ขึ้นฉ่าย ฉัตรทอง ตราตะวันต้นกล้า
ขึ้นฉ่าย ฉัตรทอง ตรา ตะวันต้นกล้า เมล็ดพันธุ์คื่นฉ่ายที่มีคุณภาพดี
บริษัท แอ๊ดว้าน ซีดส์ จำกัด
บรรจุ 50 กรัม
รายละเอียด
- ต้นขาว
- ใบใหญ่หนา
- ทนร้อน
- น้ำหนักดี
- อายุเก็บเกี่ยวประมาณ
- 80 วันหลังหว่านเมล็ด
จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง บริการจัดส่งถึงบ้าน ทั่วประเทศไทย
ข้อปฏิบัติที่แนะนำสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช
วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เป็นการคงสภาพความมีชีวิต ของเมล็ดพันธุ์ให้อยู่ได้นานที่สุด มีอยู่หลายวิธี เช่น
1. แบบเปิด (open storage) เป็นวิธีการที่ไม่สามารถควบคุมความชื้น และอุณหภูมิของบริเวณที่เก็บเมล็ดพันธุ์ได้ ความมีชีวิตของเมล็ดจึงผันแปรไป ตามสภาพอากาศ ถ้าเมล็ดอยู่ในสภาพที่มีความชื้นสูง จะทำให้ความชื้นในเมล็ด สูงขึ้นด้วย เรียกคุณสมบัตินี้ว่า hygroscopic
2. แบบควบคุมความชื้นในเมล็ดแล้วเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท เช่น ซองพลาสติก กระป๋อง ถุงกระดาษฉาบอะลูมิเนียม เพื่อป้องกัน ไม่ให้ความชื้นในอากาศเข้าไปในเมล็ดได้
3. แบบปรับสภาพให้เย็นและแห้ง เหมาะกับการเก็บรักษา เมล็ดพืชหลายชนิด เช่น ผัก ไม้ดอก ธัญพืช สภาพที่มีประสิทธิภาพ สูงสุด ควรรักษาระดับความชื้นในเมล็ด 3-8 เปอร์เซ็นต์และเก็บ ในอุณหภูมิ 1-5 องศาเซลเซียส
4. แบบเย็นและชื้น (cool moist storage) เหมาะกับการเก็บรักษา เมล็ดพืชที่มีอายุสั้น (recalcitrant) หลายชนิดที่ไม่ชอบสภาพแห้ง เพราะจะเสียความงอก
5. แบบอุ่นและชื้น (warm moist storage) เหมาะกับการเก็บรักษา เมล็ดพืชเมืองร้อนหลายชนิด เช่น ลำไย เงาะ มังคุด มะม่วง ทุเรียน โกโก้ มักเป็นเมล็ดพืชที่มีอายุสั้นด้วย
ข้อห้าม 7 ประการของการเกบ็ รักษาเมล็ดพันธุ์
การเก็บรักษาเมล็ดพนัธุ์ที่ถูกวิธีนั้นคือ การปฏิบัติต่อเมล็ดพันธุ์เพื่อรักษาหรือชะลอความเสื่อมคุณภาพ ซึ่งคุณภาพดงักล่าวมีหลายลักษณะ แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงข้อ
ห้าม 7 ประการ ดงัน้ี
1.อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ที่มีความชื้นสูง เพราะเมล็ดพันธุ์สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้
2.อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ไวัใกลกับปุ๋ยหรือสารเคมีเพราะจะเกิดอันตรายโดยตรงต่อความงอกของเมล็ดพนัธุ์
3.อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ไวใ้กล้กับแหล่งน้ำหรือสถานที่ชื้นแฉะเพราะมีความชื้นสูงซึ่งจะทำให้เมล็ดพนัธุ์มีอายสุั้นเพราะดูดความช้ื้น
4.อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์บนพื้นโดยตรง เพราะพื้นจะถ่ายเทความช้ื้นสู่เมล็ดทำให้กนัความช้ื้นไม่ได้ อากาศถ่ายเทไม่ดี เมล็ดจะเน่าเสียหายเร็ว
5.อย่าให้มีศัตรูโรคแมลงขณะเก็บรักษาเพราะจะทำลายเมล็ดโดยตรง
6.อย่าเก็บเมล็ดที่ตายแลว้เพราะเสียเวลา ทุน แรงงาน และสถานที่
