โรคของถั่วฝักยาว ที่มากับฝน
ถ้าพูดถึงฝนกับถั่ว กระผมว่าเป็นคู่อริกันนะครับ ในน้ำฝนมีไนโตรเจนปริมาณสูง ส่งผลให้ถั่วบ้าใบ ยอดพุ่งกว่าปกติ ผลผลิตน้อยลงเนื่องจากสร้างดอกน้อยลง ไว้มีโอกาศกระผมจะนำวิธีแก้ไขปัญหานี้มาฝากทุกๆคนนะครับ เช่นเดียวกับพืชชนิดอื่นๆ ฝนให้ทั้งประโยชน์และโทษ น้ำฝนปริมาณที่มากเกินไป ก็สร้างความชื้น เหมาะแก่การเจริญของเชื้อราโรคพืช ไนโตรเจนในน้ำฝนส่งผลให้ถั่วฝักยาวเปราะ เป็นโรคได้ง่าย และช่วงเวลาฝนตกก็เป็นการยากสำหรับฉีดยาอีกด้วย แต่ถ้าได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ก็ถือว่าเป็นปุ๋ยดีๆนี่เองขอรับ
โรคของ ถั่วฝักยาว ที่พบบ่อยในหน้าฝน
มีไม่มากแค่ 2 โรค แต่เจอเป็นประจำ !
โรคราสนิม
อาการ
พบแผลจุดสีเหลืองอ่อน กลางแผลพบจุดนูนสีน้ำตาลแดง ต่อมาแผลจุดนูนจะนูนใหญ่และแตกออกเป็นผงสนิม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคราสนิมนั่นเอง ปกติเกิดกับใบแก่ก่อน จากนั้นจึงลามทั่วต้น หากอาการหนักจะพบแผลจำนวนมากติดกันเป็นผืนใหญ่ ต่อมาใบจะเหลืองและหลุดร่วงในที่สุด
วิธีป้องกันกำจัด
- ตัดใบ(ที่เป็นโรคไป)ทิ้งนอกไร่ หรือเผาทำลาย
- จัดการแปลงให้โปร่ง อากาศถ่ายเทอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงการรดน้ำช่วงเย็น เนื่องจากส่งผลให้สภาพโดยรอบอับชื้น เหมาะแก่การเจริญเติบโตของโรค
- เว้นระยะปลูกให้เหมาะสม ไม่แออัดจนเกิดไป
- ปลูกพืชหมุนเวียน ตัดวงจรโรค หากแปลงไหนมีการระบาดหนัก ควรงดปลูกพืชตระกูลถั่วประมาณ 2 – 3 ปี
- ฉีดพ่น ด้วยยาสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราที่เก่งราสนิม
- ฉีดป้องกัน เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก) หรือ คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) หรือ ไดฟีโนโคนาโซล(สกอร์) เป็นต้น
- ฉีดรักษา เช่น ไตรอะดีมีฟอส เป็นต้น
ปล. สลับยา ทุกๆการฉีด(ทางที่ดีไม่ควรฉีดติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง)
โปรโมชั่นพิเศษ ยา โรคราสนิม ในถั่วฝักยาว คลิ๊ก
)
โรคใบจุด
พบแผลจุดสีน้ำตาลแดงลักษณะกลมหรือเหลี่ยม กลางแผลมีจุดวงกลมเล็กๆซ้อนกันหลายวง ล้อมรอบด้วยวงสีเหลือง ใต้ใบพบเส้นใยของเชื้อราลักษณะปุยสีน้ำตาล ปกติจะเกิดที่ใบแก่ของถั่วฝักยาวก่อน(ใบล่าง) ต่อมาจึงลามไปทั่วต้น หากอาการหนักจะทำให้ใบถั่วแห้งกรอบและร่วง ถั่วฝักยาวหยุดการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
วิธีป้องกันกำจัด
- ตัดใบ(ที่เป็นโรค)ไปทิ้งนอกไร่ หรือเผาทำลาย
- จัดการแปลงให้โปร่ง อากาศถ่ายเทอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงการรดน้ำช่วงเย็น เนื่องจากส่งผลให้สภาพโดยรอบอับชื้น เหมาะแก่การเจริญเติบโตของโรค
- เว้นระยะปลูกให้เหมาะสม ไม่แออัดจนเกิดไป
- ฉีดพ่น ด้วยยาสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราที่เก่งใบจุดของถั่วฝักยาว เช่น คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) หรือ อะซอกซีสโตรบิน(อมิสตา) หรือ ไดฟีโนโคนาโซล(สกอร์) หรือ โพรคลอราซ(เจอราจ) เป็นต้น
ปล. สลับยา ทุกๆการฉีด(ทางที่ดีไม่ควรฉีดติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง)
โปรโมชั่นพิเศษ ยา โรคใบจุด ในถั่วฝักยาว คลิ๊ก
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม เกี่ยวกับ โรคของถั่วฝักยาว ที่มากับฝน
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ
Pingback: โปรโมชั่น ถั่วฝักยาว ฤดูฝน - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี
Pingback: โปรโมชั่น ถั่วฝักยาว ฤดูฝน - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี
Pingback: โปรโมชั่น แตงกวา ฤดูฝน - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี
Pingback: ปลูกถั่วฝักยาว สร้างรายได้ยั่งยืน - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี ปลูกถั่วฝักยาว ปี2564