วิธีปลูก บวบ
บวบเป็นพืชชนิดเถามีประโยชน์ทั้งในผลที่อ่อนและผลที่แก่ โดยผลที่อ่อนนำมาประกอบอาหาร และเป็นยารักษาโรคได้ เพราะมีคุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยาอย่างมาก ผลแก่แล้วนั้นสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ต่างๆได้อย่างหลากหลาย ซึ่งบวบนั้นสามารถปลูกได้ง่ายในเขตร้อน ทำให้ในประเทศไทยนิยมปลูกกันอย่างมาก ไม่ว่าจะปลูกเพื่อการบริโภคหรือปลูกเพื่อจำหน่าย ซึ่งทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก บวบ แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
- อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการปลูกคือ 20-30 องศาเซลเซียส
- ควรได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
- ดินที่ใช้ในการปลูกควรมีความชื้นคงที่
การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ
ในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ บรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันความชื้อและอากาศ มีการระบุข้อมูลต่างๆไว้อย่างชัดเจน เช่น บวบเหลี่ยม วิกเกอร์เอ ตราศรแดง, บวบเหลี่ยม ซุปเปอร์เอ ตราศรแดง, บวบเหลี่ยม ฟาโรห์ ตราศรแดง, บวบเหลี่ยม ซีซาร์ ตราศรแดง, บวบงู สเน็กกี้ ตราเจียไต๋, บวบงู อนาตอนดา 02 ตราตะวันต้นกล้า และ บวบหอม รจนา ตราตะวันต้นกล้า เป็นต้น
การเตรียมดิน
- ไถหน้าดินลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร ตากแดดไว้ 7-10 วัน หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอยลงไปในดิน
- ทำการยกร่องสูง 75 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เมตร ขุดหลุมลึก 2-4 เซนติเมตร ห่างกัน 75-100 เซนติเมตร(บวปเหลี่ยม และบวบดำ)
- ทำการยกร่องสูง 75 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เมตร ขุดหลุมลึก 2-4 เซนติเมตร ห่างกัน 2.5 เมตร(บวปงู)
การเพาะกล้า
บวบไม่นิยมเพาะกล้าเนื่องจากต้นกล้ามีความเปราะ หักง่าย
การปลูกบวบ
- หยอดเมล็ดลงในหลุมที่เตรียมไว้จำนวน 3-5เมล็ด
- กลบด้วยดินผสมปุ๋ยคอก รดน้ำให้ชุ่ม
- คลุมปากหลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟาง
การดูแลรักษา
การรดน้ำ
ต้องรดน้ำสม่ำเสมอ อย่าให้มีการขาดน้ำเด็ดขาด
การใส่ปุ๋ย
- ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงใน ช่วง 15 วันแรก เช่น 25-7-7
- ใส่ปุ๋ยสูตร 5-10-5 เมื่อบวบมีอายุได้ 20-30วัน โดยใส่บริเวณข้างแถว แล้วค่อยพรวนกลบลงในดิน จากนั้นรดน้ำตาม
การทำค้าง
- บวบงู
-สานไม้ไผ่แบบขัดแตะ ยกให้สูงจากพื้นจากพื้นประมาณ 2 เมตร -ปักหลักตรงหลุม ผูกปลายค้างกับร้านไม่ไผ่ที่สานไว้ให้แน่น ไม่โยก
- บวบเหลี่ยม/บวบหอม
– ใช้ไม้ปักค้าง ยาวประมาณ 2-2.5 เมตร ปักลงบนร่อง – รวบไม้เข้าหากันด้วยเชือก – จากนั้นนำไม้พาดแต่ละช่วงประมาณ 40-50 เซนติเมตร
การเก็บเกี่ยว
อายุการเก็บเกี่ยวของบวบอยู่ที่ประมาณ 40-60 วัน ไม่ควรปล่อยให้บวบแก่และแข็ง โดยให้เกี่ยวให้มีขั้วบวบติดมากับผลด้วย
โรคในบวบ
โรคราน้ำค้าง
สาเหตุ เชื่อรา Pseudoperonospora cubensis
ลักษณะอาการ เส้นใบมีอาการช้ำน้ำ มีแผลสีน้ำตาลลักษณะเป็นเหลี่ยม ใต้ใบพบสปอร์สีดำและเส้นใยสีขาวบริเวณแผล เมื่อเป็นหนัก เถาจะแห้งและตาย
การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Phenylamide เช่น เมทาแลกซิล เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม cinnamic acid เช่น ไดเมโทมอร์ฟ(ฟอรัม) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Thiazolecarboxamide เช่น อีทาบอกแซม(โบคุ่ม) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Cyanoacetamide oxime + Alkylenebis เช่น ไซม็อกซานิล+แมนโคเซบ(เคอร์เซท) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม triazole เช่น เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Benzimidazole เช่น คาร์เบนดาซิม(อาเค่น) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น ซัลเฟอร์(ไมโครไธออล กำมะถันเนื้อทอง) เป็นต้น
