โรคและแมลงของแตงกวา ที่คนปลูกแตงต้องรู้ !

พืชตระกูลแตง (Cucurbitaceae) ที่ปลูกเพื่อการค้า เช่น แตงกวา แตงโม แคนตาลูป มะระ ฟักทอง แฟง จะมี โรคและแมลงของแตงกวา และพืชตระกูลแตง ที่ระบาดสำคัญ ที่พบเป็นประจำ และเข้าทำลายพืชตระกูลแตงเกือบทุกชนิด โดยส่วนใหญ่จะมีอาการของโรคที่คล้ายกัน เมื่อแบ่งตามฤดูกาล จะมีโรคที่มีแนวโน้มที่จะระบาดตามฤดูนั้น ๆ โดยแบ่งได้ตามนี้ โรคและแมลงของแตงกวา

 โรคของแตงกวา และพืชตระกูลแตง

  • โรคราน้ำค้าง

แตงกวา พบอาการบนใบ มักพบมีแผลเหลี่ยมเล็กสีเหลืองชัดเจน ในขอบเขตเส้นใบ ในบางสายพันธุ์แผลอาจเป็นสีขาวหรือเทา ต่อมาใบจะเหลืองแห้งไป แตงโม แคนตาลูป แผลจะเกิดในขอบเขตเส้นใบเช่นเดียวกับแตงกวา แต่ไม่ชัดเจนเท่า จะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก และความหวานลดลง หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม โรคจะระบาดรวดเร็ว ทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น พบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีเทาดำตรงแผลใต้ใบ มักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็วเมื่อช่วงกำลังให้ผล ทำให้เถาตายก่อนที่ผลจะสุกแก่พร้อมเก็บเกี่ยว ตำลึง บวบ ฟักทอง ฟักข้าว ไม่ค่อยพบการระบาดของโรคราน้ำค้าง  

โรคราน้ำค้างของแตงกวา

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญ ระบาดมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว ยิ่งมีความต่างของอุณหภูมิต่ำในเวลากลางคืน และอุณหภูมิสูงในเวลากลางวัน ยิ่งทำให้อาการของโรครุนแรง

วิธีป้องกันกำจัด

 

  • โรคราแป้ง

มีอาการคล้ายกันในทุกพืชตระกูลแตง แต่จะพบระบาดมากใน แคนตาลูป และ แตง จะพบผงฝุ่นสีขาวได้ทุกส่วนของพืช แต่เห็นได้ชัดคือด้านบนใบ และแผ่ขยายจนเต็มใบ โดยอาการเริ่มแรกจะเกิดที่ใบแก่ หรือส่วนล่างของต้นก่อน หากมีอาการรุนแรงใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลุกลามไปทั่วและต้นแห้งตายในที่สุด

  โรคราแป้งของแตงกวา

 

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญ  ระบาดมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว ถ้าใบพืชแห้ง และอากาศมีความชื้นสูง ยิ่งระบาดรุนแรง

วิธีป้องกันกำจัด

  • เลือกปลูกพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคราแป้ง
  • บำรุงให้พืชสมบูรณ์ จัดการให้แปลงปลูกมีการถ่ายเทอากาศที่ดี
  • ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น สารกลุ่ม 1 – เบโนมิล คาร์เบนดาซิม กลุ่ม 3 –เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) ไดฟีโนโคนาโซล(อลิซ) กลุ่ม 7 – ฟลูโอไพแรม กลุ่ม 11 – อะซอกซีสโตรบิน(สโตบิน) หรือสารผสมของสารในกลุ่มเหล่านี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่องสารเคมีป้องกันกำจัดโรคได้ที่ แนะนำสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช และวิธีการสลับยา(ป้องกันการดื้อยา)

 

  • โรคต้นแตกยางไหล

เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับโรคราแป้ง ถ้ามีการเข้าทำลายของโรคราแป้งก่อน จะทำให้เกิดโรคยางไหลได้ง่ายขึ้น ใบ ส่วนมากมีอาการที่ขอบใบ มีอาการช้ำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายเข้ามาในเนื้อใบ  แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล ขอบแผลชัดเจน ใบม้วนงอ ลำต้น และกิ่ง เป็นแผลช้ำยาว และขยายจนรอบลำต้น และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ ทำให้ต้นแตกตามยาว และมียางเหนียวสีเหลืองหรือแดงออกมาตามรอยแตก เถา จะเหี่ยว เห็นเป็นอาการระยะสุดท้าย จะแสดงอาการเหี่ยวตายหลังเชื้อเข้าทำลายไปแล้ว 4 สัปดาห์ ผล ผลอ่อน จะเห็นเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลฉ่ำน้ำ เมื่อผลอายุมากขึ้น จุดจะมีสีเข้มขึ้น  

