ปลูกแตงกวา จากเริ่มต้นสู่มืออาชีพ
ปลูกแตงกวา เพื่อขายสร้างกำไร จำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์แตงกวาคุณภาพสูง ส่งผลให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นที่ต้องการของทุกตลาด อายุเก็บเกี่ยวแตงกวา จะอยู่ที่ 28-35 วัน หลังหยอดเมล็ด ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
สายพันธุ์แตงกวา
สายพันธุ์แตงกวาที่ดี เป็นสิ่งที่สำคัญในการปลูกแตงกวา หากเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี ผลผลิตที่ออกมาก็จะดี และจะเพิ่มกำไรให้กับผู้ปลูก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการปลูกเนื่องจากสภาพต้นแข็งแรง ไม่ถูกโรคและแมลงเข้าทำลายได้โดยง่าย และให้ผลผลิตที่มากกว่าพันธุ์ปกติ ซึ่งจะสร้างกำไรให้ผู้ปลูกได้อย่างดี ทั้งนี้การสำรวจตลาดก่อน เพื่อเลือกสายพันธุ์แตงกวา เป็นวิธีหนึ่งที่จำเป็นก่อนเริ่มปลูก และพันธุ์แตงกวาที่ร้านเกษตรสมบูรณ์จะมาแนะนำจะมีพันธุ์อะไรบ้างลองดูกันเลย
พันธุ์ แตงกวาสีเข้ม ส่วนใหญ่บริโภคในภาคใต้ และอีสาน เช่น แตงกวาธันเดอร์กรีน ตรา ศรแดง พาวเวอร์กรีน ตราตะวันต้นกล้า เป็นต้น
พันธุ์ แตงกวาสีอ่อน ส่วนใหญ่บริโภคในภาคกลาง เช่น แตงกวา สปีด ตราศรแดง แตงกวา สปีดแม็ก ตรา ศรแดง เป็นต้น
แตงกวา ธันเดอร์กรีน ตราศรแดง,แตงกวา สปีดแม็กซ์ F1,แตงกวา สปีด ตราศรแดง พาวเวอร์กรีน ตราตะวันต้นกล้า
ปลูกแตงกวา เริ่มต้นอย่างไร ?
ปลูกแตงกวาที่ถูกต้อง มีวิธีที่ไม่ยาก การจัดการไม่ซับซ้อน เริ่มต้นด้วยการเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์แตงกวา จากร้านเกษตรสมบูรณ์ จะได้เมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ การแนะนำ และดูแลเมื่อเมล็ดแตงกวามีปัญหา ต่อมาคือขั้นต้อนการเตรียมดิน หยอดเมล็ด เทคนิคและวิธีการดูแล ซึ่งเราจะค่อยๆพูดกันหลังจากนี้
ปลูกแตงกวา ต้องจัดการหน้าดินยังไง
- ไถหน้าดินลงด้านล่าง ลึก 20–25 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเก่าลงไปในการเตรียมดินด้วย หากเกษตรกรใช้วิธีปลูกแบบหยอดเมล็ด ควรจัดการหน้าดินให้ละเอียดในระดับหนึ่ง(มากกว่าการเพาะกล้า)
ขั้นตอนการหยอดเมล็ดแตงกวา
ปลูกแตงกวา จะมีวิธีหยอดเมล็ดอยู่ 2 แบบ แบบแรกที่นิยมจะเป็นวิธีไหนไม่ได้นอกจาก วิธีปลูกแตงกวาแบบหยอดเมล็ด รองลงมาจะเป็น วิธีปลูกแตงกวาแบบเพาะกล้าส่วนวิธีทำจะเป็นยังไงลองไปอ่านกันเลยครับ
เตรียมดินเพาะ ใส่ลงในถาดเพาะที่เตรียมไว้ หยอดเมล็ดพันธุ์ลงในถาดเพาะหลุมละ 1-2 เมล็ด ดูแลให้น้ำ ปุ๋ย ทุกวันและเก็บไว้ในที่แดดอ่อนๆ และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 4-5 ใบจึงย้ายลงปลูก จะได้ต้นกล้าแตงกวา ที่แข็งแรง ไม่ถูกเข้าทำลายจากโรคและแมลงโดยง่าย
ปลูกแตงกวา ให้น้ำอย่างไร ?
น้ำคือปัจจัยหลักที่จะทำให้แตงกวาเจริญเติบโตและทำให้ลูกแตงกวามีผลที่อวบอิ่ม ใหญ่ ขายได้กำไร ซึ่งหากให้น้ำเยอะเกินไปเพาะคิดว่าแตงกวายิ่งได้น้ำก็ยิ่งออกผลแต่นั้นเป็นความคิดที่ผิดเพราะจะทำให้แตงกวาเกิด โรคเน่าคอดิน และ โรคราน้ำค้าง ซึ่งวิธีการให้น้ำแตงกวาที่ถูกวิธี มี 2 รูปแบบที่นิยมใช้กันคืออะไรลองดูกันเลย
- วิธีให้น้ำ แบบน้ำหยด วางสายน้ำหยด 2 เส้น ต่อแปลง โรยสายน้ำหยดผ่านหลุมปลูก โดยวิธีเจาะรูให้เว้นระยะห่าง 30-60 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างหลุมปลูก ในขณะที่ให้น้ำควรสังเกตหน้าดินไม่ให้แฉะหรือแห้งเกินไป เมื่อต้นแตงกวาโต ควรให้น้ำให้นานขึ้น และต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอกัน ไม่ควรให้ดินชื้นเกินไปและไม่ให้ดินแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้
- วิธีให้น้ำ แบบสปริงเกอร์ เนื่องจาก แตงกวาจะเป็นพืชที่ต้องการความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา การให้น้ํา ให้เช้า-เย็น เปิดสปริงเกอร์ให้ น้ำนาน 5-10 นาที การให้น้ําในตอนเช้า ที่เหมาะสมที่สุดคือ ประมาณ 6 โมงเช้า
ใส่ปุ๋ยแตงกวาอย่างไรให้เหมาะสม
ในการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้ แตงกวา ลูกดก ผลมีน้ำหนัก ซึ่งหากต้องการเพิ่มผลกำไรแล้ว ก็ไม่ควรข้ามในเรื่องการใส่ปุ๋ย ซึ่งวันนี้เรามีหลักการใส่ปุ๋ยอย่างถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิต จะต้องใช้ปุ๋ยอะไรบ้างและจะต้องใส่ในช่วงไหนของการปลูกแตงกวา ลองไปดูกันเลยครับ
- ใส่ปุ๋ยแตงกวาระยะต้นกล้า (0-7 วัน) ให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก ใน อัตรา 1.5 ตันต่อไร่ ส่วนปุ๋ยที่ใช้รองพื้น ควรเป็นปุ๋ยที่เสริมสร้างต้นและใบ เช่น 16-16-16 หรือ 25-7-7 ในอัตราส่วน 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
- ใส่ปุ๋ยแตงกวาระยะเจริญเติบโต (7-21 วัน) ให้เกษตรกร ใช้ปุ๋ยที่มีตัวหน้าสูง (ไนโตรเจน) เช่น 25-7-7 หรือ 24-7-7 หรือ ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 16-16-16 ในอัตราส่วน 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
- ใส่ปุ๋ยแตงกวาระยะทำดอก (21-30 วัน) ให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยตัวกลางสูง (ฟอสฟอรัส) เพื่อกระตุ้นตราดอก เช่น สูตร 8-24-24 ในอัตราส่วน 15-30 กิโลกรัมต่อไร่