โรคราแป้ง
สาเหตุ เชื่อรา Oidium mangiferae Berth
ลักษณะอาการ แผลมีสีขาวและมีผงสีขาวที่เป็นสปอร์อยู่บนแผล ทำให้ใบแห้ง กรอบ การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม triazole เช่น เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Benzimidazole เช่น คาร์เบนดาซิม(อาเค่น) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น ซัลเฟอร์(ไมโครไธออล กำมะถันเนื้อทอง) เป็นต้น
แมลงศัตรูพืช
เพลี้ยไฟ
ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้น โดยจะทำให้ใบหรือยอดหงิก ม้วน ดอกพริกร่วงไม่ติด หรือรูปทรงผลบิดงอ
แนวทางการป้องกันกำจัด
- อย่าให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(ไฟซ์ไนซ์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส(อูดิ) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(คลอร์ไซริน)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเม็กติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น โดยทั้งหมดสามารถใส่ร่วมกับ สารจับใบ ได้
ศึกษาเพิ่มเติมได้ 3 วิธีกำจัดเพลี้ยไฟ
แมลงหวี่ขาว
ลักษณะการทำลาย เป็นพาหะนำโรคไวรัส ทำให้ใบพริกหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์
แนวทางการป้องกันกำจัด
- กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ฟาเดีย) เป็นต้น
- ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
ไรแดง
ลักษณะการทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้น ส่งผลให้ใบเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล และสีเงิน ตามลำดับ
แนวทางการป้องกันกำจัด
- หากพบการระบาด ให้ฉีดน้ำไปที่ใบเป็นประจำ
- ให้ทำลายต้นหรือก่งที่พบว่ามีไรแดงอยู่
- นำยาสูบ (ยาฉุน) จำนวน 2 ขีด ต้มในน้ำ 1 ลิตร ให้มันเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำยาสูบ เสร็จแล้วเทกาแฟดำ จำนวน 500 กรัม ลงไป แล้วคนให้เข้ากัน แล้วนำกะทิ จำนวน 1 กล่อง (250 ซีซี ผสมลงไป แล้วคนให้เข้ากัน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปฉีด ในอัตรา 1 กระป๋องกาแฟ ผสมน้ำ 20 ลิตร
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Amidine เช่น อะมิทราซ(อะไมทิช) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น ซัลเฟอร์(ไมโครไธออล กำมะถันเนื้อทอง) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyridazinone เช่น ไพริดาเบน(ฮาฟท์ไมท์) เป็นต้น
- ใช้ยาจับใบฉีดพ่นเพื่อไล่
หนอนชอนใบ
ลักษณะการทำลาย ใบและลำต้นจะแคระแกร็น จะมองเห็นทางที่หนอนเคลื่นตัวผ่านได้อย่างชัดเจน โดยจะเห็นเป็นทางสีขาว
แนวทางการป้องกันกำจัด
- หมั่นสำรวจ ลำหมั่นนำไปกำจัดทิ้ง
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Nereistoxin analogue เช่น คาร์แทป ไฮโดรคลอร์ไรด์(พาแดน) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น อิมิดาโคลพริด(ฟาเดีย) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเม็กติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้ยาจับใบฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ
- ใช้น้ำสารสะกัดจากสะเดา
ต้นทุนการผลิตต่อพื้นที่ 1 ไร่
ต้นทุนการผลิตต่อพื้นที่ 1 ไร่
บวบหอม/บวบเหลี่ยม | บวบงู | |
ค่าเมล็ดพันธุ์ | 1,560 | 1,560 |
ค่าเตรียมดิน | 800 | 800 |
ค่าทำค้าง | 300 | 800 |
ค่าแรงงาน | 4,200 | 4,200 |
ค่าปุ๋ย | 2,630 | 2,630 |
ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช | 1,000 | 1,000 |
รวม | 10,490 | 10,990 |
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก บวบ เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