7.อย่าละเลยการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ขณะเก็บรักษาเพราะการตรวจสอบจะทำให้ทราบสภาพของคุณภาพเมล็ดพันธุ์เพื่อการวางแผนปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวขอ้งกับ เมล็ดพันธุ์
วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ สำหรับผู้เก็บเมล็ดเอง
หากยังไม่น่าเมล็ดพันธุ์ไปปลูกทันที จ่าเป็นต้องเก็บรักษาไว้ก่อน
ควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ควรหมั่นน่าเอาเมล็ดออกผึ่งแดดผึ่งลม เพื่อให้เมล็ดแห้งอยู่เสมอ
2. อย่าให้เมล็ดสัมผัสกับพื้นดินหรือพื้นปูนโดยตรง
3. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใกล้ปุ๋ย เกลือ สารเคมีต่าง ๆ
4. ควรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในที่มีการระบายอากาศดี
5. หมั่นตรวจบริเวณที่เก็บเมล็ดพันธ์อยู่เสมอ อย่าให้แมลงศัตรูในโรงเก็บ
เช่น นก หนู แมลง หรือสัตว์ศัตรูอื่น ๆ มากัดกินเมล็ดพันธุ์ บางครั้ง
ต้องใช้สารเคมีฉีดรอบภาชนะบรรจุเพื่อป้องกันแมลงในโรงเก็บ
จะเห็นได้ว่าการเพาะเมล็ดจะต้องมีการเลือกใช้เมล็ดที่มีคุณภาพดี เมล็ดมีความพร้อมที่จะงอกได้แล้ว จะต้องมีการจัดการสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสมกับการงอกด้วย เมล็ดจะงอกได้สูงสุดควรจะเพาะเมล็ด หลังจากเก็บเมล็ดมาจากต้นได้ไม่นาน การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีการช่วยรักษา คุณภาพไว้ให้นานขึ้น ดังนั้นการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จึงไม่เป็นหนทางทำให้ เมล็ดที่มีอยู่มีคุณภาพดีขึ้นได้ การเก็บรักษาที่ไม่ถูกวิธีและการนำเมล็ดที่มีปัญหาอยู่ แล้วมาเก็บรักษาจึงทำให้เมล็ดมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียคุณภาพในการงอกมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการใช้เมล็ดพันธุ์ดี
- ให้ผลผลิตดี
- 1.1 ตรงตามสายพันธุ์
- 1.2 ได้ผลผลิตสูง
- มั่นคงทางเศรษฐกิจ
- 2.1 ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูกน้อย
- 2.2 ไม่ต้องเสียเวลามาปลูกซ่อมหรือมาปลูกใหม่
- 2.3 ไม่เสียแรงงานที่จะนำมาใช้ในการปลูกซ่อมหรือปลูกใหม่ ตลอดจนแรงงานที่นำมาใช้ในการดูแลรักษา เช่น การป้องกันกำจัดโรค แมลง วัชพืชและศัตรูพืชต่าง ๆ
- 2.4 ไม่เป็นแหล่งแพร่โรค แมลง วัชพืช และศัตรูต่าง ๆ
- 2.5 เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตามกำหนด
- 2.6 จำหน่ายผลผลิตได้ตามกำหนด
- ทำให้เกิดความมั่นใจเมื่อนำไปปลูกแล้วจะประสบผลสำเร็จ
- 3.1 เมล็ดพันธุ์มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง
- 3.2 ต้นพืชมีความสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง
- 3.3 ต้นพืชตั้งตัวได้เร็วและมีความแข็งแรง
- 3.4 ได้จำนวนต้นพืชมาก
- 3.5 ปลูกเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องมาปลูกซ่อมหรือมาปลูกใหม่
- 3.6 ต้นพืชมีความทนทานและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
ข้อเสียของการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพมาปลูก
- เสียเวลาแรงงาน เพราะต้องมาปลูกซ่อมบางครั้งต้องไถทิ้งแล้วมาปลูกใหม่ ทำให้ต้องปลูกล่าช้าเลยฤดูกาลเพาะปลูก