- ใส่ปุ๋ยแตงกวาระยะเก็บผลผลิต (31 วันขึ้นไป) ให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยตัวท้ายสูง (โพแทสเซียม) เพื่อสะสมแป้ง เพิ่มน้ำหนักให้กับผลแตงกวา เช่น สูตร 13-13-21 ในอัตราส่วน 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
ข้อควรระวัง ควรใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อย่างระมัดระวัง
สภาพดินที่เหมาะสมต่อการปลูกแตงกวา
- ดินร่วนป่นทราย ซึ่งหาก ดินของเกษตรกรผู้ปลูก เป็นดินทรายจัด หรือดินเหนียว อาจต้องปรับปรุงดินด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก
- ดินควรมีความเป็นกรด ด่าง (PH) แนะนำอยู่ระหว่าง 5.5-6.5
เทคนิคการปลูกแตงกวา ในแต่ละฤดูกาล
ปลูกแตงกวาในหน้าร้อน
- ดอกตัวผู้เยอะ ผลผลิตน้อย เนื่องมาจากความเข้มของแสงในหน้าร้อนค่อนข้างสูง ซึ่งทำให้ดอกตัวเมียน้อยลง ดอกหลุดร่วง ซึ่งเราสามารถแก้ไขง่ายๆ โดยใช้ ฮอร์โมนแปลงเพศ ซิป ฉีดเมื่อแตงกวา เริ่มมี 2-4 ใบจริง กระตุ้นการสร้างดอกตัวเมีย ป้องกันดอกหลุดร่วง เพิ่มผลผลิต
- ดอกหลุดร่วง พืชโตช้า เนื่องมาจากอากาศที่ร้อนจัด เป็นสาเหตุที่ทำให้แตงกวาโตช้า เหลือง แตงกวาดอกร่วง หากแตงกวาเจอแดดมากๆในเวลานานจะทำให้แตงกวาเคลียดไม่ออกดอก ไม่ออกผล ปล่อยดอกหลุดร่วง จึงจำเป็นที่ต้องแก้ปัญหาโดยใช้ ชุดคลายเครียด ที่มี ธาตุสังกะสีในพืช ซิงค์ เบอร์ดี้ ที่มีส่วนผสมของสังกะสี และ อะมิโนพืช เอ็นเนอร์จี น้ำตาลทางด่วน ซึ่งช่วยลดความเครียดจากสภาพอากาศที่เลวร้ายได้ และใช้ผสมเทียมสูตรพิเศษ ผสมเทียมเกสร โลตัส สุพรีม ที่จะช่วยบำรุงรังไข่ของดอกแตงกวา ส่งผลให้ผลผลิต มีน้ำหนัก เนื้อแน่น ไม่ร่วงง่าย
- เพลี้ยไฟ จะใช้ปากแทงไปที่พืชเพื่อสร้างรอยแผลแล้วดูดเอาสารอาหารจากต้นพืช ทำให้ขอบใบแห้ง ต้นอ่อนโตช้า กลีบดอกสีซีดลง ถ้ากลีบดอกเป็นสีเข้ม จะเห็นแผลได้ชัดที่สุด อ่านดูเพิ่มเติม ใน 3 วิธี กำจัดเพลี้ยไฟ ให้อยู่หมัด
- แมลงหวี่ขาว เป็นศัตรูพืชที่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อาศัยอยู่ใต้ใบพืช จนไปถึงยอดอ่อน กลัวฝน จะเข้าทำลายตั้งแต่พืชยังเป็นต้นอ่อน และจะพบได้มากตอนพืชยังเป็นต้นอ่อน ความเสียหายที่เกิด ใบจะม้วนหงิก โรคไวรัส หรือใบด่าง เกิดจากแมลงหวี่ขาวดูดกินน้ำเลี้ยง และนำพาไวรัสมาสู่พืชที่เข้าทำลาย ส่งผลให้ใบด่างเหลือง แข็งด้าง อ่านดูเพิ่มเติม ใน แมลงหวี่ขาว ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด !
ปล. สามารถศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง โรคและแมลงของแตงกวา ได้ที่นี่
ปลูกแตงกวาในหน้าฝน
- ดอกตัวผู้เยอะ ดอกหลุดร่วง ผลผลิตน้อยลง ซึ่งเราได้กล่าวไปข้างต้น สามารถแก้ไขง่ายโดยใช้ ฮอร์โมนแปลงเพศ ซิป ฉีดเมื่อแตงกวา เริ่มมี 2-4 ใบจริง
- โรคเน่าคอดิน โคนต้นแตงกวาถูกเชื้อเข้าทำลายมีแผลฉ่ำน้ำที่โคนต้น ต้นฟุบ หักพับลง อาจพบส่วนของเชื้อรา ซึ่งมีลักษณะเส้นใยสีขาว ซึ่งการจัดการเบื้องต้น ควรจัดการช่องระบายน้ำให้โล่งไม่ให้น้ำขัง ป้องกันดินแฉะและความชื้น ต่อมา คลุกเมล็ด หรือฉีดพ่นหปลูกด้วย ไทแรม ไธอะโนซาน หรือ เมทาแลกซิล
- โรคราน้ำค้าง จะมีอาการแสดงขึ้นให้เห็นชัดเจนบนใบแตงกวาทำให้ใบแตงกวาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆไปทั่วใบ จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล สุดท้ายใบแตงกวาจะไหม้ แห้ง ตายไปในที่สุด โรคนี้จะมีผลยาวไปจนถึงหน้าหนาว หากแตงกวาเป็นโรคแล้ว ควรใช้สารที่สามารถยับยั้งโรคดังกล่าวได้เช่น เช่น สาร ฟอรัม ไดเมโทมอร์ฟ หรือ โบคุ่ม อีทาบอกแซม เป็นต้น แต่หากใช้เพื่อป้องกัน สามารถใช้สารเบื้องต้น เช่น เมทาแลกซิล หรือ เคอร์เซท เอ็ม8 เป็นต้น แนะนำสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช และวิธีการสลับยา(ป้องกันการดื้อยา)
- ดอกร่วง ใบใหญ่หนา ยอดพุ่ง เนื่องจาก น้ำฝนส่งเสริมให้แตงกวาใช้อาหารไปเลี้ยงยอดและใบ แทนการเลี้ยงลูก ใช้ ฮอร์โมนเปลี่ยนเพศดอก ซิป ในช่วงที่ยังไม่เก็บผลผลิต แต่หากอยู่ในช่วงเก็บผลผลิต แก้บ้าใบ ด้วย เมมเบอร์
ปลูกแตงกวาในหน้าหนาว
- ดอกตัวเมียเยอะ เนื่องมาจากความเข้มของแสงที่ลดลง ซึ่งเป็นเหตุผลหลัก ของการหลุดร่วงของดอกในหน้าหนาว เนื่องมาจากเกสรตัวผู้ไม่เพียงพอต่อการผสม แต่แก้ไขง่ายๆ โดยใช้ ฮอร์โมนแปลงเพศ ยืดลูก พลัสเท็น ฉีดเมื่อแตงกวา เริ่มมี 2-4 ใบจริง สามารถเพิ่มดอกตัวผู้ และลดการหลุดร่วงของดอกได้
- พืชโตช้า เหลือง ยอดหยุดชะงัก เกิดเนื่องมาจากอากาศที่หนาวจัด จำเป็นต้องแก้ปัญหาโดยใช้ ชุดคลายเคลียด ที่มี ธาตุสังกะสีในพืช ซิงค์ เบอร์ดี้ ที่มีส่วนผสมของสังกะสี และ อะมิโนพืช เอ็นเนอร์จี น้ำตาลทางด่วน ซึ่งช่วยลดความเครียดจากสภาพอากาศที่เลวร้ายได้
- โรค ราน้ำค้าง ซึ่งการแก้ไข เราก็ได้แนะนำไปข้างต้น แล้ว
ไม่อยากพลาดข่าวสารสำคัญ หรือ สอบถาม แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ วิธีปลูกถั่วฝักยาว เพิ่มเติม
เกษตรสมบูรณ์ บริการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร และ จำหน่าย ปุ๋ย ยา และ เมล็ดพันธุ์ผัก เช่น ศรแดง เจียไต๋ และตะวันต้นกล้า ราคาปลีกและส่ง พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ
ID Line : @uox0813g
Facebook : www.facebook.com/kasetsomboonstore
Faceboline.me/ti/p/~@uox0813gok : fb.me/kasetsomboonstore
Pingback: วิธีปลูกแตงกวา ฉบับจับมือทำ ! - FarmerSpace