมาณรากฝอย
- เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด
- ส่งเสริมการออกดอกให้ดกขึ้น ขั้วเหนียว และลดการหลุดร่วงของผลผลิต
วิธีใช้
ส่งเสริมการเจริญ
- พืชทั่วไป 10-20 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก
- พืชทั่วไป 10 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 500 มิลลิลิตร แช่เมล็ด ก่อนปลูก (คำแนะนำจากผู้ใช้จริง)
จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง บริการจัดส่งถึงบ้าน ทั่วประเทศไทย
การแก้ไขการขาดธาตุอาหารพืช
การแก้ไขการขาดธาตุไนโตรเจนของพืช ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน โดยมีหลักการดังนี้
– กรณีดินเป็นกรด ควรใช้ยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมไนเตรท (34-0-0) หรือแคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท (27-0-0 + 5 MgO + 7 CaO)
– กรณีที่พืชขาดธาตุกำมะถันด้วย ควรใช้แอมโนเนียมซัลเฟต (21-0-0 + 24S)
การแก้ไขการขาดธาตุฟอสฟอรัสของพืช ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารฟอสฟอรัส โดยมีหลักการดังนี้
– กรณีที่พืชขาดธาตุฟอสฟอรัสตัวเดียว ควรใช้ทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-45-0) หรือโมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (11-52-0) หรือไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0)
– กรณีที่ดินเป็นกรดควรใช้หินฟอสเฟต (0-3-0 + 25 CaO) ซึ่งมีฟอสฟอรัส (P) ที่สามารถละลายได้ในดินกรด (pH ต่ำกว่า 5) ทั้งหมดอีกร้อยละ 20-40 P2O5
การแก้ไขการขาดธาตุโพแทสเซียมของพืช ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน โดยมีหลักการดังนี้
– กรณีที่ดินขาดธาตุโพแทสเซียมและพืชประธานไม่มีปัญหาต่อคลอไรด์ ควรใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60 + 47 Cl)
– กรณีที่ขาดธาตุโพแทสเซียมและไนโตรเจน โดยที่พืชประธานมีปัญกาต่อครอไรด์ด้วย ควรใช้โพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46)
– กรณีที่พืชขาดธาตุโพแทสเซียมและกำมะถัน โดยที่พืชประธานมีปัญหาต่อครอไรด์ด้วย ควรใช้โพแทสเซียมซัลเฟต (0-0-50 + 18S)
การแก้ไขการขาดธาตุแคลเซียมของพืช ควรใส่ปุ๋ยหรือสารปรับปรุงดินที่มีธาตุแคลเซียมโดยมีหลักการดังนี้
– กรณีที่ดินเป็นกรดจัดและต้องการใส่ฟอสเฟตด้วย ควรใช้หินฟอสเฟต (0-3-0 + 25 CaO) ซึ่งมีฟอสเฟตทั้งหมดร้อยละ 20-40 P2O5 ที่สามารถละลายออกมาให้พืชใช้ได้ ถ้าความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินต่ำกว่า 5
– กรณีที่ดินไม่เป็นกรดจัดและต้องการใส่ฟอสเฟตด้วย ควรใช้ซิงเกิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-22-0 + 28 CaO + 11 S) หรือทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0 + 12 CaO + 1.5 S)
– กรณีที่ดินเป็นกรดและต้องการใส่แคลเซียมธาตุเดียว ควรใช้ปูนมาร์ล ซึ่งมีแคลเซียมประมาณร้อยละ 30 CaO
– กรณีที่ดินเป็นกรดและพืชขาดแมกนีเซียมด้วย ควรใช้ปูนโดโลไมท์ ซึ่งจะมีแคลเซียมร้อยละ 30 CaO และแมกนีเซียมร้อยละ 20 MgO
การแก้ไขการขาดธาตุแมกนีเซียมของพืช ควรใส่ปุ๋ยหรือสารปรับปรุงดินที่มีธาตุแมกนีเซียม โดยมีหลักการดังนี้
– กรณีที่ดินเป็นกรดและพืชมักจะขาดแคลเซียมด้วยการใช้ปูนโดโลไมท์
-กรณีที่ดินไม่เป็นกรดและต้องการใส่กำมะถันด้วย ควรใช้กลีเซอร์ไรด์ซึ่งมีแมกนีเซียมร้อยละ 27 MgO และกำมะถันร้อยละ 22 S
– กรณีที่ดินไม่เป็นกรดรวมทั้งต้องการใส่โพแทสเซียมและกำมะถันให้กับพืชด้วย ควรใช้แลงไบไนท์ ซึ่งมีแมกนีเซียมร้อยละ 18 MgO กำมะถันร้อยละ 22 S และโพแทสเซียมร้อยละ 22 K2O
การแก้ไขการขาดธาตุกำมะถันของพืช ควรใส่ปุ๋ยหรือสารปรับปรุงดินที่มีธาตุอาหารกำมะถัน โดยมีหลักการดังนี้
– กรณีที่เราต้องการใส่ธาตุไนโตรเจนด้วย ควรใช้แอมโมเนียมซัลเฟตซึ่งมีธาตุอาหารไนโตรเจนร้อยละ 21 N และกำมะถันร้อยละ 24 S
– กรณีที่เราต้องการใส่ธาตุโพแทสเซียมด้วย ควรใช้โพแทสเซียมซัลเฟตซึ่งมีธาตุอาหารโพแทสเซียมร้อยละ 50 K2O และกำมะถันร้อยละ 18 S
– กรณีที่เราต้องการใส่ธาตุแมกนีเซียมด้วย ควรใช้กลีเซอร์ไรด์ซึ่งมีธาตุอาหารแมกนีเซียมร้อยละ 27 MgO และกำมะถันร้อยละ 22 S
– กรณีที่เราต้องการใส่ธาตุแคลเซียมด้วย ควรใช้ยิปซั่มซึ่งมีธาตุแคลเซียมร้อยละ 22-30 CaO และกำมะถันร้อยละ 13-16 S
การแก้ไขการขาดธาตุเสริมของพืช
ธาตุอาหารเสริมปกติพืชต้องการน้อยและในการเพาะปลูกปกติที่มีการจัดการดินดีมีอินทรีย์วัตถุเหมาะสม มักจะไม่มีการแสดงอาการขาด ยกเว้นในบางพืชที่มีความต้องการธาตุเสริมชนิดนั้นมากเป็นพิเศษเช่น ปาล์มน้ำมันมีความต้องการธาตุโบรอนสูง ยาสูบมีความต้องการธาตุโบรอนสูง ซึ่งมักจะแก้ไขโดยการใช้ปุ๋ยโบเรตที่มีธาตุโบรอนร้อยละ 15 B หรือใช้ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุโบรอนเสริมเพิ่มเป็นพิเศษ
ส่วนการแก้ไขปัญหาการขาดธาตุเสริมอื่นๆ นิยมใช้ธาตุเสริมในรูปคีเลตฉีดพ่นทางใบและปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์สูงโดยเพิ่มอินทรีย์วัตถุผ่านการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก
ความเป็นพิษของธาตุอาหารต่อพืช
สาเหตุที่ธาตุอาหารเป็นพิษต่อพืชมี 3 ประการคือ
1) ดินเป็นกรดจัด ซึ่งจะทำให้ธาตุโลหะหลักจำพวกเหล็ก แมงกานีสและอลูมิเนียมละลายออกมามากจนถึงระดับเป็นพิษต่อพืช
2) ดินเค็ม ซึ่งจะมีโซเดียม(Na) และคลอไรด์(Cl) ในรูปไออนสูงมาก
3) การจัดการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราสูงเกินไปหรือใส่ปุ๋ยไม่กระจาย ไม่สม่ำเสมอ ทำให้บริเวณที่พืชได้รับปุ๋ยมากเกินไปจนเป็นพิษกับพืชได้
ลักษณะอาการความเป็นพิษของธาตุอาหารต่อพืช
ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ปกติมักจะไม่พบแสดงอาการเป็นพิษในพืชเพราะพืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ยกเว้นมีการใส่ธาตุอาหารนั้นๆมากเกินความจำเป็น
พืชได้รับไนโตรเจน(N) มากเกินความจำเป็น จะแสดงอาการดังนี้ ใบพืชจะมีสีเขียวเข้ม ใบและกิ่งก้านอวบใหญ่มากเกินทำให้เปราะหักได้ง่าย พืชมักจะไม่ออกดอกออกผลและอ่อนแอต่อโรคและแมลง
พืชได้รับฟอสฟอรัส(P) มากเกินไป ใบอ่อนจะมีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ ขอบใบแห้ง พืชมักจะแสดงอาการเครียดอ่อนแอต่อโรค
พืชได้รับโพแทสเซียม(K) มากเกินไป มักจะแสดงอาการขาดธาตุอื่นๆเช่น แคลเซียม แมกนีเซียมเป็นต้น
ธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซียม(Ca) แมกนีเซียม(Mg)และกำมะถัน(S) พืชเมื่อได้รับแคลเซียมมากเกินมักจะแสดงอาการขาดโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ในทางกลับกันถ้าพืชได้รับแมกนีเซียมมากเกินจะทำให้แสดงอาการขาดโพแทสเซียมและแคลเซียม ส่วนกำมะถันถ้าพืชได้รับเกินจะทำให้เกิดการยับยั้งการสังเคราะห์แสงและโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ในพืชสูญเสียไป
ธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ คือ เหล็ก(Fe) แมงกานีส(Mn) โบรอน(B) โมลิบดินัม(Mo) ทองแดง(Cu) สังกะสี(Zn) คลอรีน(Cl) เรามักจะพบการเป็นพิษของธาตุอาหารเสริมได้ง่ายกว่าธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง เพราะพืชต้องการน้อยถ้าดินมีความเป็นกรดด่าง(pH) ที่ผิดปกติหรือมีการใส่ให้กับพืชมากเกินจำเป็น อาการเป็นพิษของพืชจะแสดงดังตารางข้างล่างนี้
ตารางแสดงอาการเป็นพิษของพืชเมื่อได้รับธาตุเสริมมากเกิน
ชนิดธาตุอาหารเสริม | ปัจจัยที่ทำให้ธาตุเสริมเป็นพิษ | อาการแสดงที่เป็นพิษในพืช |
โบรอน(B) | ใส่ในอัตรามากเกินไป | ใบซีดจางและแห้งตายที่ปลายใบและขอบใบ |
ทองแดง(Cu) | มีปนเปื้อนอยู่ในดินและใส่มากเกินไป | ใบซีดจางแลแห้งตายที่ใบแก่และยับยั้งการแผ่ขยายของรากพืช |
คลอรีน(Cl) | ดินชายฝั่งทะเลที่ระบายน้ำไม่ดีและเขตพื้นที่ดินเค็ม | ใบไหม้กรอบและยับยั้งการเจริญเติบโต |
เหล็ก(Fe) | ดินที่ลุ่มมีน้ำขัง | ใบข้างมีสีเหลืองแดงและพืชอื่นๆใบจะมีสีม่วง |
แมงกานีส(Mn) | ดินที่ลุ่มมีน้ำขัง | มีจุดสีน้ำตาลที่เส้นใบ ใบแห้งตายจากปลายใบและขอบใบ ใบม้วนงอหยิกเป็นคลื่น |
โมลิบดินัม(Mo) | ใส่ปูนเพื่อเพิ่ม pH มากเกินไป ทำให้โมลิบดินัมละลายได้ดี | ใบพืชมีสีเหลืองทองถึงเหลืองส้มบางที่เป็นสีม่วง ข้อปล้องของพืชสั้นผิดปกติ |
สังกะสี(Zn) | พืชที่ปลูกในเรือนกระจกหรือใต้หลังคา | ไม่ค่อยพบอาการ อาการเป็นพิษจะคล้ายๆกับอาการขาดธาตุเหล็กและแมงกานีส |
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์