วิธีปลูก มะเขือเปราะ
มะเขือเปราะเป็นผักสวนครัวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำไปประกอบอาหาร หรือกินแกล้มคู่กับมื้ออาหารก็ตาม เนื่องจากมีคุณประโยชน์หลายอย่างเช่น ย่อยอาหาร ขับลม นอกจากนี้มะเขือเปราะยังเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย นำไปขายรายได้ดี ไม่ต้องการการดูแลจากเกษตรมากเท่าใดนัก เจริญเติบโตดี และสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก มะเขือเปราะ แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
- ปลูกได้ในดินทุกชนิด
- ปลูกได้ทั้งปี
การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ ในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ เลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่ดี ทนทานต่อโรค สภาพแวดล้อม ลำต้นมีความแข็งแรง เช่น มะเขือเปราะ หยาดทิพย์ ตราศรแดง, มะเขือเปราะ พูนเพชร, มะเขือเปราะ น้ำหยดราชบุรี ตราตะวันต้นกล้า หรือ มะเขือเปราะ ดาวิกา ตราศรแดง เป็นต้น
การเตรียมดิน – สำหรับแปลงเพาะกล้า นำดินละเอียดผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตราส่วน 2:1 – สำหรับแปลงปลูก ทำการไถหน้าดินประมาณ 15-30เซนติเมตร แล้วทำการย่อยดิน จากนั้นหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้ทั่วดิน ทำการยกร่องสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตร
การเพาะกล้า
- ใช้ไม้จิ้มฟันกดลงบนดินเพาะกล้าที่เตรียมไว้
- หยอดเมล็ดลงในหลุ่ม 1-2 เมล็ด
- กลบหน้าหลุมด้วยดิน หลังจากนั้นโรยปูนขาวรอบๆภาชนะที่ทำการเพาะกล้า
- เมื่อต้นกล้าเริ่มงอก ประมาณ 7-10 วัน ให้เริ่มรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง เช้าเย็น จนกระทั่งต้นกล้ามีอายุ 25-30 วันจึงทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูกต่อไป
การปลูกมะเขือเปราะ
- ควรย้ายต้นกล้าเมื่อแดดร่มและไม่มีลม เนื่องจากเสี่ยงต่อการต้นหัก – ระยะห่างระหว่างแถวควรมีระยะ 100 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างต้นคือ 50-70 เซนติเมตร – ทำการกลบหลุมด้วยดิน
การดูแลรักษา
การให้น้ำ หลังจากการย้ายต้นกล้า ทำการรดน้ำทุกวัน เช้า-เย็น จนเมื่อต้นกล้าฟื้นแล้วจึงทำการรดน้ำวันละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะช่วงเวลาดอกติด ต้องรถน้ำสม่ำเสมอ อย่าให้ขาดน้ำ
การใส่ปุ๋ย
- หลังจากการย้ายกล้า 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ – เมื่อต้นมะเขือเริ่มออกดอกจะใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือสูตร 15-15-15 ในอัตราส่วน 50 กิโลกรัมต่อไร่ ทุกๆ 2 เดือน
การเก็บเกี่ยวมะเขือเปราะ
- เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อมะเขือเปราะมีอายุ 45-60 วัน โดยมะเขือเปราะจะมีขนาดเท่าลูกมะนาวหรือใหญ่กว่าเหรียญสิบเล็กน้อย – เมื่อเก็บเกี่ยวไปแล้วประมาณ 2 เดือน ให้ทำการตกแต่งกิ่ง เพื่อความแข็งแรงของต้น และเป็นการเร่งการออกดอกใหม่
โรคของมะเขือเปราะ
โรคแอนแทรคโนส
สาเหตุ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides
ลักษณะอาการ มีแผลวงกลมสีน้ตาล เรียงซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อบริเวณแผลจะยุบลงไปจากพื้นผิวปกติเล็กน้อย
การป้องกันกำจัด
- คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี แมนโคเซป(โปรมาเซบ) หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อก่อนปลูก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Strobilurin เช่น อะซอกซี่สโตบิน(อมิสตา)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก) , โพรพิเนบ(แอนทาโคล) หรือ กลุ่มอื่นๆ เช่น โพรคลอราช เป็นต้น ฉีดทุกๆ 7-10 วัน – เว่นระยะห่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท โดนแดดอย่างทั่วถึง
- ตัดกิ่งที่ติดเชื้อไปทำลายหรือเผา เพื่อลดปริมาณการแพร่ระบาด
โรคผลเน่าดำ
สาเหตุ เชื้อรา Phytophthora sp. และ Pythium sp.
