วิธีปลูก ผักบุ้ง
ผักบุ้งเป็นผักที่ปลูกง่าย ขั้นตอนการปลูกน้อย ที่สำคัญ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น โดยผักบุ้งเป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหารตามครัวเรือนและร้านอาหารต่างๆ เนื่องจากเป็นผักที่ทานง่าย นำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู และมีแคลเซียมสูง จึงเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ซึ่งทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก ผักบุ้ง แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก
แหล่งปลูกที่เหมาะสม สำหรับปลูก ปลูกผักบุ้ง
- ปลูกได้ทั้งปี
- ควรปลูกในดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย
- เป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วม
- ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกทำความสะอาดผลผลิตหลังจากเก็บเกี่ยว
การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะเมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง
ในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ บรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันความชื้อและอากาศ มีการระบุข้อมูลต่างๆไว้อย่างชัดเจนเช่น ผักบุ้งจีน ทิวไผ่งาม ตราเทวดา, ผักบุ้งจีน แชมป์เรียวไผ่ ตราแชมป์เหรียญทอง, ผักบุ้งจีน สุโก๊ย AGA ตรากบดำกบแดง, ผักบุ้งจีน เฟื่องฟูทวีคูณ(OP) ตราปลาวาฬ, ผักบุ้งจีน ไผ่ทักษิณ ตราต้นไผ่, ผักบุ้งไต้หวัน ไผ่นวลจันทร์ ตราโบว์แดง, ผักบุ้งจีน ไผ่เงิน ตราศรแดง, ผักบุ้งจีน ยอดไผ่9 ตราศรแดง เป็นต้น เมื่อได้เมล็ดแล้วให้นำเมล็ดมาแช่น้ำประมาณ 24 ชั่วโมง จากนั้นนำมาห่อด้วยผ้าอีก 48 ชั่วโมง เพื่อเร่งการงอก
การเตรียมดินสำหรับปลูกผักบุ้ง
- ไถดินลึก 10-15 เซนติเมตร
- ตากหน้าดินทิ้งไว้ 10-15 วัน
- จากนั้นไถพรวนย่อยดิน
- คลุกดินให้เข้ากับปุ๋ยหมัก
- ทำการยกร่อง กว้าง 1.5-2 เมตร และยาว 10-15 เมตร โดยเว้นระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 50 เซนติเมตร
การเพาะกล้าผักบุ้ง
ผักบุ้งไม่นิยมเพาะกล้า โดยส่วนมากใช้วิธีหว่านหรือ หยอดเมล็ด
การปลูกผักบุ้ง
- หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วแปลงปลูก
- กลบเมล็ดด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
- รดน้ำ
- คลุมแปลงปลูกด้วยฟาง
การดูแลรักษา
การรดน้ำ
รดน้ำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง
การใส่ปุ๋ย
- ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน โดยนำไปละลายน้ำ 1-2ช้อนชาต่อน้ำ 10 ลิตร รดทุกๆ 5-10 วัน
การเก็บเกี่ยว
อายุการเกี่ยวเกี่ยวประมาณ 25-30 วัน โดยมาสารถถอนทั้งรากหรือเด็ดเฉพาะยอดก็ได้ แล้วนำไปล้างน้ำให้รากสะอาดไม่มีดินติด
โรคในผักบุ้ง
โรคราสนิมขาว
สาเหตุ เชื้อรา Albugo ipomoea-aquaticae Sawada
ลักษณะอาการ ด้านบนของใบมีจุดสีเหลือง ด้านล่างจะมีตุ่มนูนเล็กๆ ลำต้นอาจมีการบวมพองโต
การป้องกันกำจัด –
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม triazole เช่น เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) หรือ ไดฟีโนโคนาโซล(สกอร์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Phenylamide เช่น เมทาแลกซิล(ลอนซาน)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคแซป(ฮัมบรูก) หรือ โพรพิเนบ(แอนทาโคล) เป็นต้น
- ดูแลระบบการให้น้ำในแปลงปลูก อย่าให้ชื้นแฉะจนเกินไป
โรคใบไหม้
สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas compestris pv.
ลักษณะอาการ ใต้ใบมีจุดตุ่มใสเล็ก ๆ ต่อมาจุดขยายออกกลายเป็นสีน้ำตาลดำ ฉ่ำน้ำ ใบจะเหลืองซีดและแห้งเหี่ยวร่วงหล่นจากต้น
การป้องกันกำจัด
- ทำการฆ่าเชื้อที่เมล็ดก่อนนำมาปลูก โดยนำไปแช่น้ำอุ่นก่อนปลูก และควรปลูกพืชอื่นหมุนเวียนบ้าง
- ใช้สารเคมีที่มีสารประกอบของทองแดง เช่น คอปเปอร์ ไฮดอรกไซด์(ฟังกูราน) ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน
- ใช้ปูนขาวอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกดินแล้วตากดินไว้อย่างน้อย 1 เดือน
แมลงศัตรูพืช
เพลี้ยอ่อน
ลักษณะการทำลาย ตัวเพลี้ยจะไปดูดน้ำเลี้ยงของต้น ทำให้ต้นพืชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด
- กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส), เพอร์เมธริน, เรสเมธริน, หรือ ไบโอเรสเมธริน เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส(อูดิ) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(เดอะ เดครัส)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล) , ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ฟาเดีย) เป็นต้น
- ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
ผีเสื้อหัวกะโหลก
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนผีเสื้อจะกัดกินใบของต้นผักบุ้ง
การป้องกันกำจัด
- หมั่นตรวจ สำรวจ และไล่ผีเสื้อ
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส)เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น คลอร์ไพริฟอส(อูดิ) หรือ โพรฟิโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น
ด้วงเต่าทองผักบุ้งลายจุด
ลักษณะการทำลาย ทั้งตัวอ่อนและตัวเตมวัยจะกัดกินเริ่มจากผิวใบ จนลึกเข้าไปในเนื้อใบ
การป้องกันกำจัด – หมั่นตรวจ สำรวจ และกำจัดทิ้ง
- ใช้น้ำส้มควันไม้ใส่ขวดเปิดฝาแล้วแขวนไว้ข้างๆ
- นำขี้ถ้าผสมปูนขาว ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน 1 คืน แล้วนำน้ำตะกอนมาฉีดเพื่อไล่แมลง
- (ปัจจุบัน ยังไม่มีผลวิจัยในด้านการใช้สารเคมีป้องกันกำจัด)
ต้นทุนการผลิต กะหล่ำดอกต่อพื้นที่ 1 ไร่
ค่าเมล็ดพันธุ์ | 1,400 |
ค่าเตรียมดิน | 1,500 |
ค่าแรงงานการคลุมดอก/เก็บเกี่ยวผลผลิต | 1,500 |
ค่าปุ๋ย | 1,000 |
ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช | 1,000 |
รวม | 6,400 |
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก ผักบุ้ง เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