ยารา วีต้า แคลซิพลัส แคลเซียมโบรอน ตรา ยารา
ยารา วีต้า แคลซิพลัส แคลเซียมโบรอน เร่งใบแก่ เร่งใบเขียว ตรา ยารา
บริษัทผู้ผลิต : ตรา ยารา
ขนาด : บรรจุ 1 ลิตร / ขวด
ใช้ได้กับพวก มะเขือยาว กล้วย พืชผักตระกูลกะหล่ำ บรอกโคลี มันสำปะหลัง พริก ผักกาดขาว ส้ม มะพร้าว กาแฟ พืชวงศ์ตระกูลแตง ทุเรียน กระเทียม องุ่น ถั่วเขียว ฝรั่ง คะน้า เลมอน ผักกาดหอม ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ ข้าวโพด มะม่วง มังคุด ฟักทอง
สารสำคัญ CaO………. 31 %
B……………. 0.1 %
Zn……………1.4 %
รายละเอียด
- ช่วยให้ใบและต้นพืชแข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลง
- ช่วยให้พืชออกดอกติดผลดีขึ้น
- ลดการหลุดรวงของดอกและผล
- ลดปัญหาผลแตก
- ยืดอายุผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว
อัตราการใช้ : 400 cc/ไร่ หรือ 20-40 cc/ น้ำ 20 ลิตร
การแก้ไขการขาดธาตุอาหารพืช
การแก้ไขการขาดธาตุไนโตรเจนของพืช ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน โดยมีหลักการดังนี้
– กรณีดินเป็นกรด ควรใช้ยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมไนเตรท (34-0-0) หรือแคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรท (27-0-0 + 5 MgO + 7 CaO)
– กรณีที่พืชขาดธาตุกำมะถันด้วย ควรใช้แอมโนเนียมซัลเฟต (21-0-0 + 24S
การแก้ไขการขาดธาตุฟอสฟอรัสของพืช ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารฟอสฟอรัส โดยมีหลักการดังนี้
– กรณีที่พืชขาดธาตุฟอสฟอรัสตัวเดียว ควรใช้ทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-45-0) หรือโมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (11-52-0) หรือไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0)
– กรณีที่ดินเป็นกรดควรใช้หินฟอสเฟต (0-3-0 + 25 CaO) ซึ่งมีฟอสฟอรัส (P) ที่สามารถละลายได้ในดินกรด (pH ต่ำกว่า 5) ทั้งหมดอีกร้อยละ 20-40 P2O5
การแก้ไขการขาดธาตุโพแทสเซียมของพืช ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน โดยมีหลักการดังนี้
– กรณีที่ดินขาดธาตุโพแทสเซียมและพืชประธานไม่มีปัญหาต่อคลอไรด์ ควรใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60 + 47 Cl)
– กรณีที่ขาดธาตุโพแทสเซียมและไนโตรเจน โดยที่พืชประธานมีปัญกาต่อครอไรด์ด้วย ควรใช้โพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46)
– กรณีที่พืชขาดธาตุโพแทสเซียมและกำมะถัน โดยที่พืชประธานมีปัญหาต่อครอไรด์ด้วย ควรใช้โพแทสเซียมซัลเฟต (0-0-50 + 18S)
การแก้ไขการขาดธาตุแคลเซียมของพืช ควรใส่ปุ๋ยหรือสารปรับปรุงดินที่มีธาตุแคลเซียมโดยมีหลักการดังนี้
– กรณีที่ดินเป็นกรดจัดและต้องการใส่ฟอสเฟตด้วย ควรใช้หินฟอสเฟต (0-3-0 + 25 CaO) ซึ่งมีฟอสเฟตทั้งหมดร้อยละ 20-40 P2O5 ที่สามารถละลายออกมาให้พืชใช้ได้ ถ้าความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินต่ำกว่า 5
– กรณีที่ดินไม่เป็นกรดจัดและต้องการใส่ฟอสเฟตด้วย ควรใช้ซิงเกิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-22-0 + 28 CaO + 11 S) หรือทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0 + 12 CaO + 1.5 S)
– กรณีที่ดินเป็นกรดและต้องการใส่แคลเซียมธาตุเดียว ควรใช้ปูนมาร์ล ซึ่งมีแคลเซียมประมาณร้อยละ 30 CaO
– กรณีที่ดินเป็นกรดและพืชขาดแมกนีเซียมด้วย ควรใช้ปูนโดโลไมท์ ซึ่งจะมีแคลเซียมร้อยละ 30 CaO และแมกนีเซียมร้อยละ 20 MgO
การแก้ไขการขาดธาตุแมกนีเซียมของพืช ควรใส่ปุ๋ยหรือสารปรับปรุงดินที่มีธาตุแมกนีเซียม โดยมีหลักการดังนี้
– กรณีที่ดินเป็นกรดและพืชมักจะขาดแคลเซียมด้วยการใช้ปูนโดโลไมท์
-กรณีที่ดินไม่เป็นกรดและต้องการใส่กำมะถันด้วย ควรใช้กลีเซอร์ไรด์ซึ่งมีแมกนีเซียมร้อยละ 27 MgO และกำมะถันร้อยละ 22 S
– กรณีที่ดินไม่เป็นกรดรวมทั้งต้องการใส่โพแทสเซียมและกำมะถันให้กับพืชด้วย ควรใช้แลงไบไนท์ ซึ่งมีแมกนีเซียมร้อยละ 18 MgO กำมะถันร้อยละ 22 S และโพแทสเซียมร้อยละ 22 K2O
การแก้ไขการขาดธาตุกำมะถันของพืช ควรใส่ปุ๋ยหรือสารปรับปรุงดินที่มีธาตุอาหารกำมะถัน โดยมีหลักการดังนี้
– กรณีที่เราต้องการใส่ธาตุไนโตรเจนด้วย ควรใช้แอมโมเนียมซัลเฟตซึ่งมีธาตุอาหารไนโตรเจนร้อยละ 21 N และกำมะถันร้อยละ 24 S
– กรณีที่เราต้องการใส่ธาตุโพแทสเซียมด้วย ควรใช้โพแทสเซียมซัลเฟตซึ่งมีธาตุอาหารโพแทสเซียมร้อยละ 50 K2O และกำมะถันร้อยละ 18 S
– กรณีที่เราต้องการใส่ธาตุแมกนีเซียมด้วย ควรใช้กลีเซอร์ไรด์ซึ่งมีธาตุอาหารแมกนีเซียมร้อยละ 27 MgO และกำมะถันร้อยละ 22 S
– กรณีที่เราต้องการใส่ธาตุแคลเซียมด้วย ควรใช้ยิปซั่มซึ่งมีธาตุแคลเซียมร้อยละ 22-30 CaO และกำมะถันร้อยละ 13-16 S
การแก้ไขการขาดธาตุเสริมของพืช
ธาตุอาหารเสริมปกติพืชต้องการน้อยและในการเพาะปลูกปกติที่มีการจัดการดินดีมีอินทรีย์วัตถุเหมาะสม มักจะไม่มีการแสดงอาการขาด ยกเว้นในบางพืชที่มีความต้องการธาตุเสริมชนิดนั้นมากเป็นพิเศษเช่น ปาล์มน้ำมันมีความต้องการธาตุโบรอนสูง ยาสูบมีความต้องการธาตุโบรอนสูง ซึ่งมักจะแก้ไขโดยการใช้ปุ๋ยโบเรตที่มีธาตุโบรอนร้อยละ 15 B หรือใช้ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุโบรอนเสริมเพิ่มเป็นพิเศษ
ส่วนการแก้ไขปัญหาการขาดธาตุเสริมอื่นๆ นิยมใช้ธาตุเสริมในรูปคีเลตฉีดพ่นทางใบและปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์สูงโดยเพิ่มอินทรีย์วัตถุผ่านการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก
ความเป็นพิษของธาตุอาหารต่อพืช
สาเหตุที่ธาตุอาหารเป็นพิษต่อพืชมี 3 ประการคือ
1) ดินเป็นกรดจัด ซึ่งจะทำให้ธาตุโลหะหลักจำพวกเหล็ก แมงกานีสและอลูมิเนียมละลายออกมามากจนถึงระดับเป็นพิษต่อพืช
2) ดินเค็ม ซึ่งจะมีโซเดียม(Na) และคลอไรด์(Cl) ในรูปไออนสูงมาก