โรคต้นแตกยางไหลของแตงกวา

 

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญ  มีการระบาดมากในฤดูฝน หรือมีน้ำค้างมาก

วิธีป้องกันกำจัด

  • ป้องกันไม่ให้เชื้อเข้ามาสู่แปลงปลูก โดยเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค
  • ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น สารกลุ่ม 1 – เบโนมิล คาร์เบนดาซิม กลุ่ม 3 – เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) ไดฟีโนโคนาโซล(สกอร์) กลุ่ม 7 – ฟลูโอไพแรม กลุ่ม 11 – อะซอกซีสโตรบิน(อมิสตา) หรือสารผสมของสารในกลุ่มเหล่านี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่องสารเคมีป้องกันกำจัดโรคได้ที่ แนะนำสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช และวิธีการสลับยา(ป้องกันการดื้อยา)
  • สวนที่ให้น้ำแบบพ่นฝอย ถ้ามีการระบาดของโรค ควรหยุดการให้น้ำแบบพ่นฝอย
  • ควรมีการป้องกันกำจัดโรคราแป้งควบคู่กันไปด้วย

 

  • ผลเน่า

เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา โดยจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ผลเน่าที่เกิดจากแบคทีเรีย เป็นโรคที่รักษาได้ยาก จึงควรเน้นไปที่ป้องกันการเกิดโรคก่อนที่จะเป็นโรค มักจะเห็นอาการก่อนเก็บผลประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีการเข้าทำลายของเชื้อตั้งแต่ผลยังเล็ก และมีการพัฒนาเชื้อไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาผล ต้นกล้า เกิดจุดฉ่ำน้ำที่หลังใบเลี้ยง ในระยะแรกจะสังเกตเห็นได้ยาก ต่อมาจะเห็นจุดฉ่ำน้ำชัดขึ้นที่ด้านบนใบ เป็นจุดสีน้ำตาลมีวงสีเหลืองล้อมรอบ หากรุนแรงใบจะร่วงและต้นกล้ายุบตายในที่สุด ใบ ในระยะต้นโต จะเห็นเป็นแผลสีน้ำตลแห้ง รอยแผลไม่แน่นอน เส้นใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มักเกิดอาการที่ขอบใบก่อน ผล เป็นจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ วาว คล้ายปื้นน้ำมัน ต่อมาจะลุกลามเข้าไปในผล ทำให้ผลแตก เนื้อเน่า และหล่นในที่สุด  

โรคผลเน่าของแตงกวา

การแพร่ระบาด มักพบในระยะกล้า และระยะติดผล  มีการระบาดมากในฤดูฝน

วิธีป้องกันกำจัด

  • เลือกเมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค เนื่องจากเชื้อสามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้
  • คัดต้นกล้าที่มีอาการผิดปกติตั้งแต่ที่ใบเลี้ยง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเชื้อเข้าสู่แปลงปลูก
  • อาจใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา กลุ่มทองแดงเป็นระยะ เพื่อควบคุมการพัฒนาของเชื้อ

ผลเน่าที่เกิดจากเชื้อรา เกิดได้จากเชื้อราหลายชนิด เช่น Fusarium sp. (พบมากในแคนตาลูป) Pythium sp. (พบมากในแตงกวาและแตงโม) มักเกิดจากการที่ผลห้อยต่ำ อยู่ใกล้กับพื้นดิน ทำให้เชื้อเข้าทำลายบริเวณปลายผล ผลเน่าจากเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium sp.) จะเกิดเป็นแผลบุ๋ม เข้าไปในเนื้อ หากมีความชื้นมากอาจพบเส้นใยสีขาวฟูที่บริเวณแผล  

 

โรคผลเน่าของแตงกวา

 

ผลเน่าจากเชื้อราพิเที่ยม (Pythium sp.) จะเกิดอาการช้ำ ฉ่ำน้ำ เน่าเละ ผลผลิตเสียหาย อาจเห็นเส้นใบสีขาวปกคลุมบริเวณแผล 

โรคผลเน่าของแตงกวา

การแพร่ระบาด พบในระยะติดผลจนถึงก่อนเก็บผลผลิต  มีการระบาดมากในฤดูฝน

วิธีป้องกันกำจัด

  • ปรับปรุงดินด้วยปูนขาว เพื่อลดปริมาณเชื้อในดิน
  • ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในดิน
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้ผลอยู่ใกล้ระดับดิน เพื่อลดการที่เชื้อราจะเข้าทำลายผลได้
  • ถ้าเกิดจากเชื้อรา Pythium ใช้สารป้องกันกำจัดโรค เช่น สารกลุ่ม 4 – เมทาแลกซิล(ลอนซาน 35) กลุ่ม 22 – อีทาบอกแซม(โบคุ่ม) กลุ่ม 27 กลุ่ม 33 หรือสารผสมของสารในกลุ่มเหล่านี้
  • ถ้าเกิดจากเชื้อรา Fusarium ใช้สารป้องกันกำจัดโรค กลุ่ม 14 หรือสารผสมของสารในกลุ่มเหล่านี้

 

  • โรคเหี่ยว

เกิดได้จากเชื้อราหลายชนิด เช่น เชื้อรา Fusarium เชื้อรา Sclerotium rofsii โรคเหี่ยวเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium sp.) ถ้าเชื้อเข้าทำลายในระยะกล้า ใบเลี้ยงเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และอาจเน่ายุบ ในระยะโต ใบจะเริ่มเหลืองจากใบล่าง อาจเริ่มเหี่ยวจากด้านเดียวก่อนแล้วจึงลุกลามทั่วต้น ที่โคนอาจพบรอยแตกตามยาวของลำต้น เมื่อผ่าต้นจะพบเส้นใยเชื้อราในท่อลำเลียงพืชที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลโรคเหี่ยวของแตงกวา

โรคเหี่ยวเชื้อราสเคลอโรเที่ยม (เชื้อรา Sclerotium rofsii) ต้นจะแห้ง เหี่ยว ใบล่างแห้งเหลือง ที่โคนพบเส้นใยสีขาวและเม็ดกลมสีน้ำตาล 

โรคเหี่ยวของแตงกวา

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะ  มีการระบาดมากในฤดูฝน แต่จะมีการเจริญของโรคที่มากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น วิธีป้องกันกำจัด

  • ปรับปรุงดินด้วยปูนขาว เพื่อลดปริมาณเชื้อในดิน
  • ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในดิน
  • ใช้สารป้องกันกำจัดโรคราดดินให้ทั่ว เช่น สารกลุ่ม 14 – เทอร์ราคลอร์ หรือสารผสมของสารในกลุ่มเหล่านี้
  • เมื่อกำจัดต้นที่เป็นโรคแล้ว ราดสารป้องกันกำจัดโรคที่ต้นใกล้เคียงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

 

  • โรครากปม

มีอาการคล้ายพืชขาดน้ำ จะเห็นอาการเหี่ยวในเวลากลางวัน แม้จะรดน้ำอย่างเพียงพอ ใบล่างเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือแห้งกรอบ โตช้า แคระแกร็น และเหี่ยวแห้งตายในทที่สุด เมื่อต้นขึ้นมา จะพบรากเป็นปุ่มปมที่เกิดจากไส้เดือนฝอย  

รูปภาพ : ต้นพืชที่เป็นโรครากปม

โรครากปมของแตงกวา

รูปภาพ : รากที่เกิดปุ่มปมจากการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอย

โรครากปมของแตงกวา

 

การแพร่ระบาด มักรุนแรงในพื้นที่ดินทราย อากาศร้อน

วิธีป้องกันกำจัด

  • กำจัดต้นที่เป็นโรคออกจากแปลง โดยเฉพาะส่วนราก
  • ตรวจสอบต้นกล้า ก่อนย้ายปลูก และทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรหลังใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้นำไส้เดือนฝอยเข้าแปลงปลูก
  • ใช้ยา ฟูราดาน รองก้นหลุม

 

  • โรคใบด่างแตง

    เกิดจากเชื้อไวรัส Cucumber mosaic virus) หรือ CMV

ต้นกล้า อาจทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ใบเลี้ยงเหี่ยวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและตายในที่สุด ใบ มีขนาดเล็กลง ด่าง ย่น ขอบใบม้วน ต้นแคระแกร็น ปล้องที่ยังไม่แก่จะไม่ขยาย ใบที่ยอด จะแตกใหม่ออกเป็นใบเล็กๆ ฝอยๆ ใบแก่จะเหลืองและแห้งตาย ผล มีอาการด่างลาย เขียวซีด หรือขาวสลับกับสีเขียวเข้ม ผิวขรุขระ และอาจทำให้มีรสขม สามารถถ่ายทอดเชื้อได้โดยการสัมผัส เมล็ด และแมลงพาหะ พวกเพลี้ยอ่อน  

โรคใบด่างของแตงกบวา โรคใบด่างของแตงกบวา

 

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต

วิธีป้องกันกำจัด

  • ทำความสะอาดเครื่องมือการเกษตรทุกครั้งหลังใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสจากการสัมผัส
  • เลือกต้นตอ หรือเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื้อถือได้ หรือเป็นพันธุ์ต้านทาน
  • บำรุงให้ต้นพืชแข็งแรง เพื่อยากต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรค
  • กำจัดวัชพืชรอบ ๆ บริเวณปลูก เพราะอาจเป็นพืชอาศัยรอง ที่เพลี้ยอ่อนสามารถแฝงอยู่ได้
  • ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรค เช่น เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) อิมิดาคลอพริด(ไบรด้า) คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น

