กะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายอย่าง เนื่องจากมีคุณค่าในทางอาหารสูง มีรสชาติดี หวานกรอบ รับประทานได้ทั้งดิบและสุก มีอายุการเก็บรักษาได้นาน และทนทานต่อการขนส่งพอสมควร เรียกได้ว่าน่าปลูกมากทีเดียว ทางเราได้เรียบเรียงวิธีการปลูกกะหล่ำปลีแบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก

แหล่งปลูกที่เหมาะสม

  • สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะให้ผลผลิตสูงในดินที่มีสภาพร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี
  • ความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) อยู่ในช่วง 6.0 – 6.8  (ศึกษาการปรับค่า pH ที่นี่)
  • อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต 22 – 25 องศาเซลเซียส
  • ควรได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน

การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ

            เลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง ในเมืองไทยปลูกพันธุ์เบาจะได้ผลดีที่สุด เพราะเป็นพันธุ์ที่ไม่ต้องการอากาศหนาวมากนัก มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น กะหล่ำปลีพันธุ์เบาที่ปลูกได้ผลดีมีหลากหลายพันธุ์ เช่น กะหล่ำปลี เบอร์ 1 ตรารถถัง , กะหล่ำปลี เบอร์ 1 ตราช้าง , กะหล่ำปลี เอมเมอร์รัลด์ , กะหล่ำปลี ที-530 และ กะหล่ำปลี ที-523 เป็นต้น

การเตรียมดิน

  • แปลงเพาะกล้า ให้ขุดไถลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวแล้วแต่ความต้องการของเรา ตากดินไว้ ประมาณ 5 – 7 วัน  จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวได้ดี อัตรา 2,000 กิโลกรัม / ไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม /ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดินจากนั้นย่อยหน้าดินให้ละเอียด
  • แปลงปลูก ส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกในไทยเป็นพันธุ์เบาที่มีระบบรากตื้น จึงควรเตรียมดินลึกประมาณ 18 – 20  เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5 – 7 วัน ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วยเพื่อปรับปรุงสภาพของดิน จากนั้นย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็กลงแต่ไม่ถึงกับละเอียดจนเกินไป แล้วถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวลงไปเพื่อปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกกะหล่ำปลี       

การเพาะกล้า

            หลังเตรียมแปลงเสร็จให้หว่านเมล็ดกะหล่ำปลีให้กระจายทั่วแปลง หรือถ้าเราอยากให้เป็นแถวอาจจะทำร่องลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ห่างกันแถวละ 15 เซนติเมตร แล้วโรยเมล็ดลงในร่องหว่านกลบเมล็ดด้วยปุ๋ยหมักหรือดินละเอียด จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มแล้วคลุมด้วยฟางแห้งบางๆ หลังจากต้นกล้างอกได้ 15 – 20 วัน ให้เลือกถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ออกและให้ทิ้งระยะห่างต้น 10 เซนติเมตร จนกระทั่งอายุประมาณ 25 – 30 วัน จึงย้ายไปปลูก

การปลูก

            เวลาย้ายควรย้ายในช่วงเวลาบ่ายๆ ถึงเย็น ตอนย้ายควรให้ดินติดรากมาด้วยและต้องระวังไม่ให้รากขาด แล้วรีบนำลงปลูกจากนั้นกดดินรอบโคนให้แน่นทันทีก่อนรดน้ำให้ชุ่ม เมื่อปลูกเสร็จแล้วควรทำร่มบังแดดให้ในวันรุ่งขึ้น อาจใช้กะลาครอบ หรือใช้ไม้บังรอบๆก็ได้ ควรปิดบังแดดไว้ประมาณ 3 – 4 วัน ค่อยเอาออก

การดูแลรักษา

การให้ปุ๋ย          

1. เมื่อปลูกได้ราว 15 วัน ใส่ปุ๋ยจำพวกไนโตรเจน เช่น ยูเรีย 46% (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต 21% (21-0-0) ให้ต้นละ 1 ช้อนชา ปุ๋ยจำพวกนี้จะช่วยให้ใบงาม

2. เมื่อปลูกได้ 30 วัน ทำการพรวนดินรอบ ๆ โคนต้น ใส่ปุ๋ยสูตร 12-8-8 ต้นละ 2 ช้อนชา หรือใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแทน ต้นละ 1 กำมือ กลบดิน แล้ววันรุ่งขึ้นค่อยรดน้ำ

3. ในการให้ปุ๋ยกะหล่ำปลีแต่ละครั้งควรผสมธาตุอาหารเสริมพวกโบรอน, สังกะสี อย่างเช่น ไฮเปอร์ พลัส ตรานกอมตะ เพราะมีความจำเป็นแก่พืชตระกูลกะหล่ำมาก

การให้น้ำ

           ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 1 – 2 ครั้ง ในระยะแรกให้รดน้ำด้วยการฉีดเป็นฝอยในช่วงเช้าและเย็นทุกวัน จนกระทั่งหัวเริ่มเข้าปลีให้ลดปริมาณการรดน้ำลงเพื่อป้องกันไม่ให้หัวปลีแตกและไม่ห่อหัว โดยปกติถ้าไม่รดน้ำมากจนเกินไปก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการเข้าหัวของปลีมากนัก

การเข้าปลี

           ในบางครั้งถ้ากะหล่ำปลีหลวม ห่อหัวไม่แน่นเราก็จำเป็นที่จะต้องให้อาหารเสริมบ้าง อย่างเช่น อาหารเสริมพืช ไวกิ้ง ตราแพลน นำไปผสมน้ำแล้วพ่นทุกๆ 7 วัน จะทำให้กะหล่ำปลีห่อหัวแน่นและมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

การเก็บเกี่ยว

           ถ้าเป็นพันธุ์เบาเราจะเก็บเกี่ยวได้ตอนอายุประมาณ 50 – 60 วัน โดยใช้มีดที่คมตัดบริเวณส่วนโคน ซึ่งกะหล่ำปลีจะมีน้ำหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ต้น การเก็บในระยะที่เหมาะสมจะได้หัวที่สมบูรณ์ ถ้าเก็บขณะอ่อนเกินไปหัวจะไม่แน่น จะเสียขนาดและน้ำหนัก แต่ถ้าทิ้งไว้นานเกินไปหัวจะหลวม ทำให้คุณภาพของหัวกะหล่ำปลีลดลง เสียรสชาติ ไม่ได้ราคา ฉะนั้นเวลาเก็บเกี่ยวควรสังเกตหัวที่แน่นจะดีที่สุด

โรคที่สำคัญของกะหล่ำปลี

โรคเน่าเละ

โรคเน่าเละในกะหล่ำปลี
วิธีปลูก กะหล่ำปลี ฉบับจับมือทำ !

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

อาการ ในระยะแรกพบเป็นจุด ๆ หรือบริเวณมีลักษณะฉ่ำน้ำคล้ายรอยช้ำ ต่อมาแผลจะขยายลุกลามออกไป ทำให้เกิดการเน่าเละเป็นเมือกเยิ้มมีกลิ่นเหม็นจัด เมื่ออาการรุนแรงจะทำให้กะหล่ำปลีเกิดการเน่าเละทั้งหัวและหักพับลง

การป้องกันกำจัด

1. ในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ขังแฉะ

2. ใช้สารกำจัดแมลงปากกัดหรือแมลงวันในแปลงปลูกด้วยการโรย ไดโนทีฟูแรน รอบโคนต้น

3. ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผลหรือรอยช้ำทั้งขณะเก็บเกี่ยวและขนส่ง

โรคราน้ำค้าง

โรคราน้ำค้างในกะหล่ำปลี
วิธีปลูก กะหล่ำปลี ฉบับจับมือทำ !

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา

อาการ ถ้ามองจากด้านบนใบจะเห็นเป็นปื้นสีเหลืองจางๆ พลิกใต้ใบขึ้นมาดูหลังใบจะเห็นขุยสีขาวๆในช่วงอากาศเย็นและมีน้ำค้าง พบมากในระยะกล้า

การป้องกันกำจัด

1. คลุกเมล็ดด้วย สาร เมทาแลกซิล

2. ถ้าไม่ได้คลุกเมล็ดก่อนปลูก แล้วเกิดอาการโรคราน้ำค้างให้ฉีดพ่นด้วย สาร เมทาแลกซิล หรือ แมนโคเซบ

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญของกะหล่ำปลี

หนอนใยผัก

หนอนใยผักในกะหล่ำปลี
วิธีปลูก กะหล่ำปลี ฉบับจับมือทำ !

การทำลาย หนอนใยผักจะกัดกินผักอ่อน ดอกหรือใบที่หุ้มอยู่ทำให้ใบเป็นรูพรุน นอกจากนี้หนอนใยผักมีความสามารถในการทนต่อสารเคมี และปรับตัวต้านทานต่อสารเคมี

ป้องกันกำจัดได้ดี

การป้องกันกำจัด

1. ใช้สารเคมีกำจัดตัวหนอนโดยตรง อย่างเช่น ไซเพอร์เมทริน, เดลทาเมทริน, โพรฟีโนฟอส, อะบาเมกติน ผสมน้ำพ่นทุกๆ 7 วัน/ครั้ง

2. ใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทรูรินเจนซิส ทำลาย

3. หมั่นตรวจดูแปลงกะหล่ำปลี เมื่อพบตัวหนอนควรรีบทำลายทันที

หนอนคืบกะหล่ำ

หนอนคืบกะหล่ำในกะหล่ำปลี
วิธีปลูก กะหล่ำปลี ฉบับจับมือทำ !

การทำลาย หนอนคืบกะหล่ำเป็นหนอนที่กินจุมาก ในระยะแรกตัวหนอนจะกัดกินที่ผิวใบ พอโตขึ้นจะกัดกินใบทำให้เป็นรอยแหว่งจนเหลือแต่ก้าน

การป้องกันกำจัด

1. ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง 80 กับดักต่อไร่

2. ใช้สารเคมีกำจัดหนอน ถ้าหากพบหนอนคืบกะหล่ำระบาดพ่นด้วย โพรฟีโนฟอส ที่ผสมน้ำประมาณ 7 วัน/ครั้ง

หนอนเจาะยอดกะหล่ำ

หนอนเจาะยอดกะหล่ำในกะหล่ำปลี
วิธีปลูก กะหล่ำปลี ฉบับจับมือทำ !

การทำลาย หนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินในหัวหรือยอดผักที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดขาดไม่เข้าหัว ถ้าระบาดในระยะออกดอกจะเจาะเข้าไปในลำต้น ก้านดอก หรือในระยะเล็กจะกัดกินดอกจนเสียหาย

การป้องกันกำจัด

1. เลือกกล้าผักที่ไม่มีไข่หรือหนอนเล็กติดมา

2. ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด ถ้าหากเป็นแหล่งปลูกผักที่ไม่ค่อยได้ใช้สารเคมีกันมาก่อนควรใช้  เมวินฟอสหรือเมทโธมิล ใช้ในระยะใกล้เก็บผักสด แต่ถ้าเป็นแหล่งที่เคยปลูกผักและมีการใช้สารเคมีมาแล้วควรเลือกใช้สารในกลุ่มไพรีทรอยด์ อย่างเช่น ไซเพอร์เมทริน พ่นประมาณ 7 วัน/ครั้ง

แมลงศัตรู อื่น ๆ ได้แก่

ด้วงหมัดผัก จะพบการทำลายได้ตลอดปี ป้องกันโดยการฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มคาร์บาเมด อย่างเช่น  คาร์โบซัลแฟน(พอส) หรือ ฟิโพรนิล ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน

มด จะทำลายช่วงก่อนกล้างอก สังเกตได้จากทางเดินของมดป้องกันกำจัดโดยใช้ คาร์โบซัลแฟน(พอส) และคูมิฟอส รดแปลงกล้า

ต้นทุนการผลิต

ค่าเมล็ดพันธุ์ 800
ค่าเตรียมดิน 2250
ค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิต 6000
ค่าปุ๋ย 2000
ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช 600
   
รวม 11650

แอดไลน์มาสิ ! คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญๆ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูก กะหล่ำปลี เพิ่มเติม

เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ 

ID Line : @uox0813g

Facebook : www.facebook.com/kasetsomboonstore

Facebook : fb.me/kasetsomboonstore

Facebook : fb.me/kasetsomboonstore

ติดต่อเรา

Facebook Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *