โรคของแตงกวา ที่มากับฝน
ฝนเป็นทั้งอาหารของแตงกวา และแหล่งไนโตรเจนชั้นดี เคยสังเกตุไหมครับ หลังฝนตก แตงกวาจะเจริญงอกงาม และแตกแขนงได้ดี ต้นและใบเขียว โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ย
ในทางกลับกัน หากได้รับปริมาณน้ำฝนมากจนเกินไป อาจทำให้แตงกวาอวบน้ำ ลำต้นเปราะบาง เป็นเหตุให้เชื้อสาเหตุโรคพืชต่างๆเข้าทำลายได้ง่าย ที่สำคัญหากน้ำท่วมขังรากของแตงกวาเป็นเวลานานก็เป็นไปได้สูงที่เชื้อสาเหตุโรคพืชบางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำได้ เช่น โรคเน่าคอดิน ซึ่งเหตุนี้จะส่งผลให้เชื้อดังกล่าวเข้าทำลายได้ง่ายอีกเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น เกษตรกรผู้ปลูกแตงกวา และแตงร้านทุกคน ควรจะรู้จักโรค และวิธีป้องกัน เมื่อเข้าสู่หน้าฝน
โรคของแตงกวาที่พบบ่อยในหน้าฝน
สามารถแบ่งได้ตามระยะการเข้าทำลาย ได้ทั้งหมด 2 ระยะ ดังนี้
โรคของแตงกวาที่เข้าทำลายระยะกล้า
โรคเน่าคอดิน
อาการ
ต้นกล้าเน่า โคนต้นกล้าถูกเชื้อเข้าทำลายมีแผลฉ่ำน้ำที่โคนต้น ต้นกล้าฟุบ หักพับลง อาจพบเชื้อสาเหตุโรคตามดินหรือแผลบนพืช ซึ่งมีลักษณะเส้นใยสีขาว
การแพร่ระบาด
พบมากในแปลงที่ปลูกแน่นกันเกินไป ความชื้นสูง ดินระบายน้ำได้ไม่ดี ซึ่งฝนก็ยังเป็นปัจจัยหลักๆ ที่สร้างความชื้น และนำพาเชื้อตัวนี้ ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดเชื้อ ในฤดูฝนจึงเกิดโรคนี้ได้ง่าย
วิธีป้องกัน
- คลุกเมล็ดด้วย ไทแรม(ไธอะโนซาน) หรือ เมทาแลกซิล เป็นต้น
- วางแผน จัดการแปลงให้ดี เช่น สร้างทางระบายน้ำ เป็นต้น
- ฉีดพ่น ด้วยยาป้องกันราชั้นต่ำ เช่น เมทาแลกซิล หรือ แมนโคเซป(ฮัมบรูก) หรือ ไทแรม(ไธอะโนซาน) เป็นต้น
- ปล. สลับยา ทุกๆการฉีด(ทางที่ดีไม่ควรฉีดติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง)
โปรโมชั่นพิเศษ ยา โรคเน่าคอดิน ในแตง คลิ๊ก
โรคของแตงกวาที่เข้าทำลายในระยะปลูก
โรคราน้ำค้าง
อาการ
พบแผลเหลี่ยมเล็กสีเหลืองชัดเจน ขึ้นเป็นปื้นติดกันบนใบ ใต้ใบพบเส้นใยของเชื้อราสีเทาดำ หากอาการหนักใบจะเหลืองแห้งและตายในที่สุด การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญ ระบาดมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว ในเฉพาะช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ หรือเข้าฤดูหนาวของประเทศไทย
วิธีป้องกันกำจัด
- จัดการแปลงปลูกให้โปร่งมีการอากาศถ่ายเท
- เมื่อแตงเริ่มให้ผลผลิต หมั่นตัดแต่ใบแก่ เพื่อให้อากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น
- ฉีดพ่น ด้วยยาสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา ตัวที่เก่งราน้ำค้าง เช่น ไดเมโทมอร์ฟ(โธมาส) หรือ อีทาบอคแซม(โบคุ่ม) หรือ ไซม็อกซานิล+แมนโคเซบ(เคอร์เซท) เป็นต้น
ปล. สลับยา ทุกๆการฉีด(ทางที่ดีไม่ควรฉีดติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง)
โปรโมชั่นพิเศษ ยา โรคราน้ำค้าง ในแตง คลิ๊ก
โรคเหี่ยวเหลือง
อาการ
ในระยะกล้า ใบเหลือง และอาจเน่ายุบ ในระยะปลูก ใบเหลืองจากใบแก่สู่ยอด เริ่มเหี่ยวเพียงด้านเดียว ต่อมาจะลุกลามทั่วต้น ที่โคนพบรอยตามลำต้น เมื่อผ่าต้นจะพบเส้นใยสีน้ำตาลในท่อลำเลียงของแตงกวา
การแพร่ระบาด
ระบาดมากในฤดูฝน แต่จะลุกลามได้ไวในอุณหภูมิสูง
วิธีป้องกันกำจัด
- จัดการแปลงปลูกให้โปร่งมีการอากาศถ่ายเท
- เมื่อแตงเริ่มให้ผลผลิต หมั่นตัดแต่งใบแก่ เพื่อให้อากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น
- แช่เมล็ด ด้วย คาร์เบนดาซิม(อาเค่น) ก่อนปลูก
- ฉีดพ่น ด้วยยาสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา ตัวที่เก่งโรคเหี่ยว เช่น คาร์เบนดาซิม(คาร์วิน) หรือ เบโนมิล หรือ โพรคลอราซ(เจอราจ) เป็นต้น(ใส่ผสมกันยิ่งดี)
ปล. สลับยา ทุกๆการฉีด(ทางที่ดีไม่ควรฉีดติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง)
โปรโมชั่นพิเศษ ยา โรคเหี่ยวเหลือง ในแตง คลิ๊ก
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม เกี่ยวกับ โรคของแตงกวา ที่มากับฝน
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ
ID Line : @uox0813g
Facebook : www.facebook.com/kasetsomboonstore
Facebook : fb.me/kasetsomboonstore
Pingback: โปรโมชั่น แตงกวา ฤดูฝน - ร้านเกษตรสมบูรณ์ ราชบุรี