วิธีปลูก คื่นฉ่าย ฉบับจับมือทำ !

คื่นฉ่าย เป็นผักสวนครัวที่ปลูกง่าย มีให้เก็บกินได้ตลอดทั้งปี เป็นผักในตระกูลเดียวกันกับผักชีที่ให้ใบ และก้านใบ สำหรับรับประทานสด น้ำผัก หรือนำมาประกอบอาหาร เนื่องจากมีกลิ่นหอมเย็น สามารถดับกลิ่นคาวปลา คาวเนื้อได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยา ช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด เหมาะสำหรับคนเป็นโรคไต เพราะเป็นผักที่มีโซเดียมน้อย และยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ ซึ่งทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก คื่นฉ่าย แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก

แหล่งปลูกที่เหมาะสม

  • คื่นฉ่ายไม่ชอบอากาศร้อนจัด ควรทำที่บังแสงแดดในระยะแรก
  • สามารถปลูกได้ในทุกฤดู

การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ

ในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ บรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันความชื้นและอากาศ มีการระบุข้อมูลต่างๆไว้อย่างชัดเจน เพราะเมล็ดที่ดี ย่อมให้ผลผลิตที่ดีเช่นกัน เช่น คื่นฉ่ายนวลจันทร์ ตราศรแดง , คื่นฉ่าย ราชพฤกษ์ ตราต้นไผ่ , คื่นฉ่ายฉัตรทอง ตราตะวันต้นกล้า  หรือ คื่นฉ่ายซุปเปอร์โพธิ์ทอง ตราเจียไต๋ เป็นต้น หลังจากได้เมล็ดพันธุ์แล้วนั้น ให้นำไปผสมกับทรายละเอียดเนื่องจากเมล็ดพันธุ์มีขนาดเล็ดมาก ในอัตราส่วน 1: 3 เพื่อทำการปลูก

การเตรียมดิน

  • ยกร่องหรือทำแปลงธรรมดา ประมาณ 1-2 เมตร
  • ไถหน้าดินประมาณ 2-3 นิ้ว ตากแดดไว้ประมาณ 5-10 วัน
  • หว่านปุ๋ยคอกให้ทั่วแปลง ประมาณ 1000 กก./ไร่ แนะนำเป็น ขี้ไก่แกรบ หลังจากนั้นตีกับดินให้ละเอียดจนดินฟู

การเพาะกล้า

                คื่นช่ายไม่นิยมปลูกแบบเพราะกล้า เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เกษตรจึงมักทำการปลูกแบบหว่านมากกว่า

การปลูกคื่นช่าย

  • รดน้ำแปลงปลูกพอหมาดก่อนการทำการปลูก 1 วัน
  • ทำการหว่านเมล็ดที่เตรียมไว้ให้ทั่ว ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม / ไร่
  • คลุมด้วยฟางบางๆแล้วรดน้ำตามให้ชุ่ม

การดูแลรักษา

การให้น้ำ

                ควรให้น้ำอย่างต่อเนื่องเช้า-เย็นโดยเฉพาะหลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ไปแล้วประมาณ 10-14 วัน เพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ ถ้าดินแห้งและแตกจะทำให้รากหรือใบแห้งตายได้ และไม่ควรรดน้ำแปลงปลูกในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด

การใส่ปุ๋ย

ในการใส่ปุ๋ยครั้งแรกนั้นให้ใส่เมื่อคื่นฉ่ายมีอายุ 1-2 อาทิตย์ โดยปุ๋ยที่ใส่นั้นคือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 หว่านบางๆทั่วแปลงปลูกปริมาณ 30-50 กิโลกรัม / ไร่ ทุกๆ 10 -15 วัน และนอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยปุ๋ยไนโตรเจนเสริมในอัตรา 10-20 กิโลกรัม / ไร่ โดยเริ่มใส่เมื่อกล้ามีอายุได้ 10-15 วัน แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยใส่แบบหว่านเช่นกัน

การเก็บเกี่ยวคื่นช่าย

                ในการเก็บเกี่บเกี่ยวนั้นจะใช้วิธีการถอน โดยดึงต้นคื่นฉ่ายออกมา แกะใบเหลืองออก หลังจากนั้นเขย่าให้ดินที่ติดอยู่กับรากออกมา แนะนำให้เก็บตอนช่วงเช้าตรู่  

โรคคื่นฉ่าย

โรคใบจุดไหม้

ใบจุดไหม้คื่นฉ่าย สาเหตุ แบคทีเรีย Pseudomonas s vringae pv. apii

ลักษณะอาการ  ใบจะมีจุดเล็กๆ สีเหลืองสดขึ้นก่อน แล้วค่อยขยายโตขึ้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลพร้อมกับเกิดวงแหวนสีเหลืองซีดรอบ จุดแผลโดยทั่วๆ ไปจะมีลักษณะกลม แต่ก็มีบางจุดมีรูปร่างเป็นเหลี่ยมทำให้เกิดอาการเหลืองแล้วแห้งตายทั้งต้น