- ผลผลิตที่ได้รับไม่ค่อยมีคุณภาพและผลผลิต่ำ
- เสียหายทางเศรษฐกิจ เพราะต้องใช้เงินซื้อเมล็ดพันธุ์จำนวนมาปลูก และต้องใช้อัตราปลูกต่อไร่มากเพื่อเก็บเกี่ยว ผลผลิตที่ได้รับจำหน่ายไม่ได้ราคา ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดและยังเป็นแหล่งสะสมของโรคแมลง วัชพืช และศัตรูพืชต่าง ๆ
ความรู้เรื่องการเลือกเมล็ดพันธุ์ สำหรับมือใหม่หัดปลูก
ในการเพาะปลูกพืชเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์นั้น สิ่งที่ถือว่าเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกนั้นก็คือ การคัดสรรเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ตรงตามความต้องการของตลาด และคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากพืชจะเจริญเติบโตได้ดีขึ้นอยู่กับเมล็ดพันธุ์ ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ ปุ๋ย จะเป็นส่วนสนับสนุนช่วยทำให้พืชพันธุ์นั้นงอกงามได้เป็นอย่างดี
เมล็ดพันธุ์แบ่งได้เป็น 2 ชนิดกว้างๆ คือ
- เมล็ดพันธุ์ OP (Open-pollinated)
- เมล็ดพันธุ์ลูกผสม F1
1. พันธุ์เปิด หรือ ที่เรียกว่า โอ.พี. (O.P.) ที่ย่อมาจากคำว่า Open breed ความหมายของมันก็คือ เป็นเมล็ดพันธุ์สายพันธุ์แท้ ที่มีพันธุ์กรรมคงที่ ไม่มีการแปรปรวนทางพันธุกรรมเกิดขึ้นเนื้องจากเป็นสายพันธุ์เดี่ยว หากมีการนำเมล็ดที่ได้จากการเพาะปลูกในรุ่นถัดๆ กันไปทำการเพาะปลูกขยายพันธุ์ ก็จะได้ต้นที่มีลักษณะที่เหมือนต้นเดิมทุกประการ ทั้งรูปทรง โครงสร้าง และผลผลิต พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เราสามารถเก็บพันธุ์เองได้ต่อไปเรื่อยๆ
2. ส่วนเมล็ดพันธุ์ F1 (F One-Hybrid) เป็นเมล็ดพันธุ์สายพันธุ์ลูกผสม ในชั่ว (รุ่น) ที่เกิดจากการผสมข้าพันธุ์ระหว่างพันธุ์แท้ 2 สายพันธุ์ หรือเรียกเข้าใจง่ายว่าพ่อและแม่พันธุ์ (อาจจะ 3 หรือ 4 สายพันธุ์ก็ได้) เมล็ดแบบ F1 ที่ได้ไปปลูกจะมีการเปลี่ยแปลงของลักษณะเกิดขึ้นผิดไปจากเดิมเนื่องจากเกิดจากการมี 2 สายพันธุ์หรือมากกว่ามาผสมกัน ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะคล้ายกับสายพันธุ์พ่อหรือสายพันธุ์แม่ ดังนั้นอาจจะทำให้ให้ลักษณะของพืชที่ได้นั้นดีขึ้น หรือเลวลงก็ได้ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าเมล็ดพันธุ์ชนิดนี้มีความแปรปรวนของพันธุกรรมสูง เมื่อนำไปปลูกจะมีความแตกต่างกันในหลายลักษณะ จะไม่เหมือนต้นแม่ จึงไม่เป็นที่นิยมในหมู่เกษตรกรในการเก็บเมล็ดมาทำพันธุ์ต่อไป จะมีก็แต่เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตในเชิงการค้าที่มีการผลิตมาโดยเฉพาะ เนื่องจากเมล้ด F1ให้ผลดีกว่า ผลผลิตสูงกว่า พันธุ์เปิด ส่งผลให้ในปัจจุบันเมล็ดพันธุ์มักจะเป็นลูกผสมหรือไฮบริดเสียส่วนใหญ่ เพราะนอกจากผลดีทางพันธุกรรมแล้ว ยังควบคุมสายพันธุ์ไว้ในการควบคุมเพื่อหวังผลทางการตลาดได้ด้วย (ถือเป็นความลับทางการค้านะครับผม และลิขสิทธิ์ของเจ้าของสายพันธุ์นั้นๆ )
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์