ลักษณะอาการ ผลจำดำเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำเข้ม โดยเริ่มจากแผลเล็กๆจนลุกลามเน่าทั้งผล
การป้องกันกำจัด
- ปลูกต้นพริกให้มีระยะห่างที่เหมาะสม ให้มีอาหาศถ่ายเท และไม่มีน้ำขัง
- แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นานประมาณ 30 นาที
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Phenylamide เช่น เมทาแลกซิล เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก) , โพรพิเนบ(แอนทาโคล) เป็นต้น
โรคใบด่างเหลือง
สาเหตุ ไวรัส EYMV โดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ
ลักษณะอาการ เริ่มจากที่ยอดอ่อนจะเหลืองที่ละใบ หลังจากนั้นจะเหลืองทั้งต้น ผลจะมีลักษณะด่างลาย ใบจะมีสีเหลืองสลับเขียว ส่งผลต่อการเจริญเติมโตของต้น
การป้องกันกำจัด
- นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ ใ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอสซ์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ใช้ยาจับใบฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ
โรคเหี่ยว สาเหตุ เชื้อราVerticillium
ลักษณะอาการ ต้นจะมาอาการคะ หยุดการเจริญเติบโต ใบเหลืองซีดและเหี่ยว โดยจะเริ่มจากใบส่วนล่าง ลามมายังใบส่วนบน
การป้องกันกำจัด
- ปลูกพืชหมุนเวียน – ทำลายพืชที่ติดโรคโดยการเผาไฟ
- คอยระวังอย่าให้มีน้ำขังในแปลงปลูกนานๆ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก) , โพรพิเนบ(แอนทาโคล) เป็นต้น
แมลงศัตรูพืชขอมะเขือเปราะ
เพลี้ยไฟ
ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้น โดยจะทำให้ใบหรือยอดหงิก ม้วน ดอกพริกร่วงไม่ติด หรือรูปทรงผลบิดงอ
แนวทางการป้องกันกำจัด
- อย่าให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ – อย่าให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(ไฟซ์ไนซ์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส(อูดิ) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(คลอร์ไซริน)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเม็กติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น โดยทั้งหมดสามารถใส่ร่วมกับสารจับใบ(เบสมอร์) ได้
- ศึกษาเพิ่มเติมได้ 3 วิธีกำจัดเพลี้ยไฟ
แมลงหวี่ขาวยาสูบ
ลักษณะการทำลาย เป็นพาหะนำโรคไวรัส ทำให้ใบพริกหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์
แนวทางการป้องกันกำจัด
- นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
- ใช้ สารจับใบ(เบสมอร์) ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ
แมลงหวี่ขาวใยเกลียว
ลักษณะการทำลาย เป็นพาหะนำโรคไวรัส ทำให้ใบพริกหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์
แนวทางการป้องกันกำจัด
- นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(เก-เพค 70) เป็นต้น
- ใช้ สารจับใบ(เอส 995) ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ
ไรแดง
ลักษณะการทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้น ส่งผลให้ใบเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล และสีเงิน ตามลำดับ
แนวทางการป้องกันกำจัด
- หากพบการระบาด ให้ฉีดน้ำไปที่ใบเป็นประจำ
- ให้ทำลายต้นหรือก่งที่พบว่ามีไรแดงอยู่
- นำยาสูบ (ยาฉุน) จำนวน 2 ขีด ต้มในน้ำ 1 ลิตร ให้มันเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำยาสูบ เสร็จแล้วเทกาแฟดำ จำนวน 500 กรัม ลงไป แล้วคนให้เข้ากัน แล้วนำกะทิ จำนวน 1 กล่อง (250 ซีซี ผสมลงไป แล้วคนให้เข้ากัน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปฉีด ในอัตรา 1 กระป๋องกาแฟ ผสมน้ำ 20 ลิตร
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Amidine เช่น อะมิทราซ(อะไมทิช) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น ซัลเฟอร์(กำมะถันเนื้อทอง) เป็นต้น
- ใช้ สารจับใบ(เบสมอร์) ฉีดพ่นเพื่อไล่
ต้นทุนการผลิตมะเขือเปราะต่อพื้นที่ 1 ไร่
ค่าเมล็ดพันธุ์ | 700 |
ค่าเตรียมดิน | 3,700 |
ค่าแรงงาน | 2,100 |
ค่าปุ๋ย | 2,823 |
ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช | 1,000 |
รวม | 10,323 |
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก มะเขือเปราะ เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ
Pingback: วิธีปลูก มะเขือเปราะ ฉบับจับมือทำ ! - FarmerSpace