  นอกจากเชื้อไวรัส CMV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดในพืชตระกูลแตง ยังมีเชื้อไวรัสอื่น ๆ อีกด้วย แต่สามารถจำแนกได้ยาก ว่าเป็นเชื้อสาเหตุใด โดยส่วนใหญ่จะมีอาการของโรคที่คล้ายคลึงกัน เช่น อาการด่าง ใบหงิกงอ ขอบใบม้วน ยอดใบแตกเป็นพุ่มฝอย ผลมีลักษณะรูปร่างผิดปกติ ต้นแคระแกร็น ซึ่งมีวิธีการป้องกันกำจัดที่คล้ายคลึงกัน อาจแตกต่างกันไปบ้างในพวกของแมลงพาหะ  

แมลงศัตรูพืชของแตงกวา และพืชตระกูลแตง

นอกจากแมลงที่เป็นพาหะของโรคต่าง ๆ แล้วแมลงที่สำคัญที่จะต้องป้องกันกำจัดอีกพวกก็คือ แมลงศัตรูแตง ที่จะเข้าทำลายพืชโดยการดูดกิน หรือกัดกินพืชตระกูลแตงให้เกิดความเสียหาย ดังนี้

  • เพลี้ยไฟ

เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ จะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติ ใบเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง  

รูปภาพ : เพลี้ยไฟเพลี้ยไฟ

รูปภาพ : พืชที่ถูกเพลี้ยไฟเข้าทำลาย
เพลี้ยไฟ

 

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญของพืช มีการระบาดมากในช่วงแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง

การป้องกันกำจัด

 

  • เพลี้ยอ่อน

เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดำและมีปีก จะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนำไวรัสด้วย  

เพลี้ยอ่อน

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญของพืช มีการระบาดมากในช่วงแล้ง อากาศร้อนและแห้ง

การป้องกันกำจัด

 

  • แมลงหวี่ขาว

เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ตัวอ่อนกลมรี สีเหลืองปนเขียว แบนราบติดกับผิวใบไม้ ตัวเต็มวัยมีสีขาว มักหลบซ่อนหากินอยู่ใต้ใบ สามารถกัดกินพืชได้ทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทําให้ใบพืชหงิกงอ ขอบใบม้วน เป็นจุด ซีดด่าง ชะงักการเจริญเติบโต และแคระแกร็น มีผลต่อการออกดอกติดผล ที่สำคัญคือสามารถเป็นพาหะนำโรคไวรัสด้วย  

แมลงหวี่ขาว

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญของพืช พบมากช่วงหลังย้ายกล้ามี ระบาดมากในช่วงแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง

การป้องกันกำจัด

 

  • หนอนชอนใบ

แมลงวันหนอนชอนใบเพศเมียวางไขใต้ผิวใบ ตัวหนอนมีลักษณะหัวแหลมท้ายป้านโดยชอนไชภายในใบ ท่าให้เกิดรอยเส้นสีขาว ถ้าระบาดรุนแรง ใบจะร่วง   หนอนชอนใบ      ที่มารูปภาพ : http://picssr.com/tags/leafminer

การแพร่ระบาด มีการระบาดมากในช่วงที่อากาศร้อน และชื้น

การป้องกันกำจัด

 

  • ด้วงเต่าแตง เป็นแมลงปากกัด ตัวเต็มวัยจะกัดกินทั้งใบอ่อนและใบแก่ของต้นแตง ที่พบในแปลงปลูก มักมีแดงและสีดำ ตัวอ่อนกัดกินราก กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโต และเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และโรคราน้ำค้าง

  ด้วงเต่าแตง

 

การแพร่ระบาด เข้าทำลายตั้งแต่ระยะกล้าไปจนถึงระยะดอก กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโต

การป้องกันกำจัด

  ที่มาของ โรคและแมลงของแตงกวา ที่คนปลูกแตงต้องรู้ ! : หนังสือ โรคพืชผักและการป้องกันกำจัด และ กรมส่งเสริมการเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีปลูกแตงกวา ฉบับจับมือทำ , 3 วิธี กำจัดเพลี้ยไฟ ให้อยู่หมัด , 4 เคล็ดลับสำคัญในการเลือก เมล็ดพันธุ์ผัก ที่คนปลูกผักต้องรู้

แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม เกี่ยวกับ โรคและแมลงของแตงกวา และพืชตระกูลแตง

เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ 

ID Line : @uox0813g

Facebook : www.facebook.com/kasetsomboonstore

Facebook : fb.me/kasetsomboonstore

 

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *