วิธีใช้ สารจับใบ อย่างถูกวิธี !

สารจับใบคืออะไร ทำไมถึงต้องใช้สารจับใบ

สารจับใบ เป็นสารช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำ ซึ่งจะใช้ร่วมกับสารเคมี(ปุ๋ยยา) มีผลทำให้ละอองสารเคมีที่ฉีดมีขนาดเล็ก กระจายทั่วต้นได้ดี แห้งไวขึ้น ช่วยให้สารเคมีเกาะกับผิวใบ แต่ไม่รวมตัวกันเป็นหยดแล้วไหลออกจากใบ(พูดง่ายๆคือช่วยให้สารเคมีที่ฉีดเกาะผิวใบดีขึ้น) ช่วยให้ซึมเข้าใบได้ดีและเร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ย ยา และยังช่วยป้องกันการอุดตันของหัวฉีดอีกด้วย  

ประโยชน์ของสารจับใบ

  1. เพิ่มประสิทธิของสารเคมี เพราะสารจับใบไปทำให้สารเคมีที่ใช้ร่วม มีละอองเล็ก ทำให้สารเคมีกระจายไปทั่วต้น เข้าไปในทรงพุ่มของต้นไม้ได้ดี และทำให้สารเคมีดังกล่าวจับใบแล้วดูดซึมได้ดี
  2. ช่วยประหยัดค่าสารเคมี ลดการสูญเสียเคมีจากลม ฝน และการระเหยของสารเคมี เพิ่มอายุ และประสิทธิภาพของสารเคมี เนื่องจากสารจับใบ ไปทำให้สารเคมีแห้งไว และเกาะแน่นกับผิวใบ ไม่โดนชะออกได้ง่าย
  3. ลดการใช้สารเคมีลง เนื่องจากสารเคมีไม่รวมตัวเป็นหยด และสามารถเห็นการจับติดใบของสารเคมีได้ด้วยตาเปล่า ทำให้ไม่ต้องฉีดพ่นสารเคมีจนใบเปียกโชก เกินความจำเป็น แล้วไหลสูญเสียไป และใช้สารเคมีในความเข้มข้นที่ต่ำลงได้
  4. ลดการสูญเสียของสารเคมี ที่ไม่สามารถจับติดใบพืชและตัวแมลงได้ โดยสารจับใบจะไปลดแรงตึงผิวของละอองสารเคมี ทำให้สารเคมีที่ฉีดพ่นเกาะกับผิวใบได้ดีขึ้น ช่วยให้สารเคมีที่ฉีดถูกดูดซึมเข้าสู่พืชได้มากขึ้น
  5. ช่วยลดการอุดตันของหัวฉีด ส่งเสริมการการะจายตัวของสารเคมี ทำให้ไม่เกิดตะกอน ส่งผลให้ท่อและหัวฉีดไม่อุดตัน
  6. ทำให้พืชไม่เป็นคราบจากสารเคมีที่ใช้

การเลือกใช้สารจับใบ

ในท้องตลาดจะมีสารจับใบหลายเกรด หลายราคา จึงควรพิจารณาจากคุณสมบัติของสารจับใบ ความเหมาะสมกับสารเคมี(ปุ๋ยยา)ที่เราจะฉีดร่วมด้วย อัตราการใช้ และสารเพิ่มประสิทธิภาพ  ซึ่งมีมากมายหลายชนิด อาจแบ่งได้คร่าวๆ ดังนี้

  1. สารจับติด (stickers หรือ sticking agents) ช่วยให้สารเคมีที่เราฉีดร่วม เกาะติดแน่นอยู่บนใบ จึงทำให้สารเคมีดังกล่าวไม่ถูกน้ำฝนชะออกไป เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับสารเคมีที่ออกฤทธิ์สัมผัส ไม่เน้นดูดซึม หรือพวกสารชีวภัณฑ์
  2. สารแพร่กระจาย (spreader) จะไปลดแรงตึงผิวของน้ำยาลง ทำให้น้ำยาแผ่กระจายไปทั่วผิวใบอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ถูกดูดซึมเข้าใบพืชได้มาก เนื่องจากมีพื้นผิวสัมผัสมาก เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับสารเคมีประเภทดูดซึม เช่น สารจับใบ เบสมอร์ ได้มีการเพิ่มสารแผ่กระจายและสารจับติด ทำให้อนุภาคของสรเคมีที่ฉีดพ่นมีขนาดเล็ก ละลายเข้ากับน้ำได้ดี ทำให้น้ำยาแผ่กว้าง ทั่ว สม่ำเสมอ เกาะแน่นกับผิวของพืชหรือแมลง
  3. สารแทรกซึม (penetrater) เร่งประสิทธิภาพการดูดซึมผ่านผิวใบให้เร็วยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับสารเคมีที่เคลื่อนย้ายได้ยาก ซึมยาก

นอกจากนั้นยังมีสารทดแทนสารจับใบ ซึ่งเป็นกลุ่มสารที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน พวกไวท์ออยล์ พาราฟินออยล์ มิเนอรอลออยล์ ที่จะใช้กับสารกำจัดแมลง เช่น สารจับใบ เอส 995 ซึ่งเป็นสารน้ำมันธรรมชาติ ที่สกัดจากพืช บริสุทธิ์ 99.5% จะเข้าอุดรูหายใจของแมลง คุมไข่หนอน และยังออกฤทธิ์เสริมสารเคมีกำจัดแมลงอีกด้วย

ใช้น้ำยาล้างจานแทนสารจับใบได้หรือไม่

ใช้ได้ เนื่องจากน้ำยาล้างจานก็มีคุณสมบัติในการลดแรงตึงผิวเช่นกัน จึงช่วยให้น้ำยาติดกับใบได้มากขึ้น แต่มีประสิทธิภาพที่น้อยกว่าสารจับใบ ที่มีคุณสมบัติที่เฉพาะกว่า และมีสารเสริมประสิทธิภาพต่างๆ แต่ไม่ควรใช้น้ำยาล้างจานผสมกับสารชีวภัณฑ์เพราะน้ำยาล้างจาน อาจไปยับยั้งการเจริญหรือประสิทธิภาพการทำงานของสารชีวภัณฑ์ได้ จึงก่อให้เกิดความสิ้นเปลือง อีกทั้งสารจับใบมีค่า pH เป็นกลาง จึงสามารถใส่กับน้ำยาอะไรก็ได้ ทั้งที่มีค่าเป็นกรดและด่าง แต่น้ำยาล้างจานนั้นมีความเป็นด่าง อาจมีผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำยาที่ผสมได้ จนทำให้น้ำยาที่ใช้มีประสิทธิภาพที่ลดลง     จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นประโยชน์มากมายของสารจับใบ แต่หากจะใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ควรใช้อย่างถูกวิธี ตามคำแนะนำที่ฉลาก ทั้งจะไม่ทำให้สิ้นเปลือง แล้วยังไม่ก่อผลเสียกับพืชอีกด้วย หากใช้มากเกินความจำเป็น อาจก็ให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะอาจไปทำลายไขที่เคลือบผิวใบอยู่ ทำให้ใบบาง แล้วถูกโรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่าย  

แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีใช้ สารจับใบ อย่างถูกวิธี เพิ่มเติม

เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ 

ID Line : @uox0813g

Facebook : www.facebook.com/kasetsomboonstore

Facebook : fb.me/kasetsomboonstore

Facebook Comments

One thought on “วิธีใช้ สารจับใบ อย่างถูกวิธี !

  1. พลอยไพริณ เชิดชู says:

    ขอสอบถามหน่อยค่ะ ถ้าเราใช้สารจับใบในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ใบของพืชหยิกงอมั้ยคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *