วิธีปลูก คะน้า ฉบับจับมือทำ !
คะน้าเป็นพืชที่เรารู้จักกันดี นิยมนำมาบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในครัวเรือและตามร้านอาหาร เนื่องจากหาซื้อง่าย เราคาไม่แพง และมีตลอดปี ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมในการปลูกทั้งครัวเรือนและเพื่อการค้า เนื่องจากปลูกง่าย ดูแลไม่ยาก และปลูกได้ตลอดทั้งปี ซึ่งทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก มะเขือยาว แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก
แหล่งปลูกที่เหมาะสม
- ดินที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดด่าง ระหว่าง 5.5-6.8 (การปรับค่า pH ของดิน)
- เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด
- ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการปลูกผักคะน้าได้ดีที่สุดคือ ระยะตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม-เมษายน
การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ
ในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ โดยในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยนั้นจะแนะนำให้เลือกพันธุ์เบา เนื่องจากให้ผลผลิตดี อายุการเก็เกี่ยวสั้น สามารถทนอากาศร้อนได้ ยกตัวอย่าง คะน้ายอดไต้หวัน บางบัวทอง 35 ตราศรแดง, คะน้าบิ๊ก 456 ตราปลาวาฬ และ คะน้าคอมโบ้ ตราเจียไต๋ เป็นต้น
การเตรียมดิน
- ขุดพลิกดินมาตากไว้ ประมาณ 7-10 วัน จากนั้นผสมใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงในดิน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
- จัดทำแนวร่องเพื่อปลูก ความกว้างของแปลงประมาณ 1 เมตร
การเพาะกล้า
คะน้าไม่นิยมเพาะกล้า นิยมใช้วิธีหว่านหรือโรยเป็นแถว
การปลูกคะน้า
ปลูกโดยโรยเมล็ดเป็นทางยาว ระยะห่างระหว่างแถว 20 เซนติเมตร แล้วจากนั้นกลบด้วยดินบางๆ รดน้ำให้ทั่วแปลง แล้วคลุมด้วยฟาง
การดูแลรักษา
การถอนแยก
เมื่อคะน้าสูงประมาณ 10 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 20 วัน ให้ทำการถอนแยกครั้งแรกเลือกต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก เหลือระยะห่างระหว่างต้นไว้ ประมาณ 10 เซนติเมตร จากนั้นเมื่อต้นผักสูงได้ประมาณตามที่ต้องการหรือเมื่อมีอายุได้ประมาณ 30 วัน ให้ทำการถอนแยกครั้งที่สองให้เหลือระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตร
การให้น้ำ
คะน้าต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ โดยรดน้ำมันละ 2 ครั้ง เช้าเย็นอย่างเป็นประจำ
การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยสูตร 12-8-8 ในอัตรา 100 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน คือใส่หลังจากการถอนแยกครั้งที่ 1 (หลังปลูก 20 วัน) และหลังจากถอนแยกแล้วกล้าครั้งที่สอง (หลังปลูก 30 วัน)
การเก็บเกี่ยว
ในการถอนแยกครั้งแรกนั้นสามารถเด็ดรากออกจากต้นที่ถอนแยกเพื่อขายสู่ตลาดได้ ส่วนในการถอนแยกครั้งที่สองก็สามารถตัดรากและเก็บเกี่ยวได้เช่นกัน ส่วนในการเก็บเกี่ยวเมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยวนั้น ประมาณ 45-55 วัน จะใช้มีดตัดชิดโคน (ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป) แล้วตัดแต่งใบเสียทิ้ง การตัดจะตัดไล่เป็นหน้ากระดานไปเลย
โรคคะน้า
โรคใบจุด

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Alternaria brassicicola
ลักษณะอาการ
เริ่มต้นจะเกิดจุดเล็กๆ ต่อมา เกิดแผลขยายออกเป็นวงกลมสีน้ำตาลหรือดำซ้อนกันหลายชั้น จากนั้นเนื้อเยื่อตรงกลางจะบางมีขนาดไม่สม่ำเสมอ แผลจะขยายลามติดกัน
การป้องกันกำจัด
- เมื่อตรวจพบให้ทำลายต้นนั้นทิ้ง
- ทำการฆ่าเชื้อที่เมล็ดก่อนนำมาปลูก โดยนำไปแช่แช่ในนํ้าอุ่น 49 – 50° ซ. นาน 20 – 25 นาที ปลูกพืชหมุนเวียบ หรือ คลุกเมล็ดด้วยสาร เมทาแลกซิล
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis (Dithiocarbamate) (กลุ่ม M03) เช่น โพรพิเนบ(แอนทาโคล) หรือ แมนโคเซป(ฮัมบรูก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile (กลุ่ม M5) เช่น คลอโรทาโลนิล(ไทสกาย) ชนิดน้ำ หรือ คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) ชนิดผง เป็นต้น
- ใช้สารเคมี ตัวบวก แมนโคเซป(โปรมาเซบ 80) + คาร์เบนดาซิม(อาเค่น) เป็นต้น
โรคราน้ำค้าง

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Peronospona parasitica
ลักษณะอาการ
ที่ใต้ใบจะมีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้ายผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วไป ใบที่มีเชื้อราจะแห้ง้หี่ยวละมีสีเหลือง
การป้องกันกำจัด
- ทำการฆ่าเชื้อที่เมล็ดก่อนนำมาปลูก โดยนำไปแช่แช่ในนํ้าอุ่น 49 – 50° ซ. นาน 20 – 25 นาที ปลูกพืชหมุนเวียบ หรือ คลุกเมล็ดด้วยสาร เมทาแลกซิล(ลอนซาน 35)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis (Dithiocarbamate) (กลุ่ม M03) เช่น โพรพิเนบ(แอนทาโคล) หรือ แมนโคเซป(ฮัมบรูก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile (กลุ่ม M5) เช่น คลอโรทาโลนิล(ไทสกาย) ชนิดน้ำ หรือ คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) ชนิดผง เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Strobilurin (กลุ่ม 11) เช่น อะซอกซีสโตรบิน(สโตบิน) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม cinnamic acid เช่น ไดเมโทมอร์ฟ(ฟอรัม) เป็นต้น
โรคเน่าคอดินของคะน้า
สาเหตุ
เชื้อรา Pythium sp. หรือ Phytophthora sp
ลักษณะอาการ
เป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลจะเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็ว
การป้องกันกำจัด
- ปลูกต้นคะน้าให้มีระยะห่างที่เหมาะสม ให้มีอาหาศถ่ายเท และไม่มีน้ำขัง
- แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นานประมาณ 30 นาที
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Phenylamide เช่น เมทาแลกซิล(ลอนซาน 35) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Dimethyldithiocarbamate เช่น ไทแรม(ไธอะโนซาน) เป็นต้น
ศัตรูพืช
หนอนกระทู้ผัก
ชื่อสามัญอื่น
หนอนกระทู้ยาสูบ หนอนกระทู้ฝ้าย หนอนเผือก
ลักษณะการทำลาย
ตัวหนอนจะกัดกินทั้งลำต้น ไม่ว่า ใบ ดอก ก้าน หรือผล
แนวทางการป้องกันกำจัด
- ลดแหล่งขยายพันธุ์โดยการไถตากดินหรือกำจัดเศษซากพืช
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ
- สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrazole เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) เป็นต้น
หนอนกระทู้หอม
ชื่อสามัญอื่น
หนอนหลอด หนอนหอม หนอนหนังเหนียว
ลักษณะการทำลาย
ในระยะหนอนวัย 3 จะกิดกินทุกส่วนของพืช ใบ ดอก ต้น
แนวทางการป้องกันกำจัด
- ลดแหล่งขยายพันธุ์โดยการไถตากดินหรือกำจัดเศษซากพืช
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- เป็นต้น
- ใช้สารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ
- สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrazole เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) หรือลูเฟนนูรอน เป็นต้น
หนอนใยผัก
ลักษณะการทำลาย
หนอนชนิดนี้มีขนาดเล็กทำให้พบเห็นได้ยาก และมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว โดยตัวหนอนจะกัดกินผิวด้านล่างและเข้าไปกัดกินยอดใบผักจนได้รับความ
การป้องกันกำจัด
- หมั่นตรวจดูที่บริเวณกะหล่ำดอก คอยกำจัดหนอนใยผัก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) และเดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrazole เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) เป็นต้น
- ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทรูรินเจนซิส(ฟลอร์แบค) ทำลาย
- ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ (ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ)
ต้นทุนการผลิต คะน้าต่อพื้นที่ 1 ไร่
ค่าเมล็ดพันธุ์ | 200 |
ค่าเตรียมดิน | 500 |
ค่าแรงงานการเก็บเกี่ยวผลผลิต | 1,500 |
ค่าปุ๋ย | 1,300 |
ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช | 1,000 |
รวม | 4,500 |
แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก คะน้า เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