3) การจัดการใส่ปุ๋ยเคมีอัตราสูงเกินไปหรือใส่ปุ๋ยไม่กระจาย ไม่สม่ำเสมอ ทำให้บริเวณที่พืชได้รับปุ๋ยมากเกินไปจนเป็นพิษกับพืชได้
ลักษณะอาการความเป็นพิษของธาตุอาหารต่อพืช
ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ปกติมักจะไม่พบแสดงอาการเป็นพิษในพืชเพราะพืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ยกเว้นมีการใส่ธาตุอาหารนั้นๆมากเกินความจำเป็น
พืชได้รับไนโตรเจน(N) มากเกินความจำเป็น จะแสดงอาการดังนี้ ใบพืชจะมีสีเขียวเข้ม ใบและกิ่งก้านอวบใหญ่มากเกินทำให้เปราะหักได้ง่าย พืชมักจะไม่ออกดอกออกผลและอ่อนแอต่อโรคและแมลง
พืชได้รับฟอสฟอรัส(P) มากเกินไป ใบอ่อนจะมีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ ขอบใบแห้ง พืชมักจะแสดงอาการเครียดอ่อนแอต่อโรค
พืชได้รับโพแทสเซียม(K) มากเกินไป มักจะแสดงอาการขาดธาตุอื่นๆเช่น แคลเซียม แมกนีเซียมเป็นต้น
ธาตุอาหารรองได้แก่ แคลเซียม(Ca) แมกนีเซียม(Mg)และกำมะถัน(S) พืชเมื่อได้รับแคลเซียมมากเกินมักจะแสดงอาการขาดโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ในทางกลับกันถ้าพืชได้รับแมกนีเซียมมากเกินจะทำให้แสดงอาการขาดโพแทสเซียมและแคลเซียม ส่วนกำมะถันถ้าพืชได้รับเกินจะทำให้เกิดการยับยั้งการสังเคราะห์แสงและโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ในพืชสูญเสียไป
ธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ คือ เหล็ก(Fe) แมงกานีส(Mn) โบรอน(B) โมลิบดินัม(Mo) ทองแดง(Cu) สังกะสี(Zn) คลอรีน(Cl) เรามักจะพบการเป็นพิษของธาตุอาหารเสริมได้ง่ายกว่าธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง เพราะพืชต้องการน้อยถ้าดินมีความเป็นกรดด่าง(pH) ที่ผิดปกติหรือมีการใส่ให้กับพืชมากเกินจำเป็น อาการเป็นพิษของพืชจะแสดงดังตารางข้างล่างนี้
ตารางแสดงอาการเป็นพิษของพืชเมื่อได้รับธาตุเสริมมากเกิน
ชนิดธาตุอาหารเสริม | ปัจจัยที่ทำให้ธาตุเสริมเป็นพิษ | อาการแสดงที่เป็นพิษในพืช |
โบรอน(B) | ใส่ในอัตรามากเกินไป | ใบซีดจางและแห้งตายที่ปลายใบและขอบใบ |
ทองแดง(Cu) | มีปนเปื้อนอยู่ในดินและใส่มากเกินไป | ใบซีดจางแลแห้งตายที่ใบแก่และยับยั้งการแผ่ขยายของรากพืช |
คลอรีน(Cl) | ดินชายฝั่งทะเลที่ระบายน้ำไม่ดีและเขตพื้นที่ดินเค็ม | ใบไหม้กรอบและยับยั้งการเจริญเติบโต |
เหล็ก(Fe) | ดินที่ลุ่มมีน้ำขัง | ใบข้างมีสีเหลืองแดงและพืชอื่นๆใบจะมีสีม่วง |
แมงกานีส(Mn) | ดินที่ลุ่มมีน้ำขัง | มีจุดสีน้ำตาลที่เส้นใบ ใบแห้งตายจากปลายใบและขอบใบ ใบม้วนงอหยิกเป็นคลื่น |
โมลิบดินัม(Mo) | ใส่ปูนเพื่อเพิ่ม pH มากเกินไป ทำให้โมลิบดินัมละลายได้ดี | ใบพืชมีสีเหลืองทองถึงเหลืองส้มบางที่เป็นสีม่วง ข้อปล้องของพืชสั้นผิดปกติ |
สังกะสี(Zn) | พืชที่ปลูกในเรือนกระจกหรือใต้หลังคา | ไม่ค่อยพบอาการ อาการเป็นพิษจะคล้ายๆกับอาการขาดธาตุเหล็กและแมงกานีส |
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์