3 โรคราในข้าวโพด รับมือง่ายนิดเดียว
3 โรคราในข้าวโพด รับมือง่ายนิดเดียว
ข้าวโพดเป็นพืชที่อยู่คู่ชาวไทยมาเนิ่นนาน ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งข้าวโพดเป็นพืชอายุสั้น(เก็บเกี่ยวประมาณ 65-70 วัน)แต่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ทั้งนี้ได้ถูกนำมาบริโภคทั้งในแบบเป็นฝักและนำมาแปรรูปในอยู่ผลิตภัณฑ์ต่างๆหลากหลายชนิด ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นรายได้หลักอีกสิ่งหนึ่งของประเทศ โดยสามาารถส่งไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศเช่น เกาหลี ญี่ปุ่น จีน และอีกหลายๆประเทศในแถบทวีปยุโรป รวมทั้งถูกนำไปใช้เป็นอาหารสำหรับปศุสัตว์อีกด้วย สังเกตให้เห็นว่าข้าวโพดนั้นเป็นพืชที่มีความสำคัญอย่างมากในด้านเกษตรกรรมและด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทยเป็นอย่างมากในปัจจุบันประเทศไทยสามารถปลูกข้าวโพดได้ในทุกพื้นที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่เป็นปัจจัยต่อการปลูกและการให้ผลผลิต สำหรับเขตชลประทาน สามารถปลูกข้าวโพดได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปจะนิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน(เมษายน-พฤษภาคม) ซึ่งจะได้ผลผลิตที่ดีกว่าช่วงอื่น แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตก็คือการเกิดโรคของข้าวโพด ซึ่งส่งผลทำให้ผลผลิตลดน้อยลง บทความนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้ลักษณะของการเกิดโรค วิธีการป้องกันและรักษาโรคชนิดต่างๆของข้าวโพด ดังต่อไปนี้
1.โรคราน้ำค้าง หรือ โรคใบลาย (โรคยอดฮิต)
เป็นโรคที่เกิดในข้าวโพดสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อผลผลิต !
ผลผลิตเสียหายราว 30-80 เปอร์เซ็นต์
ลักษณะของโรค
1.มีจุดเล็กๆขนาด 1-2 มิลลิเมตร มักเกิดกับข้าวโพดระยะกล้าอายุไม่เกิน 7 วัน
2.อาการที่เกิดต่อมาจากอาการแบบที่ 1พบเป็นทางยาวสีเหลืองหรือสีเขียวอ่อนสลับกับเขียว แผลจะ ขยายจากจุด ลามลงมาทางโคนใบ ต่อมาเมื่อ ข้าวโพดอายุมากเข้ารอยสีเขียวอ่อนหรือ สีเหลืองก็จะเปลี่ยนเป็นสี น้ําตาล
3.อาการที่ตามมาข้าวโพดมีใบสี เหลืองซีดโดยเฉพาะในบริเวณยอด ต้นแคระแกรน เตี้ย ข้อถี่ ไม่มี ฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝัก มากกว่าปกติ แต่จะไม่สมบูรณ์
สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรคและการระบาด
1.สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำค้างและฝนตก
2.อุณหภูมิต่ำ เชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 20-26 องศาเซลเซียส
วิธีการป้องกันและรักษา
1.หลีกเลี่ยงการเพราะปลูกในช่วงปลายฤดูฝน (กรกฎาคม-สิงหาคม)
2.หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อและควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความชื้นต่ำ
เช่น ข้าวโพด สวีทไวท์ ตราศรแดง ข้าวโพด สวีทไวโอเล็ท ตราศรแดง ข้าวโพด บิ๊กไวท์ ตราศรแดง ข้าวโพดหวาน จัมโบ้ สวีท ตราศรแดง ข้าวโพดหวาน ไฮ-บริกซ์ 33 ตราแปซิฟิค และ ข้าวโพด ไฮบริกซ์ ตราแปซิฟิค เป็นต้น
3.ใช้สารเคมี เมทาแลกซิล คลุกเมล็ดข้าวโพดในอัตรา 7 กรัม ต่อเมล็ดข้าวโพด 1 กก
4.ฉีดพ่อนด้วย สาร ไดเมโทมอร์ฟ(ฟอรัม) หรือ คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) หรือ แมนโคเซป(ฮัมบรูก) หรือ ไซมอกซานิล +แมนโคเซบ(เคอร์เซท) ทุกๆ 7 วัน
2.โรคราใบจุด
ลักษณะของโรค
ลักษณะโรคส่วนใหญ่จะแสดงบนใบ แต่บางครั้งอาจพบบนกาบใบและฝักด้วย ระยะแรกเกิดเป็นจุดเล็ก ๆ ขนาด 1-2 มม. ต่อมาตรงกลางจุดจะแห้งมีสีเทาหรือน้ําตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ําตาลแดง ในที่สุดเปลี่ยนเป็นสี น้ําตาลไหม้ขนาด 1 ซม.มีวงแหวนสีเหลือง ล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง พบเมื่ออากาศร้อนชื้น
วิธีการป้องกันและรักษา
1.ใช้เมล็ดพันธุ์จากต้นที่ปลอดโรค
2.ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ต้านทานโรค
3.หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณสูง และการปลูกพืชหนาแน่น
4. ฉีดพ่นด้วยสาร คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) หรือ แมนโคเซป(ฮัมบรูก) ทุกๆ 7 วัน
3.โรคราสนิม
ลักษณะของโรค
อาการของโรคเกิดได้ทั่วทั้งต้นข้าวโพด คือ ใบ ลำต้น กาบใบ ฝัก โดยแสดงอาการเป็นจุดนูนเล็กๆ สีน้ำตาลแดง ขนาด 0.2-2 มม. แผลส่วนมากจะเกิดด้านบนของใบมากกว่าด้านล่างของใบ เมื่อข้าวโพดเป็นโรคในระยะแรกๆ จะพบเป็นจุดนูนเล็กๆ ต่อมาแผลจะแตกออก มองเห็นเป็นผงสีสนิมเหล็ก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคราสนิมนั่นเอง
วิธีการป้องกันและรักษา
1.เลือกใช้ข้าวโพดที่ต้านทานโรค
2.กำจัดวัชพืชและต้นข้าวโพดที่เป็นโรค โดยการเผาทำลาย และนำออกไปทิ้งนอกแปลงปลูก
3.ฉีดพ่นด้วยสาร ไดฟิโนโคนาโซล (สกอร์) หรือ แมนโคเซบ(โปรมาเซป) หรือ คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) หรือ อะซอกซีสโตรบิน(อมิสตา) ทุกๆ 7 วัน
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ
กดปุ่ม ADD FRIEND ด้านล่างเลย
ID Line : @uox0813g
Facebook : www.facebook.com/kasetsomboonstore
Facebook : fb.me/kasetsomboonstore
ติดต่อเรา