การป้องกันกำจัด

  • นำเมล็ดแช่นํ้าอุ่น 49-50 องศาเซลเซียส นาน. 30  นาที ก่อนนำไปปลูก
  • ปลูกพืชหมุนเวียน
  • ทำลายเศษซากพืช รวมทั้งที่งอกขึ้นมาเองหลังเก็บเกี่ยว
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม Triazole เช่น  เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) หรือ ไดฟีโนโคนาโซล(สกอร์) เป็นต้น

โรคต้นเหลือง

โรคต้นเหลืองฉ่าย สาเหตุ เชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. apii

ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลเล็กๆ สีเหลืองขึ้นก่อน ต่อมาจะค่อยๆ ขยายโตขึ้นกลายเป็นแผลสีนํ้าตาลซีดออกเหลือง หรือเทาส่วนขอบจะมีสีดำ หรือคลํ้าเล็กน้อย จากนั้นจะเป็นจุดดำเล็กๆ ขึ้นทั่วไปตอนกลางๆ ของแผล อาจมีผลทำให้ส่วนของเนื้อใบที่เหลือ เหลืองแห้งตายทั้งใบ

การป้องกันกำจัด

 

โรคต้นและใบไหม้

โรคต้นและใบไหม้คื่นฉ่าย สาเหตุ เชื้อรา Septoria apii และ Septoria apii graveolentis

ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลเล็กๆ สีเหลืองขึ้นก่อน ต่อมาจะค่อยๆ ขยายโตขึ้นกลายเป็นแผลสีนํ้าตาลซีดออกเหลือง หรือเทาส่วนขอบจะมีสีดำ หรือคลํ้าเล็กน้อย จากนั้นจะเป็นจุดดำเล็กๆ ขึ้นทั่วไปตอนกลางๆ ของแผล อาจมีผลทำให้ส่วนของเนื้อใบที่เหลือ เหลืองแห้งตายทั้งใบ

การป้องกันกำจัด

โรคก้านใบแตก

โรคก้านใบแตกคื่นฉ่าย สาเหตุ การขาดธาตุโบรอน

ลักษณะอาการ เกิดรอยแยกขึ้นที่ผิวของก้านใบตามขวางเป็นขีดๆ หรือเส้นเล็กๆ ยาวประมาณ 2-3 มม. เปลือกหรือผิวที่แตกออกจะม้วนงอกสับไปข้างหลัง เมื่อรุนแรงเกิดเป็นแผลสีน้ำตาลขึ้นแทน ขนาดขยายโตและยาวขึ้นแต่ก็จะเป็นตามขวางกับก้านใบเช่นเดิม ยังอาจแสดงอาการอื่นๆ อีก เช่น รากไม่สมบูรณ์เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ปลายกุด ขอบใบไหม้ ก้านแข็ง เปราะหักง่ายและมีรสขม

การป้องกันกำจัด

 

แมลงศัตรูพืช

ไรแดง

ไรแดง ลักษณะการทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้น ส่งผลให้ใบเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล และสีเงิน ตามลำดับ

แนวทางการป้องกันกำจัด

  • หากพบการระบาด ให้ฉีดน้ำไปที่ใบเป็นประจำ
  • ให้ทำลายต้นหรือกิ่งที่พบว่ามีไรแดงอยู่
  • นำยาสูบ (ยาฉุน) จำนวน 2 ขีด ต้มในน้ำ 1 ลิตร ให้มันเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำยาสูบ เสร็จแล้วเทกาแฟดำ จำนวน 500 กรัม ลงไป แล้วคนให้เข้ากัน แล้วนำกะทิ จำนวน 1 กล่อง (250 ซีซี ผสมลงไป แล้วคนให้เข้ากัน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปฉีด ในอัตรา 1 กระป๋องกาแฟ ผสมน้ำ 20 ลิตร
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม Amidine เช่น อะมิทราซ (อะไมทิช) เป็นต้น
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส (เปเป้) เป็นต้น
  • ใช้ สารจับใบ (เอส 995) ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ

แมลงหวี่ขาวยาสูบ

แมลงหวี่ขาวยาสูบ ลักษณะการทำลาย เป็นพาหะนำโรคไวรัส ทำให้ใบพริกหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์

แนวทางการป้องกันกำจัด

แมลงหวี่ขาวใยเกลียว แมลงหวี่ขาวใยเกลียว ลักษณะการทำลาย เป็นพาหะนำโรคไวรัส ทำให้ใบพริกหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์

แนวทางการป้องกันกำจัด

  ต้นทุนการผลิต คื่นฉ่ายต่อพื้นที่ 1 ไร่

ค่าเมล็ดพันธุ์

1,000
ค่าเตรียมดิน 1,000
ค่าเก็บเกี่ยวผลผลิต

2,000

ค่าปุ๋ย 2,000
ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช 2.000
รวม 8,000

แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก คื่นฉ่าย เพิ่มเติม

เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ 

ID Line : @uox0813g

Facebook : www.facebook.com/kasetsomboonstore

Facebook : fb.me/kasetsomboonstore

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *